หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

ความเป็นมาของการจัดการศึกษาวิชาช่างกลในประเทศไทย (วิทยาลัยเทคนิคภาคใต้ - สงขลา , มทร.ศรีวิชัย)
6 พฤศจิกายน 2565 | 6,053

ย้อนไปในปีพ.ศ. 2495 รัฐบาลไทยโดย ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้ทำความตกลงกับ องค์การส่งเสริมความมั่นคงร่วมกันของสหรัฐอเมริกา (Mutual Security Agency; M.S.A.) ส่งเสริมการอาชีวศึกษาของชาติให้ดียิ่งขึ้น จึงเห็นว่าควรจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคในจังหวัดพระนครสักแห่งหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้เยาวชนของชาติ ได้มีโอกาสฝึกฝนอบรมวิชาชีพอย่างกว้างขวางและ ยกระดับมาตรฐานการศึกษาให้สูงกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนั้น จึงจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพขึ้น (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ) รัฐบาลฯ ได้เห็นประโยชน์ของการจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ

จึงได้ให้กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคในส่วนภูมิภาคที่ วิทยาลัยเทคนิคภาคใต้ - สงขลา (พ.ศ. 2497 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย) วิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-นครราชสีมา (พ.ศ. 2499 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน) และวิทยาลัยเทคนิคภาคเหนือ- เชียงใหม่ (พ.ศ. 2500 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่) วิทยาลัยเทคนิคที่ธนบุรี (พ.ศ. 2503 ปัจจุบันเป็น มจธ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)

ตั้งแต่ปี 2496 มีการขยายการเรียนวิชาช่างกลไปตามต่างจังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่จะไปขยายสาขาในโรงเรียนการช่าง (ช่างไม้หรือช่างก่อสร้าง) ประจำจังหวัด เช่นเปิดแผนกช่างโลหะ ที่ โรงเรียนช่างไม้ฉะเชิงเทรา ในปีนี้

พ.ศ. 2500 เนื่องจากมีประชาชนร้องเรียนไปยังรัฐบาลให้ขยายการรับนักเรียนของโรงเรียนช่างกลปทุมวันให้เพียงพอกับความต้องการของผู้อยากเรียน แต่ด้วยข้อจำกัดของสถานที่เครื่องมือฝึกและความต้องการคุณภาพของอาจารย์สิทธิผล พลาชีวิน จึงรับงานจากรัฐบาลไปเปิดโรงเรียนช่างกลเพิ่มอีก 3 แห่งคือ 2500 เปิดเป็นโรงเรียนช่างกลลพบุรี (วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี)

ในปีนี้ ด้วยเหตุที่รัฐบาลมีนโยบายขยายโรงเรียนช่างกลไปตามภูมิภาค ท่านอาจารย์สิทธิผล พลาชีวิน ครูใหญ่โรงเรียนช่างกลปทุมวัน เล็งเห็นว่าจะมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนครู จึงเปิดหลักสูตรฝึกหัดครูประถมช่างกล รับผู้ที่จบอาชีวศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนการช่างต่าง ๆ มาเรียน 3 ปี ได้วุฒิอาชีวะชั้นสูงแผนกฝึกหัดครู เริ่มรับรุ่นแรกปีนี้ (พ.ศ. 2500) จำนวน 36 คน และรับนักเรียนฝึกหัดครูประถมช่างกลรุ่นสุดท้าย ปี 2503 เพราะไม่มีการสานต่อหลังจากที่อาจารย์สิทธิผล ย้ายเข้ากระทรวงศึกษาธิการ ขณะเดียวกันทั้งวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ ฯ และวิทยาลัยครูอาชีวศึกษา เทเวศร์ ได้เริ่มเปิดสอนในหลักสูตรนี้เช่นกัน มีนักเรียนฝึกหัดครูประถมช่างกลทั้งหมด 159 คน

2501 เปิดโรงเรียนช่างกลนนทบุรี(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ นนทบุรี) และโรงเรียนช่างกลพระนครเหนือ (คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร)

โดยโรงเรียนช่างกลปทุมวัน ช่างกลลพบุรี ช่างกลพระนครเหนือ และช่างกล นนทบุรี ในตอนแรกมีอาจารย์สิทธิผล พลาชีวิน เป็นครูใหญ่ทั้ง 4 โรงเรียน ท่านจึงได้สอนอบรมให้นักเรียนทั้ง 4 โรงเรียนรักและช่วยเหลือกันดังพี่น้อง ซึ่งเหล่าลูกศิษย์ก็รักและเคารพท่านดังคุณพ่ออีกท่านหนึ่ง โดยเรียกตัวเองว่าลูกป๋าสิทธิ์ ดังนั้นจึงเกิดความรักใคร่สมัครสมานกันของนักเรียนโรงเรียนช่างกลทั้ง 4 แห่งข้างต้น จนได้สมญานามว่า 4 เฟืองทอง หรือที่มาของตำนาน 4 เฟืองทองไทย

ปี พ.ศ. 2501 - 2504 ซีโต้ (SEATO) ให้เงินทุนสนับสนุนรัฐบาลไทยในการขยายโรงเรียนช่างกลออกสู่ภูมิภาค เพื่อให้การขยายได้เร็วจึงไปพัฒนาโรงเรียนช่างไม้ ให้เป็นโรงเรียนเทคนิค โดยเปิดแผนกด้านช่างกลเพิ่ม ทำได้ 20 กว่าแห่ง

พ.ศ. 2502 เปิดโรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ) ได้เริ่มเปิดการสอน โดยได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลเยอรมัน

พ.ศ. 2503 เปิดวิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี ได้รับการสนับสนุนจากประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2514 ย้ายมาอยู่ที่อำเภอลาดกระบัง และเปลี่ยนชื่อ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง)

พ.ศ. 2504 วิทยาลัยครูอาชีวศึกษา เทเวศร์ (เดิมคือโรงเรียนฝึกหัดครูอาชีวศึกษา ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยราชมงคลพระนคร (ศูนย์เทเวศร์) ) เปิดสอนเพิ่มหลักสูตรครูอาชีวะด้านช่างกล

และปีนี้ กรมอาชีวศึกษาจัดตั้งโรงเรียนสารพัดช่าง โดยเปลี่ยนโรงเรียนช่างไม้วัดสระเกศเป็นโรงเรียนสารพัดช่างพระนคร ที่จัดการเรียนการสอนวิชาชีพหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นแต่เพียงอย่างเดียว โดยเน้นประชาชนที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้มีโอกาสฝึกอบรมวิชาชีพ เพื่อการประกอบอาชีพ เพื่อเป็นอาชีพเสริม และการเปลี่ยนอาชีพจากอาชีพที่ใช้แรงงานเป็นอาชีพที่ใช้ทักษะฝีมือ

วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ ฯ ปี 2500 ต้น ๆ

วิทยาลัยเทคนิคที่ธนบุรี

วิทยาลัยเทคนิคภาคใต้ – สงขลา

วิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-นครราชสีมา

วิทยาลัยเทคนิคภาคเหนือ- เชียงใหม่

โรงเรียนช่างกลลพบุรี ปี ๒๕๐๑ ปัจจุบันคือวิทยาลัยเทคนิคลพบุรี

ช่างกลนนทบุรี ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยราชมงคลสุวรรณภูมิ นนทบุรี

ช่างกลพระนครเหนือ ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยราชมงคลพระนคร พระนครเหนือ

โรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ)

วิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง)

 วิทยาลัยครูอาชีวศึกษา เทเวศร์ ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยราชมงคลพระนคร เทเวศร์

 

ขอบคุณภาพข้อมูล : ประเสริฐ แซ่อึ๊ง

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง