หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

ตำนาน สวนพระเทพสิงขร (สิงหร) บ้านกะชังบนเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์
12 มิถุนายน 2565 | 5,061

เรื่องราวต่อไปนี้ที่เราจะนำมาเสนอซึ่งเกิดในพื้นที่ หมู่ที่ 1 ต.เกาะใหญ่ บริเวณแหลมเจ้า บริเวณนี้มีตำนานเล่าขานต่อๆกันมา มีต้นไม้เลียบขาดใหญ่ ชื่อเลียบหลบฟ้า เป็นที่หลบซ่อนพระยาลาดฟ้าสาด จากบทวรรณกรรมประวัติโนรา ละครชาตรีและเจ้าแม่อยู่หัว(วัดท่าคุระ) บอกตรงกันว่า พระเทพสิงห์นางนวลทองสำลี ห้าสาวชาววัง และเจ้าแม่อยู่หัวล้วนแต่มีเหตุเกิดขึ้นในราชสำนัก(เมืองพัทลุง)ถูกลอยแพไปถึงฝั่งเกาะกะชังคือแหลมเจ้าเกาะ

ส่วนหนึ่งในตำนานที่ลูกหลาน ต้องอ่านศึกษาไว้บ้างน่ะครับ ว่าประวัติ ของหัวแหลม ม.1 บ้านแหลมเจ้า ตรงนั้นมีมาอย่างไร เนื่องจากประวัติความเป็นมาหลายร้อยปี การคลาดเคลือนของเนื้อหา อาจมีอยู่ บทความต่างๆจึงอาจแตกต่างกันบ้าง ศึกษากันไว้ครับ เช่น 
กระแสที่ 3 จากนายซ้อน ศิวายพราหมณ์ ศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ( พ.ศ. 2508) เล่าไว้เป็นกลอน 4 ว่า

"ก่อเกื้อกำเนิด คราเกิดชาตรี 

แต่ปางหลังยังมี เมื่อคราวครั้งตั้งดิน 

บิดาของเจ้า ชื่อท่านท้าวโกสินทร์ 

มารดายุพิน ชื่อนางอินทรกรณีย์ 

ครองเมืองพัทลุง เป็นกรุงธานี 

บุตรชายท่านมี ชื่อศรีสิงหรณ์ 

ทุกเช้าทุกค่ำ เที่ยวรำเที่ยวร่อน 

บิดามารดร อาวรณ์อับอาย 

คิดอ่านไม่ถูก เพราะลูกเป็นชาย 

ห้ามบุตรสุดสาย ไม่ฟังพ่อแม่ 

คิดอ่านไม่ถูก จึงเอาลูกลอยแพ 

สาวชาวชะแม่ พร้อมสิบสองคน 

มาด้วยหน้าใย ที่ในกลางหน 

บังเกิดลมฝน มืดมนเมฆัง 

คลื่นซัดมิ่งมิตร ไปติดเกาะสีชัง 

สาวน้อยร้อยชั่ง เคืองคั่งบิดร

จับระบำรำร่อน ที่ดอนเกาะใหญ่ 

ข้าวโพดสาลี มากมีถมไป 

เทวาเทพไท ตามไปรักษา 

รู้ถึงพ่อค้า รับพาเข้าเมือง 

ฝ่ายข้างบิตุรงค์ ประทานให้เครื่อง 

สำหรับเจ้าเมือง เปลื้องให้ทันที 

ตั้งแต่นั้นมา เรียกว่าชาตรี 

ประวัติว่ามี เท่านี้แหละหนา

ข้อวินิจฉัยตำนานโนรา"

จากตำนานต่างๆ ได้มีผู้พยายามวินิจฉัยหาความจริงว่าเรื่องราวที่แท้ของโนราเป็นอย่างไร ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

 

ข้อวินิจฉัยของเยี่ยมยง สุรกิจบรรหาร และภิญโญ จิตร์ธรรม ท่านทั้งสองได้นำเอาตำนานบางส่วนที่กล่าวมาตอนต้นมาพิจารณาแล้วสรุปว่า โนราเกิดขึ้นประมาณ พ.ศ. 1858-2051 ที่เมืองพัทลุงเก่า คือบางแก้วในปัจจุบันเจ้าเมืองพัทลุงครั้งนั้นคือ พระยาสายฟ้าฟาด หรือท้าวโกสินทร์ มเหสีชื่อศรีมาลาหรืออินทรกรณีย์ ทั้งสองมีโอรสชื่อเทพสิงหร และธิดาชื่อนวลทองสำลีหรือศรีคงคา พระยาสายฟ้าฟาดได้หาราชครูให้สอนวิขาการร่ายรำให้แก่โอรสธิดา

ผลปรากฎว่านางนวลทองสำลีรำได้ 12 ท่าอย่างคล่องแคล่ว แต่ก็มีเรื่องน่าละอายเกิดขึ้น คือนางเกิดตั้งครรภ์โดยได้เสียกับพระเทพสิงหรผู้เป็นพี่ ส่วนราชครู 4 คน มีนายคงผมหมอ นายชม นายจิตร และนายทองกันดาร ผูกคอถ่วงน้ำในย่ายทะเลสาบสงขลา ส่วนโอรสธิดา และสนมกำนัลถูกลอยแพ แต่โชคดีแพไปติดที่บ้านกะชังบนเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลาปัจจุบันจึงรอดชีวิต แล้วนางนวลทองสำลีก็คลอดบุตรชื่อทองอู่ สนมที่ได้เสียกับนายคงผมหมอก็คลอดบุตรชื่อจันทร์กระยาผมหมอเมื่อบุตรนางนวลทองสำลีโตขึ้นได้ฝึกร่ายรำจนมีโอกาสได้ไปเมืองพัทลุง ได้พบกับพระยาสายฟ้าฟาดๆ ก็ยกโทษให้โอรสธิดาและได้กลับเมือง และสนับสนุนให้เล่นโนราต่อไป ทั้งแต่งตั้งทองอู่หลานชายให้เป็นขุนศรัทธา

 

ในการวินิจฉัยเรื่องนี้ เยี่ยมยงได้แย้งหลักฐานที่สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอ้างถึงตำนานที่ได้ไปจากนครศรีธรรมราชที่ว่าขุนศรัทธาถูกลอยแพไปติดเกาะกะชัง ว่าเป็นเรื่องผิดพลาดจริงๆ แล้วเกาะที่อ้างถึงคือ เกาะกะชัง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเกาะใหญ่ในทะเลสาบสงขลา อนึ่ง เรื่องนี้ก็กล่าวไว้ชัดว่าเกิดขึ้นทางเมืองพัทลุงและโนราก็นิยมกันมากทั้งในดินแดนฝั่งทะเลสาบสงขลาด้านตะวันตก (คือพัทลุงปัจจุบัน) และฝั่งทะเลสาบด้านตะวันออก (คืออำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลาปัจจุบัน) ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันจึงเป็นเรื่องที่ไม่มีเหตุผลที่จะยกไปให้เป็นเรื่องของอยุธยา

จากตำนานและข้อวินิจฉัยข้างต้นจะเห็นได้ว่าโนราเป็นการละเล่นที่มีมาแต่โบราณกำเนิดของการละเล่นประเภทนี้ ส่วนหนึ่งยกให้เป็นความริเริ่มของเทวดา โดยดลใจให้นางนวลสำลีอยากกินเกสรบัว แล้วให้เทพบุตรมาจุติเพื่อคิดการละเล่นชนิดนี้ขึ้น ซึ่งฟังดูแล้วเป็นเรื่องไร้เหตุผล แต่หากมองอย่างลึกซึ้งแล้ว การกล่าวเช่นนั้นก็เพื่อแสดงคุณวิเศษของโนราอย่างหนึ่ง

และปกปิดความชั่วของบรรพบุรุษโนราอีกอย่างหนึ่ง แต่โนราอีกส่วนหนึ่งไม่อำพรางความผิดทางศีลธรรมของบรรพบุรุษโนรากลุ่มนี้ จึงเล่าตำนานที่บ่งว่า นางนวลสำลีผิดประเวณี แต่เล่าต่างกันเป็น ๒ กลุ่มย่อย ได้แก่ ตำนานที่เป็นคำกลอนของนายซ้อน ศิวายพราหมณ์ ว่าได้เสียกับผู้ที่ชื่ออู่ทอง กลุ่มหนึ่งและตำนานที่เล่าโดยนายพูน เรืองนนท์ รวมทั้งความเห็นของเยี่ยมยง สุรกิจบรรหาร ว่านางนวลสำลีได้เสียกับพระเทพสิงหรซึ่งเป็นพี่น้องร่วมท้องกันมาอีกกลุ่มหนึ่ง แม้ตำนานจะผิดเพี้ยนกันก็เป็นเพียงประเด็นเล็กน้อย สาระสำคัญของความผิดของนางนวลสำลี คือผิดดประเวณีจนพระบิดากริ้วและสั่งลอยแพดังปรากฎในตำนานตรงกันทุกกระแส ส่วนสถานที่ที่แพลอยไปติดนั้นว่าเป็นเกาะสีชังบ้าง เกาะกะชังบ้าง ข้อนี้เห็นจะยุติได้ว่าเป็นเกาะกะชังในทะเลสาบสงขลาแน่นอน เพราะเกาะนี้อยู่ติดเกาะใหญ่ดังตำนาน กระแสที่ 3 กล่าวว่า

"คลื่นซัดมิ่งมิตร 

ไปติดเกาะสีชัง 

คลื่นซัดมิ่งมิตร ไปติดเกาะสีชัง 

สาวน้อยร้อยชั่ง เคืองคั่งบิดร 

จับระบำรำร่อน อยู่ที่ดอนเกาะใหญ่"

ในตอนปลายของตำนานก็กล่าวไว้ตรงกันว่า พระบิดาของนางนวลสำลีไห้อภัยโทษและให้บรรดาศักดิ์แก่หลานเป็นขุนศรีศรัทธา

อีกบทความหนึ่ง

ประวัติของมโนห์รา จึงไม่มีปัญหาอันใดที่ก่อเกื้อกำเนิดขึ้นมาในเมืองพัทลุง ตามคำประพันธ์อันมโนห์รา ได้จดจำถ่ายทอดสืบกันมาแต่เบื้องต้นโบราณโน้น ในความประพันธ์ มีความหมายว่า

"ทุกเช้าค่ำ เที่ยวรำเที่ยวร่อน

บิดามารดร อาวรณ์อับอาย

คิดอ่านไม่ถูก เพราะลูกเป็นชาย

ห้ามบุตรสุดสาย ไม่ฟังพ่อแม่

คิดอ่านไม่ถูก จึงเอาลูกลอยแพ

สาวชาวชะแม่ พร้อมสิบสองคน

มาด้วยหน้าใย ที่ไปกลางหน

บังเกิดลมฝน มืดมนเมฆัง

คลื่นซัดมิ่งมิตร ไปติดเกาะ “สีชัง”

ทุกสาวน้อยร้อยชั่ง เคืองคั่งบิดร"

คำประพันธ์ตอนนี้ แสดงถึงนิสัยความประพฤติของเจ้าฟ้าชาย เทพสิงหร หรือ ศรีสิงหร ที่ทรงกระทำลงไปตอนต้นเป็นการผิดราชประสงค์ของพระราชบิดา ที่พระองค์ เป็นวีรบุรุษแกกล้าสามารถแห่งยุค ทรงมีประสงค์จะให้พระราชโอรส ทรงแก่กล้าสามรถอย่างพระองค์ ที่ในภาคนิยายมโนห์ราเรียกพระองค์ว่า พระเจ้าฟ้าฟาด แต่เมื่อพระราชโอรสกลับตาลปัตร โอ้ละพ่อไปเสียเช่นนี้ ประกอบกับพระราชธิดามีอันเป็นไป ทรงพระครรภ์ขึ้นมาไม่ปรากฏชาย จึงต้องใช้พระราชอำนาจทรงกระทำทัณฑ์ไปตามพิธีการที่ว่า เป็นกาลีบ้านกาลีเมือง เพราะฉะนั้นนิยายที่มาของเรื่องมโนห์รา จึงมีกล่าวถึงพิธีลอยแพไปคราวเดียวกันทั้ง 2 พระองค์ พร้อมเจ้าชายรามกุมารน้อยแต่บางตำหรับพูดถึงแต่นางศรีคงคา หรือศรีมาลา หรือ นวลลำลี ผิดตำหรับ

ที่พูดถึงพระเทพสิงขรดังหลักฐานที่กล่าวมาข้างต้น มิหนำซ้ำพระเจ้าหลานเธอ คือเจ้าชายราม หรือขุนศรัทธา ก็อยู่แนวความประพฤติอันเดียวกัน ในตอนหลังคงจะผ่อนผัน ทรงพระเมตตาอภัยโทษจึงยินยอมให้พระเจ้าหลานเธอ ร่วมสร้างพระบรมธาตุด้วย จนเป็นการสำเร็จแล้วทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการสมโภชฉลองขึ้นอย่างมโหฬารในการนี้ทรงยินยอมให้เจ้าหลานเธอร่วมการเล่นมหรศพด้วยตนเอง ตามแบบฉบับพระนางวิสาขามหาอุบาสิกา ฉลองบุปฝาราม ในสมัยพุทธกาล และแบบต้นฉบับของสิงหลทวีปเคยกระทำกันมา ตามที่ปรากฏอยู่ในมหาวงค์มากมาย ภายหลังต่อมา มโนห์รา ถ่ายทอดขับร้องประกาศสืบ ๆ กันมาว่า

มารดา “ศรัทธา”ท่าแค

“ทองอู่” คู่เคล้า

มาเป็นคนเฒ่าคนแก่

มารดาศรัทธาท่าแค

น้องแด่พระเทพสิงขร

ในคำประพันธ์ข้างต้นที่กล่าวว่า

คลื่นวัดมิ่งมิตรไปติดเกาะ “สีชัง”

