วงเวียนหอนาฬิกาสงขลาเดิม สร้างด้วยงบประมาณจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยเทศบาลเมืองสงขลาเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างวงเวียนหอนาฬิกาสงขลาเดิม ตั้งอยู่กลาง 4 แยก บนถนนรามวิถี ตัดถนนจะนะและถนนปละท่า ต่อมาเพื่อความสะดวกในการจราจร จึงได้มีการรื้อถอนวงเวียนหอนาฬิกาสงขลาในปี พ.ศ. 2528 ภายหลังได้มีแนวคิดที่จะรื้อฟื้นหอนาฬิกากลับมาอีกครั้ง เทศบาลนครสงขลาได้จัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างโดยใช้งบประมาณจากเงินรายได้ ปี พ.ศ.2558 โดยเริ่มการก่อสร้างในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2559 และก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม พ.ศ.2559
ปัจจุบันหอนาฬิกาสงขลา ย้ายจากตำแหน่งเดิมที่เคยอยู่กลาง 4 แยก มาอยู่บนหัวถนนจะนะ โดยมีรูปแบบเป็นเกาะกลางถนน ไม่ได้เป็นวงเวียนเหมือนแต่ก่อน แม้จะมีการรื้อถอนวงเวียนกลาง 4 แยกออกไปตั้งแต่พ.ศ. 2528 แต่ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ 4 แยกหอสี่แยกหอนาฬิกาสงขลา กลับมามีหอนาฬิกาอีกครั้งหลังจากรื้อถอนไป กว่า 30 ปี
ซึ่งครั้งนี้เราจะพาทุกคนไปย้อนชมตำนานวงเวียนน้ำพุ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า วงเวียนแยกหลาลุงแสงในอดีต ที่มีการปรับเปลี่ยนถึง 3 รูปแบบด้วยกัน ก่อนจะย้ายมาตั้งบริเวณหัวถนนจะนะ จากเดิมที่เคยอยู่กึ่งกล่ง 4 แยก
ตำนานวงเวียนแยกหลาลุงแสง 3 รุ่น 3 รูปแบบ
รุ่นที่ 1 รูปแบบที่ 1 วงเวียนเสาหม้อแปลงไฟฟ้า
มีป้ายจราจรแสดงสัญลักษณ์วงเวียน ป้ายชื่อถนนไทรบุรี และสามารถสังเกตเห็นโดมแปดเหลี่ยมของโรงแรมวีว่าสงขลา วงเวียนรุ่นที่ 1 ไม่ทราบปีที่สร้างชัดเจน แต่รื้อถอนไปเมื่อ พ.ศ. 2508
รุ่นที่ 2 รูปแบบที่ 2 วงเวียนน้ำพุหอยสังข์
มีป้ายชื่อถนนไทรบุรีและสามารถสังเกตเห็นโดมแปดเหลี่ยมของโรงแรมวีว่า สงขลา วงเวียนรุ่นที่ 2 สร้างเมื่อปี 2508 โดยเทศบาลเมืองสงขลา ส่วนการรื้อถอนนั้นไม่ทราบปีที่แน่ชัด
รุ่นที่ 3 รูปแบบที่ 3 วงเวียนน้ำพุ มีป้ายจราจรแสดงสัญลักษณ์วงเวียน
ภาพขบวนแห่กฐินสามัคคี ของตำรวจชายแดนเขต 9 (ค่ายรามคำแหง) ผ่านวงเวียนแยกหลาลุงแสง วงเวียนรุ่นที่ 3 ไม่ทราบปีที่สร้างและรื้อถอนที่ชัดเจน
สุดท้ายนี้ วงเวียนแยกหลาลุงแสงอาจจะเป็นอดีต เป็นความทรงจำ หรือเป็นข้อมูลความรู้ใหม่สำหรับใครหลายคน แต่วงเวียนที่มีถึง 3 รุ่น 3 รูปแบบมีคุณค่าเกินกว่าจะเป็นแค่เรื่องเล่าแต่ควรค่าแก่การเผยแพร่ต่อสาธารณชน กับตำนานวงเวียนแยกหลาลุงแสง 3 รุ่น 3 รูปแบบ
ที่มาบทความ : นายวีรยุทธ พุทธธรรมรงค์ /ค้นคว้าและเรียบเรียง (หอจดหมายเหตุแห่งชาติสงขลา)
กัปตันวอสเบียน : ผู้ให้กำเนิดจักรยานพ่วงข้างคันแรกของปักษ์ใต้ ณ เชิงเขาตังกวน (สงขลา)
6 กรกฎาคม 2568 | 141ที่มาชื่อบ้านท่าช้าง อ.บางกล่ำ ย้อนรอยชม "เสาหงส์" ครั้งพม่ายกทัพตีหัวเมืองภาคใต้
6 กรกฎาคม 2568 | 123ย้อนชมภูมิปัญญาการทำขวัญข้าว สู่การสร้างวงเวียนพระแม่โพสพ ศูนย์รวมจิตใจชาวระโนด
8 มิถุนายน 2568 | 950เปิดที่มาชุมชนประวัติศาสตร์ บ้านควนจง (นาหม่อม)
8 มิถุนายน 2568 | 1,083วิถีมุสลิมบ้านดอนขี้เหล็ก "ประเพณีการทูนพานอาหาร" ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 100 ปี
8 มิถุนายน 2568 | 776เปิดตำนาน...ที่มาชื่อบ้านบ่อแดง อ.สทิงพระ
25 พฤษภาคม 2568 | 1,451ของดีของหรอยท่าเลออก ตลาดริมทางของผู้สัญจรผ่าน ณ สามแยกบ่อทราย (ปากรอ)
25 พฤษภาคม 2568 | 3,742ตำนานทวดเข้...ทวดขุนดำ-ทวดแขนลาย แห่งสายน้ำคลองท่าม่วง อ.ควนเนียง
25 พฤษภาคม 2568 | 2,297