ชื่อวัดใต้ คำนี้ที่ชาวบ้านเรียกกันอย่างคุ้นหู แต่หลายๆ คนอาจจะไม่รู้ว่าคือวัดดอนรัก วัดดอนรัก เป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่ เลขที่ 17 ถนนไทรบุรี ติดกับตลาดทรัพย์สิน อำเภอเมือง จังหวัด สงขลา อาณาเขตและเนื้อที ทิศใต้จดถนนเพชรคีรี ทิศเหนือจดธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด สาขาสงขลา ทิศตะวันออก จดถนนไทรบุรี ทิศตะวันตกจดตลาดทรัพย์สิน มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 5 ไร่ 2 งาน ผู้สร้าง พระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร ณ สงขลา) ตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา เป็นบุตรชายคนโตของเจ้า พระยาวิเชียรคีรี (เม่น ณ สงขลา) เจ้าเมืองสงขลาคนที่ 5 สาเหตุการสร้างวัด นางสี่เหนี่ยว มารดาของคุณหญิงพับ ณ สงขลา ได้ปรารภกับพระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร ณ สงขลา) ผู้เป็นบุตรเขยขอให้สร้างวัดอยู่ใกล้ ๆ จาน เพื่อสะดวกแก่การบำเพ็ญกุศล เพราะท่านชราภาพ พระยาสุนทรานุรักษ์ จึงยกที่ดินหลังจวนทางทิศตะวันออก
ซึ่งเป็นป่าต้นรักและเป็นเนินสูง เพื่อสร้างวัด โดยให้ ชื่อวัดว่า "วัดดอนรัก” ได้สร้างวัดโดยการสร้าง กุฏิ ศาลาการเปรียญ วิหาร และอุโบสถ เมื่อสร้างวัดเสร็จแล้วจึงนิมนต์ พระสงฆ์อยู่ประจำวัด สร้างอุโบสถเสร็จแล้วก็ผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต เพราะสมัยนั้นอำนาจการสร้างวัดอยู่ที่เจ้าเมือง ไม่ต้องขอพระบรมราชานุญาตพระราชทานวิสุงคามสีมา
ก็ผูกพัทธสีมาได้ วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2397 เป็นวันผูก พัทธสีมา เมื่อตัดสาแหรกนิมิตลงหลุมแล้วก็ได้ย่ำฆ้อง กลอง สนั่น และผูกสายสิญจน์จากลูกนิมิต เข้าไปในจานให้ นางสีเหนี่ยว ถือสายสิญจน์ลูกนิมิต นางสีเหนี่ยว ชราภาพมาก ไม่สามารถมาวัดได้ ปรากฏว่าวันนั้นนางสี เหนียว เกิดปีติจนถึงแก่กรรมพร้อมกับสัญญาณ ระฆัง ฆ้อง กลอง ตัดสาแหรกฝังลูกนิมิต คุณหญิงพับ ณ สงขลา ก็ได้คลอดบุตรชาย ต่อมาบุตรชายของพระยาสุนทรานุรักษ์ ผู้นี้ ได้เป็นพระยาวิเชียรคีรี (ชุม ณ สงขลา) เป็นผู้สำเร็จ ราชการเมืองสงขลาคนสุดท้ายในกาลต่อมา และได้อุปสมบทที่วัดนี้ ได้สร้างพระไตรปิฎก ฉบับรัชกาลที่ 7 ไว้ 1 จบ ตั้งแต่สร้างวัด พ.ศ. 2397 จนถึง พ.ศ. 2450 รวมเวลา 53 ปี เป็นวัดมหานิกายต่อมาเปลี่ยนเป็น วัดธรรมยุตนิกาย
ตามหลักฐานมีพระบรมราชโองการประกาศไว้แก่ชนทั้งปวงว่า ที่เขตอุโบสถ แขวงเมืองสงขลา ด้านยาว 13 วา 2 ศอก 1 คืบ กว้าง 7 วา 2ศอก 1 คืบ พระทวน เจ้าอธิการโดยพระปรมาภิไธย รัชกาลที่ 5 พระราชทานตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2540 ปรากฏว่ามีเจ้าอาวาสปกครองวัดมาแล้ว 3 รูป วัดดอนรักเป็นวัดที่ อาภัพเพราะตั้งแต่พระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร ณ สงขลา)
ได้สร้างวัดมาไม่มีผู้ใดปฏิสังขรณ์หรือสร้างเพิ่มเติม จึงมีสภาพชำรุดทรุดโทรม เพราะภัยทางธรรมชาติ พ.ศ.2484 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ญี่ปุ่น ยกพลขึ้นบกที่จัง หวัดสงขลา วัดดอนรักถูกภัยของสงครามทางอากาศ ลูกระเบิดตกลงบริเวณวัด 2 ครั้ง ทำให้สิ่งก่อสร้างในวัดเสียหาย สามเณร 1 รูป กับศิษย์วัด 1 คน เสียชีวิต พระอธิการชู ถาวโร เจ้าอาวาสกลัวภัยทางอากาศมากจึงได้ขอร้องพระ มงคลพุทธิญาณ สมัยยังเป็นพระภักดิ์ จนฺทสิริเถร ประจำอยู่วัดมัชฌิมาวาส มาช่วยกิจการบางอย่างที่วัดดอนรัก วันที่ 1 สิงหาคม 2487 จึงเดินทางออกจากวัดมัชฌิมาวาส มาอยู่ที่วัดดอนรัก พระอธิการชู ถาวโร เจ้าอาวาส วัดได้มอบความรับผิดชอบในวัดดอนรักทั้งหมดให้ แล้วขอลาไปจำพรรษาที่วัดดีหลวงนอก ตำบลชิงโค อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
ส่วนปะติมากรรม อาคารเสนาสนะ
โบสถ 2 หลัง โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญ 1 หลัง กว้าง 13.50 เมตร ยาว 20.50 เมตร โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หอระฆัง 1 หลัง โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หอสมุดแห่งชาติ 1 หลัง โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก อาคารปฏิบัติธรรม รัตนนารีศรีสงขลา 1 หลัง โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก อาคารเอนกประสงค์ 1 หลัง โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สำนักงานพุทธสมาคมจังหวัดสงขลา 1 หลัง โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กุฏิสงฆ์ 5 หลัง โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก และไม้ ซุ้มประตู 1 ซุ้ม โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก กุฏิสงฆ์ 2 หลัง โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ซุ้มประตู 1 ซุ้ม โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก โรงครัว ๑ หลัง โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
ปูชนียวัตถุและโบราณวัตถุ
พระประธานภายในอุโบสถหลังเก่า มีขนาด กว้าง 79 เมตร ยาว 102 เมตร รอยพระพุทธบาทจำลอง สร้างด้วยหินอ่อนเมื่อ พ.ศ. 2517 โดยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และนายสังข์ นางเอี่ยม ธรรมโชติ ซึ่งถอดแบบจากพระพุทธบาท วัดบวรนิเวศวิหาร ที่รัชการที่ 4 นำมาจากสุโขทัย
ปัจจุบันได้รับการยกย่องให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างในจังหวัดสงขลาอีกด้วย
ขอบคุณภาพข้อมูล : หอสมุดแห่งชาติวัดดอนรัก
ชุมชนรังมดแดงสู่บ้านรำแดง(สิงหนคร)
20 ตุลาคม 2567 | 172ความทรงจำข้างกำแพงเมือง...182 แห่งการสถาปนาเมืองสงขลา(บ่อยาง)
20 ตุลาคม 2567 | 161ย้อนชมที่มา...ประเพณีลากพระของชาวปักษ์ใต้ "พระน้ำดูไปตามชายหลิง พระบกเพริศพริ้งบนหลิงแว็บวับ"
20 ตุลาคม 2567 | 169ตำนานศาลาทวดหัวสะพานพรุเตียว ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านในพื้นที่
22 กันยายน 2567 | 295พาชมถ้ำเขาจังโหลน 1 ในตำนานภูผา ณ อำเภอรัตภูมิ
22 กันยายน 2567 | 379ย้อนประวัติที่ฝังศพชาวฮอลันดา เมืองสงขลา
22 กันยายน 2567 | 412ชุมชนโบราณบ้านปะโอ ชุมชนเก่าแก่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์สงขลา
1 กันยายน 2567 | 547ลุ่มน้ำคลองภูมี ลำน้ำหล่อเลี้ยงและยึดโยงชีวิตของผู้คน 4 อำเภอในพื้นที่จังหวัดสงขลา
1 กันยายน 2567 | 1,597