อีกหนึ่งเรื่องราวของวัดเก่าแก่ในพื้นที่จังหวัดสงขลา เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลบ่อยาง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา วัดแห่งนี้มีชื่อว่า วัดศาลาหัวยาง
วัดศาลาหัวยางตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2300 สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา ชาวบ้านได้ร่วมใจกันสร้างวัดนี้ ระยะแรกได้นิมนต์พระหนอนมาอยู่ปกครองวัดและเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก
ชาวบ้านเรียกนามวัดนี้ว่า วัดหลาหัวยาง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2310 ด้านการศึกษาทางวัดได้ให้ทางราชการจัดสร้างโรงเรียนเทศบาล 3 (วัดศาลาหัวยาง) ขึ้นในที่วัด ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2435 โดยระยะแรกใช้ศาลาการเปรียญวัดศาลาหัวยางเป็นโรงเรียน
อาคารเสนาสนะที่สำคัญ ได้แก่ อุโบสถสร้างโดยปั้น อุปการโกษากร ท่านผู้หญิงในเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น ณ สงขลา) เจ้าเมืองสงขลาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อุโบสถหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีลักษณะศิลปกรรมแบบพระราชนิยมรัชกาลที่ 3 ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วขนาดยาวประมาณ 32 เมตร กว้างประมาณ 22 เมตร
ตัวอุโบสถก่ออิฐถือปูนขนาดกว้างประมาณเมตร 9 ยาวประมาณ 17 เมตร บริเวณตัวผังอุโบสถทำเป็นซุ้มโค้ง มีบันไดขึ้นลงด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือและทิศตะวันออกเฉียงใต้ หลังคาอุโบสถมุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีลวดลาย หน้าบันอุโบสถทั้งด้านทิศตะวันตกและด้านทิศตะวันออกเป็นรูปวานรทรงมงกุฏมีประภามณฑลรอบภายในวงกลม ประกอบด้วยเทวดาข้างละ 1 องค์ รายล้อมด้วยลวดลายกนกเปลว ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัยอยู่บนฐานชุกชีสูง
*ที่สำคัญโบราณสถานที่เราเห็นในรูปปัจจุบันทรุดโทรมลงไปอย่างมาก และไม่ได้รับการบูรณะ คงไว้แค่เพียงความทรงจำของใครหลายๆคน ที่เคยเรียนหนังสือใต้อาคารแห่งนี้
ชุมชนรังมดแดงสู่บ้านรำแดง(สิงหนคร)
20 ตุลาคม 2567 | 172ความทรงจำข้างกำแพงเมือง...182 แห่งการสถาปนาเมืองสงขลา(บ่อยาง)
20 ตุลาคม 2567 | 160ย้อนชมที่มา...ประเพณีลากพระของชาวปักษ์ใต้ "พระน้ำดูไปตามชายหลิง พระบกเพริศพริ้งบนหลิงแว็บวับ"
20 ตุลาคม 2567 | 169ตำนานศาลาทวดหัวสะพานพรุเตียว ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านในพื้นที่
22 กันยายน 2567 | 295พาชมถ้ำเขาจังโหลน 1 ในตำนานภูผา ณ อำเภอรัตภูมิ
22 กันยายน 2567 | 379ย้อนประวัติที่ฝังศพชาวฮอลันดา เมืองสงขลา
22 กันยายน 2567 | 412ชุมชนโบราณบ้านปะโอ ชุมชนเก่าแก่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์สงขลา
1 กันยายน 2567 | 547ลุ่มน้ำคลองภูมี ลำน้ำหล่อเลี้ยงและยึดโยงชีวิตของผู้คน 4 อำเภอในพื้นที่จังหวัดสงขลา
1 กันยายน 2567 | 1,597