หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

รู้จัก...กริชสกุลช่างสงขลา ศราตราวุธศักดิ์สิทธิ์ สะท้อนความเชื่อ-อัตลักษณ์ของคนใต้
12 พฤษภาคม 2567 | 3,189

คำว่า “กริช” ในภาษาไทย ถอดมาจากคำว่า “keris” ในภาษามลายู ซึ่งหมายถึง "มีดสั้น" ส่วนภาษาอินโดนีเซีย ออกเสียงว่า “เคอ - ริด” เป็นคำกริยาที่หมายถึง "จ้วงแทงในระยะประชิดตัว"  สำหรับภาษาต่างๆ ในยุโรป ใช้ว่า “kris”  มีลักษณะเฉพาะตัว คือ เป็นอาวุธสองคม รูปร่างเรียวยาว ปลายแหลม มีทั้งแบบตรง และแบบหยักโค้งคล้ายลูกคลื่น มีด้ามจับสลักลวดลายเป็นอัตลักษณ์

กริช มีจุดกำเนิดจากวัฒนธรรมชวา - มลายู แล้วแพร่หลายไปทั่วหมู่เกาะอินโดนีเซีย ผ่านไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งอินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์ และภาคใต้ของไทย กริชนอกจากใช้เป็นสิ่งมงคลประจำบ้านเรือนแล้ว ไม่จำเป็นต้องกล่าวให้เห็นผู้ชายหรือความเป็นชายกับกริช    ของคนชวาที่ถือกันว่า ชายชาวชวาที่ดีต้องมีกริชดีคู่กายเสมอ แม้ในสุภาพสตรีบางคนยามต้องเดินทางไกล มีการพกกริชติดตัวอีกด้วย 

(ภาพ : ความรู้ศิลปะและวัฒนธรรมภาคใต้ คาบสมุทรสยาม-มลายู)

ซึ่งกริชแต่ละเล่มจะมีคุณสมบัติไม่เหมือนกัน บางเล่มจะให้คุณกับการเจรจาทางการค้า บางเล่มก็จะป้องกันสิ่งชั่วร้าย หรือให้คุณทางเสน่ห์มีคนรักคนเอ็นดู หรือบางเล่มใช้สำหรับป้องกันภัย เมื่อมีภัยมาถึงตัวกริชจะเตือนภัยเราล่วงหน้าหากจะมีเหตุเภทภัยเกิดขึ้น เป็นต้น โดยผู้ชายทั้งคนหนุ่ม คนแก่ส่วนใหญ่ในอดีตนั้นจะมีการพกกริชไว้ประจำตัวอยู่เสมอ เพื่อป้องกันอันตรายทั้งจากคนและสัตว์ร้าย โดยในภาคใต้กริชสกุลดังที่มักได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จะมีเพียงไม่กี่สกุลช่างเท่านั้น อย่างเช่น สกลุลช่างสงขลา สกุลช่างปัตตานี จะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในบริเวณรอบลุ่มทะเลสาบสงขลา โดยผู้คนเริ่มมีการใช้กริชแพร่หลายมากขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งมีการพัฒนาด้ามจับ และปลอกกริช ให้มีลักษณะเฉพาะแบบสกุลช่างสงขลา 

(ภาพ : มหาวิทยาลัยทักษิณ)

รูปแบบกริชสกุลช่างสงขลา ในส่วนของใบกริช เป็นแบบ ปาแนซาฆะห์ เหมือนสกุลช่างปัตตานี แต่มีลักษณะที่ต่างกันตรงฝักกริช ที่ปีดฝักมีความโค้งดูคล้ายเขาควาย ปลายปีกฝักบางเล่มมีลักษณะม้วนปลายคล้ายเลขหนึ่งแบบเลขไทย หรือยอดผักกูด นิยมรัดฝักกริชด้วยปลอกเงินเป็นเปลาะๆ ส่วนหัวกริชเป็นหัวนกพังกะ แบบไม่มีเคราใต้คาง แกะลายเป็นร่องตื้นๆ ต่างกับสกุลช่างปัตตานีที่นิยมแกะสลักนกพังกะเป็นร่องลึก และมีลวดลายที่ละเอียดมากกว่า 

คติการใช้กริชสกุลช่างสงขลา มักจะถูกผูกโยงอยู่ความเชื่อและสิ่งศักดิ์สิทธ์ กริชสงขลาถูกใช้ในพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ทุกพิธีกรรม เช่น พิธีตัดเหมรย พิธีแต่งงานกับนางไม้ พิธีโนราลงครู เป็นต้น 

ข้อมูลบทความ : -มหาวิทยาลัยทักษิณ - ความรู้ศิลปะและวัฒนธรรมภาคใต้ คาบสมุทรสยาม-มลายู
ภาพ ; ฐานข้อมูลท้องถิ่นภาคใต้ หอสมุดคุณหญิงหลง

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง