หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

สงขลา | ตามรอยประวัติศาสตร์ "ซุ้มประตูบ่อเก๋ง" เมืองสงขลาฝั่งแหลมสน
29 มีนาคม 2561 | 13,068

ก่อนที่จะเป็นเมืองสงขลาฝั่งบ่อยางในปัจจุบัน เมืองสงขลาได้ทำการย้ายเมืองมาแล้วสองคราว เมืองสงขลาแรกเริ่มเดิมทีนั้น ตั้งอยู่ตรงบริเวณหัวเขาแดง ซึ่งจากการวิเคราะห์ทางโบราณสถาน เมืองสงขลา หรือ Singora น่าจะมีอายุราวๆ พุทธศตวรรษที่ 18 ขึ้นไป (พ.ศ.1800 ยุคต้นของกรุงศรีอยุธยา) และเริ่มมีการบันทึกเอกสารทางประวัติศาสตร์ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 22-24 (พ.ศ. 2200-2400 ยุคสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) แต่นักวิชาการเชื่อว่าเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง น่ามีจะมีขึ้นก่อนพุทธศตวรรษ 22 อย่างแน่นอน

ขอเล่าประวัติศาสตร์แบบสรุป...จากบันทึกเอกสารชาวต่างชาติที่มาค้าขาย ได้กล่าวถึงสงขลาในปี พ.ศ.2165 ความว่า แรกเริ่มเดิมทีสงขลาฝั่งหัวเขาแดงปกครองโดยชาวมุสลิมจากเกาะชวา นามว่า ดาโต๊ะโมกอล หรือ ดาโต๊ะโกมอลล์ น่าจะปกครองสงขลาในช่วง พ.ศ.2153-2154 ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าเอกาทศรถแห่งกรุงศรีอยุธยา สงขลาในยุคนั้นมีความรุ่งเรืองด้านการค้าขาย มีท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ นำไปสู่การพัฒนาเมืองอย่างรวดเร็ว มีการสร้างป้อมปืนใหญ่ 20 ป้อม ต่อมา "สุลต่านสุไลมานชาห์" (บุตรดาโต๊ะโมกอล) ตั้งตนเป็นเอกราชจากอยุธยา ทำให้พระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์แห่งอยุธยา (พ.ศ.2173-2199) ได้นำกองทัพเข้าบุกโจมตีเมืองสงขลา แต่ทว่าไม่สำเร็จ เนื่องจากเมืองสงขลาตั้งอยู่ในชัยภูมิที่ดี มีป้อมปราการ กำแพงเมือง และปืนใหญ่ที่ทรงประสิทธิภาพสูง ก่อนที่ปี พ.ศ.2223 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้นำกองทัพทั้งทางบกทางทะเลเข้าตีเมืองสงขลาสำเร็จ สิ้นสุดเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง ประชาชนโยกย้ายไปตั้งถิ่นฐานบริเวณแหลมสน ห่างจากหัวเขาแดงไม่กี่กิโลเมตร (ไม่ใช่แหลมสนอ่อน) และค่อยๆพัฒนากลายเป็น เมืองสงขลาฝั่งแหลมสน (พ.ศ.2223-2380) วันนี้เราจะพาไปเที่ยวสถานที่ประวัติศาสตร์ ในเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน สถานที่แห่งนั้นเรียกว่า "บ่อเก๋ง"

"บ่อเก๋ง" สถานที่ประวัติศาสตร์ เมืองสงขลาฝั่งแหลมสน (เมืองสงขลาแห่งที่ 2)

 วันนี้ขอพาออเจ้ามาเที่ยวสถานที่โบราณสถานสงขลา

เมืองเก่ามั๊ยล่ะออเจ้า...

ซุ้มประตูบ่อเก๋ง ซึ่งซุ้มประตูดังกล่าวสร้างด้วยอิฐถือปูน มีสันหลังคาโค้งงอน ซึ่งขัดกับลักษณะอาคารแบบไทยประเพณี แต่ลักษณะดังกล่าวปรากฏในกลุ่มอาคารทางตอนใต้ของจีนหลายแห่ง เช่น ในเขตเฉาซ่าน (บ้านเกิดชาวจีนแต้จิ๋ว) และเขตหมิ่นหนาน (บ้านเกิดของชาวจีนฮกเกี้ยน) อย่างไรก็ดี ลักษณะของปลายสันหลังคาที่ค่อนข้างเหลี่ยมหักมุม ทำให้พอสันนิษฐานได้ว่า ซุ้มประตูดังกล่าว มีความสัมพันธ์กับงานสถาปัตยกรรมแถบหมิ่นหนาน ซึ่งนิยมสันหลังคาลักษณะนี้ โดยต่างจากงานสถาปัตยกรรมในเขตเฉาซ่าน ที่ปลายสันหลังคาเป็นเส้นโค้ง การปรากฏลักษณะสถาปัตยกรรมหมิ่นหนาน แสดงให้เห็นว่ามีชาวจีนฮกเกี้ยนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณหัวเขาแดงด้วย

 โบราณสถาน ที่คนสงขลาลืมเลือน

ดูจากสภาพอิฐ น่าจะมีอายุอานามหลายร้อยปี บ้างก็ว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ บ้างก็ว่าสร้างหลังจากสงขลาฝั่งหัวเขาถูกทำลาย 50-100 ปี บ้างก็ว่าสร้างในสมัย พ.ศ.2400 (อันนี้ไม่มีหลักฐานแน่ชัด)

บ่อน้ำจืด ที่คนแถวนี้บอกว่า เมื่อก่อนชาวบ้านจะมาเอาน้ำจืดไปอุปโภคบริโภค

โบราณสถานบ่อเก๋งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีวัฒนธรรมของเมืองสงขลา สะท้อนให้เห็นถึงอดีตของเมืองสงขลาได้เป็นอย่างดี มีคำถามมากมายว่า "ทำไมสงขลาฝั่งแหลมสนถึงร้าง และต้องย้ายเมืองไปยังบ่อยางในปัจจุบัน" เราพอสันนิษฐานกันได้ว่า หลังจากที่ได้ย้ายเมืองจากฝั่งหัวเขา มาตั้งรกรากกันที่แหลมสน เมืองใหม่แห่งนี้ไม่ได้รับการวางแผนในการสร้างเมืองมาตั้งแต่ต้น ประกอบกับเป็นเมืองที่ถูกสร้าง เนื่องจากการย้ายเมืองภายหลังสงคราม เมืองแห่งนี้จึงถูกสร้างอย่างง่ายๆ บนพื้นที่เชิงเขาติดทะเล ถัดจากตำแหน่งเมืองสงขลาเดิมที่ถูกทำลายลงไปอีกด้านหนึ่งของฝากเขา เนื่องจากเป็นที่ตั้งเมืองที่อยู่บนเชิงเขา ทำให้เมืองสงลาแห่งที่สองนี้ ต้องประสบกับปัญหาการขาดแคนน้ำจืดอุปโภค และ ปัญหาการมีพื้นที่ในทางราบไม่เพียงพอกับการขยายและเติบโตของเมือง ซึ่งเป็นปัญหาหลักที่ทำให้เกิดการย้ายเมืองในเวลาต่อมา

บทความที่เกี่ยวข้อง "ปืนใหญ่สงขลา" ปืนใหญ่ของเมืองสงขลาที่ถูกสมเด็จพระนารายณ์ยึดไป ปัจจุบันตั้งอยู่ที่เมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ / "สมเด็จพระนารายณ์มหาราชบุกสงขลา" /

การเดินทางไป "บ่อเก๋ง สิงหนคร"

เรื่องที่เกี่ยวข้อง