1ในอำเภอของจังหวัดสงขลา ที่มีสถานทีท่องเที่ยวสวยงามและเดินทางห่างกันไม่ไกลมากนัก วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับอีกหนึ่งของเรื่องราวในพื้นที่ระโนดกับสายน้ำแห่งนี้ในลำคลองแห่งหนึ่งที่ตัดผ่านถนนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 (สะพานเอกชัย) คลองแห่งนี้มีชื่อเรียกว่า คลองนางเรียม
สำหรับสะพานเอกชัย เป็นสะพานที่ใช้สัญจรไปมาระหว่างอำเภอระโนด จังหวัดสงขลากับอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง มีตำนานเกี่ยวกับนางพญาจระเข้น้ำเค็มที่มีชื่อว่า "ทวดนางเรียม" หรือ "ทวดคลองนางเรียม" มีสามีชื่อว่า "ทวดตาขุนคำ" จระเข้ทั้งสองอาศัยอยู่บริเวณฝั่งอำเภอขวนขนุน จังหวัดพัทลุง ต่อมาจระเข้ทวดตาขุนคำแอบไปมีเมียน้อยอยู่ที่ฝั่งบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เมื่อนางพญาจระเข้รู้เข้าจึงว่ายน้ำตามหาสามี แต่เนื่องด้วยเส้นทางที่นางออกตามหาไม่มีทางน้ำที่ให้นางว่ายผ่านไป นางจึงใช้ลำตัวและหัวมุดดำดิน เพื่อให้เกิดเป็นทางน้ำจากทะเลน้อย ฝั่งควนขนุนไปโผล่ยังทะเลสาบสงขลาฝั่งอำเภอระโนด
ในหนังสือ ณ ห้วงเวลา : (บันทึกของห้วงเวลาที่หายไป) ของคุณาพร ไชยโรจน์ ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับทวดนางเรียมหรือ"ทวดคลองนางเรียม ว่าเป็นความเชื่อของชาวจังหวัดพัทลุง สืบเนื่องไปจนถึงตําบลบ้านขาว อําเภอระโนด จังหวัดสงขลา เนื้อความในตํานานบอกเล่าว่าสมัยก่อนทวดจระเข้ชื่อทวดตาขุนคําอยู่ ครองรักกับทวดนางเรียมอย่างมีความสุข ต่อมาทวดตาขุนคําแอบไปมีภรรยาน้อยอยู่ฝั่งระโนด รู้ถึงหูของทวดนางเรียมภรรยาหลวงนางจึงเดินทางตามสามีมาขึ้นฝั่งที่ระโนด
ซึ่งการเดินทางก็ยากลําบากยิ่งนัก เนื่องด้วยไม่มีลําคลองให้ว่ายน้ำตามไปได้ นางจึงใช้ลําตัวและหัวมุดคําดินเพื่อให้เกิดเป็นทางน้ำ จากนั้นจึงเดินทางไปหาสามีจนกระทั้งสําเร็จเกิดเป็นคลองเรียกกันติดปากว่า "คลองนางเรียม" ดังปรากฏในปัจจุบัน นอกจากนี้ความเชื่อของชาวบ้านตําบลบ้านขาว อําเภอระโนด จังหวัดสงขลา ที่เกี่ยวข้องกับทวดเรียมหรือทวดคลองนางเรียม
ยังมีเล่ากันมาแต่ครั้งรุ่นปู่ย่าตาทวดอีกว่าทวดของที่นี่จะแสดงรูปในลักษณะครึ่งเทวดาครึ่งสัตว์ (จระเข้) ทวดคลองนางเรียมในความเชื่อของชาวบ้านที่นี่แสดงรูปลักษณะของจระเข้น้ำจืดขนาดยักษ์ และเชื่อกันว่าคนในสมัยก่อนเคยเห็นทวดเรียมเป็นจระเข้ใหญ่มีขนาดของส่วนหัว จรดปลายหางเทียบเท่ากับความกว้างของคลองนางเรียมพอดิบพอดี ชาวบ้านเชื่อกันว่าจระเข้ ดังกล่าวไม่ทําอันตรายต่อคนเพราะเป็นจระเข้ศักดิ์สิทธิ์หรือจระเข้เจ้าเรียกว่า “ทวดคลองนางเรียม”
นอกจากนี้ชาวบ้านเชื่อว่าหากขอพรกับทวดคลองนางเรียมแล้วจะทําให้ทําไรทํานาได้ผลผลิตดี สัตว์เลี้ยงไม่ล้มป่วยและตายลงด้วยโรคระบาด นอกจากนี้ในสมัยก่อนคนที่อําเภอระโนดจะนิยมเดินทางไปซื้อวัว ซื้อควาย ซื้อสัตว์เลี้ยงเพื่อทําการเกษตรที่จังหวัดพัทลุงหรือในพื้นที่ใกล้เคียง ขากลับจึงเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องต้อนฝูงสัตว์เหล่านั้นเดินผ่านข้ามคลองนางเรียม โดยจะบนบานสานกล่าวให้ทวดคลองนางเรียนรู้เสียก่อน ด้วยการลอยหมากพลูขอขมาแก่ทวด ไม่เช่นนั้นฝูงสัตว์จะไม่เดินย่ำเท้าข้ามลําคลองเด็ดขาด
ปัจจุบันคลองนางเรียม ยังเป็นเสมือนอู่ข้าวอู่น้ำของสิ่งมีชีวิตนานาชนิด ทั้งสองฟากฝั่งลำคลอง ตั้งแต่สัตว์ตัวเล็ก ๆ ไปจนถึงควายตัวใหญ่ ๆ เป็นหนึ่งในสถานที่ที่มีความสมบูรณ์ทางระบบนิเวศวิทยาแห่งหนึ่งของจังหวัดสงขลาและพัทลุง ใครว่าง ๆ ก็สามารถไปล่องเรือชมทะเลน้อย สักการะศาลาทวดนางเรียม
ขอบคุณภาพข้อมูลบทความ : คุณาพร ไชยโรจน์ , ฐานข้อมูลท้องถิ่นภาคใต้
ชุมชนรังมดแดงสู่บ้านรำแดง(สิงหนคร)
20 ตุลาคม 2567 | 172ความทรงจำข้างกำแพงเมือง...182 แห่งการสถาปนาเมืองสงขลา(บ่อยาง)
20 ตุลาคม 2567 | 161ย้อนชมที่มา...ประเพณีลากพระของชาวปักษ์ใต้ "พระน้ำดูไปตามชายหลิง พระบกเพริศพริ้งบนหลิงแว็บวับ"
20 ตุลาคม 2567 | 169ตำนานศาลาทวดหัวสะพานพรุเตียว ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านในพื้นที่
22 กันยายน 2567 | 295พาชมถ้ำเขาจังโหลน 1 ในตำนานภูผา ณ อำเภอรัตภูมิ
22 กันยายน 2567 | 379ย้อนประวัติที่ฝังศพชาวฮอลันดา เมืองสงขลา
22 กันยายน 2567 | 412ชุมชนโบราณบ้านปะโอ ชุมชนเก่าแก่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์สงขลา
1 กันยายน 2567 | 547ลุ่มน้ำคลองภูมี ลำน้ำหล่อเลี้ยงและยึดโยงชีวิตของผู้คน 4 อำเภอในพื้นที่จังหวัดสงขลา
1 กันยายน 2567 | 1,597