เจดีย์ชัยมงคลโพธิสัตโต ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านประกอบออก อ.นาทวี จ.สงขลา เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อว่าเป็นจุดแรกของประเทศไทยที่ได้เคลื่อนย้ายสังขารของหลวงพ่อทวดที่มรณภาพ ณ สะมีมาตี (แปลว่าจุดที่พระตาย) ริมแม่น้ำเกอนาริง กับแม่น้ำเปรัคและแม่น้ำบาห์ ในรัฐเปรัค ผ่านรัฐเคดาห์ (ไทรบุรีเดิม)ประเทศมาเลเซีย เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยจนถึงที่ปลงสังขาร ณ วัดช้างให้ จ.ปัตตานี และเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ชาวตำบลประกอบภาคภูมิใจ
การก่อสร้างเจดีย์เจดีย์ชัยมงคลโพธิสัตโต เริ่มต้นจากคณะสำรวจ นําโดยพระอาจารย์อารยวังโส พระผาสุข กุลละวาณิชย์ พร้อมคณะบรรพชิตและฆราวาส รวม19 ชีวิต ได้มีการศึกษาค้นคว้าเอกสารหลักฐานจากตำรา พยานแวดล้อม พยานบุคคล คำบอกเล่า และจากการลงสำรวจพื้นที่จริงในประเทศมาเลเซียตามจุดพักศพต่างๆที่ยังมีหลักฐานหลงเหลืออยู่ รวมกับพิจารณาจากสภาพพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เส้นทางชายแดนไทย-มาเลเซีย จากจุดพักศพสุดท้ายในมาเลเซียที่วัดไทยประดิษฐาราม (วัดช้าง ตําบลปาดังสไน อําเภอปาดังเตอรับ รัฐเคดาห์) มีความเชื่อว่าที่บ้านประกอบ เป็นพื้นที่สําคัญแห่งหนึ่งทางประวัติศาสตร์ เป็นจุดพักศพอีกจุดหนึ่งที่อยู่ในเส้นทางการเคลื่อนศพของหลวงพ่อทวด และเป็นจุดแรกที่เคลื่อนศพเข้ามาประเทศไทย เมื่อออกจากประเทศมาเลเซียก่อนที่จะไปยังจุดพักศพวัดถ้ำตลอด ตําบลเขาแดง อําเภอสะบ้าย้อย สู่จุดพักศพวัดบันลือคชาวาส (วัดช้างไห้ตกและไปสิ้นสุด ณ สถานที่ฌาปนกิจ วัดช้างไห้ จังหวัดปัตตานี
ภายหลังจากการสํารวจเส้นทางจากจุดละสังขาร สะมีมาตี รัฐไทรบุรี ประเทศมาเลเซีย จนถึงวัดช้างไห้ จังหวัดปัตตานี เมื่อปี พ.ศ.2547 เพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้รู้ว่าสถานที่บ้านประกอบแห่งนี้เป็นสถานที่สําคัญทางประวัติศาสตร์ จึงเริ่มต้นการหาที่ดินในการก่อสร้างเจดีย์ นําโดยคณะของพระผาสุข กุลละวณิชย์ ท่านได้ประสานมายังผู้นําในพื้นที่ตําบลประกอบ เพื่อให้ประสานกับเจ้าของที่ดิน เพื่อขอก่อสร้างเจดีย์บริเวณนั้นที่พระอาจารย์อารยวังโส ได้กําหนดจุดไว้ ซึ่งเป็นที่ดินของประชาชนครอบครองอยู่ จึงมีการประสานกับทางเจ้าของที่ดินเพื่อทำความเข้าใจขอใช้พื้นที่ดังกล่าว
จนมาถึงการเริ่มต้นก่อสร้างเจดีย์ ในปี2547 ก่อสร้างเจดีย์เป็นเจดีย์สีทอง ทรงระฆังคว่ำ ขนาดฐานเจดีย์ 2x2 เมตร การก่อสร้างก็เป็นไปด้วยความยากลําบาก เนื่องจากเส้นทางที่จะลําเลียงอิฐ หิน ทราย น้ำ เครื่องมือในการก่อสร้าง รถยนต์ไม่สามารถลำเลียงขึ้นไปได้ ต้องเดินแบกสิ่งของขึ้น และต้องใช้รถจักรยานยนต์ในการลําเลียงวัสดุ อุปกรณ์ในการก่อสร้าง โดยต้องจ้างคนในพื้นที่ที่มีความชํานาญในการขับขี่รถจักรยานยนต์ขึ้นเขาสูง แต่อุปสรรคบ้างในเรื่องฟ้าฝนแต่ก็คลี่คลายไปได้ด้วยดีและในที่สุดก็สามารถก่อสร้างได้สําเร็จ ด้วยอํานาจแห่งบุญบารมีของหลวงพ่อทวด และสิ่งศักด์สิทธิ์ทั้งหลาย ตลอดจนความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่ได้ช่วยกันจนสําเร็จ
และเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2548 โดยพระอาจารย์อารยวังโสได้ทําพิธีอันเชิญด้วยสายจิตวิญญาณ และอธิฐานลูกแก้วที่เตรียมการไว้ เพื่ออัญเชิญสภาวธรรมของหลวงพ่อทวดที่ยังปรากฏมีอยู่ ณ ขณะนั้น จากริมแม่น้ำกัวลาเกอเนอริง หรือ สะมีมาตี อัญเชิญเพื่อกลับคืนสู่แผ่นดินไทย บรรจุไว้ในเจดีย์ชัยมงคลโพธิสัตโต หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ณ ควนพระ บ้านประกอบ ชายแดนไทย-มาเลเซีย และถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม โดยได้ทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
อ้างอิงข้อมูลบทความ : องค์การบริหารส่วนตำบลประกอบ ภาพ : อบต.ประกอบ/นาทวี/สงขลา (เจดีย์หลวงปู่ทวดโพธิสัตโต)
ศาลาตาเล่อเท่อ ที่พึ่งของชาวบ้านเมื่อของสำคัญสูญหาย
27 เมษายน 2568 | 265จากอดีตบ้านทุ่งเหม็นขี้ สู่บ้านทุ่งขมิ้น(นาหม่อม)
27 เมษายน 2568 | 244บุกป่าหาน้ำตกลับ...น้ำตกโตนหน้าผี ณ เขาพระ อ.รัตภูมิ
27 เมษายน 2568 | 303ศาลเจ้าแม่กวนอิมสวนหมาก ศาลเจ้าแห่งแรกที่ริเริ่มทำโรงทานเจในสงขลา
20 เมษายน 2568 | 263พาชม...บ้านขุนตระการตะเครียะเขต บ้านเก่าโบราณนับร้อยปี "บ้าน 108 เสา"
30 มีนาคม 2568 | 968รู้หม้ายว่า? สงขลาเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีวันประจำจังหวัด
30 มีนาคม 2568 | 764เปิดตำนานความเชื่อ พ่อปู่ภุชงค์-แม่ย่าทองคำ วัดโคกเปี้ยว สงขลา
30 มีนาคม 2568 | 618ศาลเจ้าพ่อทวดหมอน สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ตำบลคูขุด อ.สทิงพระ
2 มีนาคม 2568 | 896