คำนี้มโนห์รา ว่าผิด ๆ ติดมานานแล้วอันเกาะสีชังนั้น อยู่ปากอ่าวไทยไกลลิบลับ ไม่ถูกต้องตามเรื่องราว ข้อเท็จจริงในทะเลสาบ สงขลา-พัทลุง มีเกาะเล็กอยู่เกาะหนึ่ง เรียกว่า “เกาะสีสังข์” เมืองพัทลุงอยู่ทางทิศตะวันตกของทะเลสาบ ลอยแพไปในทะเลสาบนั้นเอง ไปติดอยู่ที่เกาะสีสังข์ “หาใช่เกาะสีชังไม” หลังจากนั้นนางศรีคงคา หรือนางศิริคงคา ได้ลอยไปติดอยู่ที่ทาระ หรือท่าราวดี ภายหลังเมื่อกลับไปสู่บ้านเมืองแล้ว ที่ท่าระ ได้คิดสร้างรูป นางศรีคงคา หรือ นางศรีมาลา ขึ้นไว้ จึงได้มีประเพณีสืบกันมาตรงตำบลนี้ ที่วัดท่าระเมื่อถึงเดือน 6 แรม 1 ค่ำ ทุก ๆ ปี มโนห์ราทุกแห่งแหล่งตำบลที่สำนึกคุณจะได้พากันมาที่นี่ รำโรงครูถวาย อาบน้ำนางศรีมาลากันทุกปี เป็นประเพณีใหญ่โตจนบัดนี้ก็ยังมีอยู่ ยังมิได้เลิกร้างหายไปผู้ประสงค์ยังไปดูได้ ตามกำหนดนั้น ทั้งนี้จึงสมกับคำประพันต่อไปนี้ที่มีอยู่ว่า

จะจับระบำรำร่อน อยู่ที่ดอนเกาะใหญ่

ข้าโพดสาลี มีมากถมไป

เทวาเทพไท ตามไปรักษา

ตามบทที่ว่านี้ถ้าลอยไปติดที่เกาะสีสังข์แล้ว ภายหลังไปติดที่เกาะใหญ่ ข้อความก็กินกัน แต่ถ้าลอยไปติดเกาะสิชัง แล้วมาจับรำร่อนที่เกาะใหญ่สถานที่ไกลกันลิบลับเป็นไปไม่ได้ จึงเห็นว่าในข้อนี้ มโนห์ราของเราว่ากันผิด ๆ มานานแล้ว นั้นคงสำคัญผิดขึ้นในตอนหลัง คนที่ได้รับฟังชื่อเกาะ “สีชัง” แล้วนำมาสัมพันธ์กันเหมาให้เป็นเกาะ “สีชัง” ไปเลย ที่แท้ความหมายเอาเกาะในทะเลทราบสงขลา-พัทลุงต่างหาก ว่าถึงเกาะใหญ่อยู่ไม่ไกลกับเขา “นิพัทธสิงห์” ซึ่งเป็นที่ประทับของเจ้าฟ้าเทพสิงขรและอีกประการหนึ่ง

เหมือนการประชันโรงแข่งขันกันในงานการกุศลสมาทาน เป็นการถนอมพระทันต่อสมเด็จพระราชบิดาและพระเจ้าตาซึ่งเป็นการล้างบาปในอดีต ที่ได้ล่วงละเมิดมาแล้วแต่หนหลัง อันเป็นการขันพระราชประสงค์ สำหรับที่บางแก้ว หรือพระธาตุนางแก้ว จังหวัดพัทลุงเดี๋ยวนี้ องค์เจ้า 2 พี่น้อง เรียกว่า “ พระ 2 พี่น้อง ” ร่วมงานกับสมเด็จพระราชบิดา ไว้ในที่ใกล้ชิดติดพระราชฐานอีกด้วย ในกาลภายหลังทรงพระราชอภัยโทษ ตามเรื่องราวที่กล่าวเป็นประวัติเอาไว้ว่า

รู้ถึงพ่อค้า รับพาเข้าเมือง

ฝ่ายพระบิตุมารตุ์ ประทานให้เครื่อง

สำหรับเจ้าเมือง เปลื้องให้ทันที

ตั้งแต่นั้นมา ให้เรียกว่า” ชาตรี ”

และบทกลอนทั้งหมดที่เราได้กล่าวมานั้น ก็คือประวัติที่มาทั้งหมดตำนาน สวนพระเทพสิงหรนั่นเอง ส่วนในภาพที่เห็นนั้นก็คือสวนพระเทพสิงหร (สิงขร) ม.1 บ้านแหลมเจ้า ต้นมะม่วงป่า 3 ต้นอายุนับร้อยปี

ขอบคุณภาพข้อมูลบทความ : เกาะใหญ่ สงขลา, กศน. ตำบลเกาะใหญ่

 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง