หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

ตำนานสงขลา | "เมืองซิงกอรา" ของขวัญที่ฝรั่งเศสไม่รับ
5 เมษายน 2561 | 39,633

วันนี้จะพูดถึงประวัติศาสตร์บทหนึ่งของเมืองสงขลา ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับสยามและสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ได้อินกับละครบุพเพสันนิวาสอีแล้ว) นั่นคือ "เมืองซิงกอรา" ของขวัญไมตรีจากกรุงศรีอยุธยาที่มอบให้ฝรั่งเศส วันนี้เราจะพาย้อนหลังกลับไปเมื่อครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา

ซิงกอรา (Singora) หรือ สิงขระนคร เมืองท่าที่มีความสำคัญ ตั้งอยู่บริเวณหัวเขาแดง เมืองที่น่าจะถุูกสร้างขึ้นก่อนพุทธศตวรรษที่ 22 ความสำคัญของเมืองแห่งนี้ คือ เป็นเมืองท่าสำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ่อค้าชาวตะวันตกในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 ได้มีการพูดถึง "เมืองท่าซิงกอรา" อย่างมากมาย มีทั้งหลักฐานเอกสารและจดหมาย ที่ได้มีการกล่าวอ้างถึง "Singora" อาทิ สำเนาจดหมายของนายแมร์ เทนเฮาท์แมน จากเมืองอยุธยาที่มีไปถึง นายเฮนดริก แจนแซน นายพาณิชย์คนที่ 1 ที่ปัตตานีในปี พ.ศ.2156 (สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม กษัตริย์ลำดับที่ 21 แห่งกรุงศรีอยุธยา) เมืองแห่งนี้ตามบันทึกเคยมีท่าเรือขนาดใหญ่ ทำให้เมืองแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรือง จนเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก

หลังจากพระเจ้าปราสาททองสถาปนาตัวเองขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งอยุธยา เมืองแห่งนี้ก็เกิดการแข็งเมือง ทำให้พระเจ้าปราสาททองต้องส่งทัพต่างๆ มาตีเมืองแห่งนี้หลายครั้งหลายครา ตลอดการขึ้นครองราชย์ แต่ก็ไม่สำเร็จเลยสักครั้ง แต่แล้วในปี พ.ศ.2223 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ส่งกองทัพทั้งทางบกและทางน้ำมาตีเมืองแห่งนี้ ผลปรากฏว่าเมืองท่าซิงกอราพ่ายแพ้ไปอย่างราบคาบ เมืองถูกเผาทำลายหมดสิ้นยุค "เมืองท่าปราการแกร่ง" เหตุการณ์ดังกล่าวดังปรากฏในจดหมายเหตุของมองซิเออ เวเรต์ ชาวฝรั่งเศส ที่มาค้าขายในอยุธยาในปี พ.ศ. 2230

หลังจากเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดงถูกทำลายแล้ว ปรากฎว่าพระนารายน์มีนโยบายจะยกเมืองสงขลาให้ฝรั่งเศส ตามที่ปรากฎในหนังสือสัญญาที่ฟอนคอนทำไว้ที่เมืองลพบุรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พศ. 2228 ระบุไว้ว่า “สมเด็จพระเจ้ากรุงสยามยกเมืองสงขลา และ เมืองขึ้นของสงขลา พระราชทานให้พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส และ พระราชทานพระราชานุญาตให้พระจ้ากรุงฝรั่งเศสสร้างป้อม หรือจัดทำอะไรในเมืองสงขลาได้แล้วแต่พระทัย” แต่ข้อนี้ได้ถูกปฎิเสธโดยงฝ่ายฝรั่งเศสเองเนื่องจากเมืองสงขลาในขณะนั้นอยู่ในสภาพเสียหายอย่างหนักเพราะถูกทำลายจนหมดสิ้น การตัดสินใจของพระนารายน์ที่จะยกพื้นที่ดังกล่าวให้ฝรั่งเศส จึงไม่เป็นเรื่องผิดหรือแปลกอะไร ประกอบกับทางฝรั่งเศสที่ยังไม่ได้มีนโยบายในการล่าอาณานิคม มีเพียงการพยายามจูงใจให้พระเจ้าแผ่นดินอยุธยาเข้ารีต บนฐานของพันธกิจทางศาสนา และเพื่อเอื้อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจการค้าเท่านั้น

ภาพปก: พี่เอก Roylee

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง