หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

นายเจียกีซี "ผู้สร้างหาดใหญ่" ห้องแถวห้าห้องสู่อำเภอหาดใหญ่ ผังเมืองจากแดนมลายู
1 พฤษภาคม 2565 | 59,982

ชื่อนี้เป็นที่คุ้นหูอย่างมากในอำเภอหาดใหญ่ เชื่อว่าไม่มีใครไม่เคยได้ยิน 100 ปีของอำเภอหาดใหญ่ นั่งไทม์แมชชีนย้อนเวลากลับไปในสมัยที่ยังเป็นตำบลทุ่งเสม็ดชุน สมัยยังเป็นอำเภอเหนือ สมัยที่หาดใหญ่ยังคงเมืองแห่งเศรษฐกิจและเป็นศูนย์กลางแดนใต้ สมัยที่หาดใหญ่ยังคงเป็นเมืองที่นักท่องเที่ยวต้องมาพักหากต้องการเดินทางไปยังฝั่งทะเลอันดามัน

ซึ่งมองว่าหาดใหญ่ได้ผ่านช่วงที่รุ่งเรืองถึงขีดสุดไปแล้ว โดยความรุ่งเรืองต่างๆของหาดใหญ่เริ่มมาจากวีรบุรุษคนเก่ง 4 คน ผู้ที่หลายคนเรียกว่าเป็นชนผู้บุกเบิกเมืองหาดใหญ่ ได้แก่ พระเสน่หามนตรี นายเจียกีซี พระยาอรถถกระวีสุนทรและนายซีกิมหยง จากทุ่งนาทุ่งหญ้าและป่าทึบที่มีราคาเพียงไร่ละ 4 บาท ถูกปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์กลางแดนใต้ที่ชื่อว่า "หาดใหญ่" ซึ่งทั้ง 4 ผู้เฒ่ามีคุณูปการในแต่ละด้านแตกต่างกันออกไป วันนี้เราจะมาพูดถึงผู้บุกเบิกทางรถไฟและสร้างเมืองหาดใหญ่เจริญขึ้นมาจนถึงทุกวันนี้ นั้นคือ "นายเจียกีซี" หรือ "ขุนนิพัทธ์"

 

กล่าวได้ว่า นายเจียกีซี "ผู้สร้างเมืองหาดใหญ่" ห้องแถวห้าห้องสู่อำเภอหาดใหญ่ ผังเมืองจากแดนมลายู

เริ่มที่ขุนนิพัทธ์จีนนคร หรือ นายเจียกีซี หนึ่งในสี่ผู้สร้างเมืองหาดใหญ่ อันเป็นต้นตระกูล "จิระนคร" คหบดีผู้สร้างทางรถไฟเข้ามาในเมืองหาดใหญ่จนกลายเป็น "ชุมทางทอง" ท่านเป็นชาวจีนกวางตุ้งนั่งสำเภามาตั้งแต่อายุ 19 ปี โดยเริ่มจากการทำงานที่ กทม ในร้านจำหน่ายสุรา และออกมารับเหมาก่อสร้างทางรถไฟสายเพชรบุรี ต่อมาก็มีโอกาสได้รับผิดชอบเจาะอุโมงค์รถไฟบริเวณ "ชุมทางเขาชุมทอง" จังหวัดนครศรีธรรมราช หลังจากนั้นท่านก็มาซ่อมทางรถไฟสถานีชุมทางอู่ตะเภา (สถานีรถไฟแห่งแรกของหาดใหญ่) บริเวณคลองอู่ตะเภาที่ถูกน้ำท่วมทางขาด ในยามว่างเว้นจากงานรถไฟ ท่านจะออกสำรวจแรดีบุก วูลแฟรม ที่เขาวังพา ตำบลทุ่งตำเสา และตำบลท่าช้าง ซึ่งเป็นป่าทึบอยู่ในเขตอำเภอหาดใหญ่

 

เหมืองแร่ที่นายเจียกีซีเป็นเจ้าของผู้บุกเบิก

เสร็จจากงานสร้างสถานีรถไฟคือสถานีปาดังเบซาร์และสุไหงโกลกในปี พ.ศ.2455 แล้ว ท่านมาอาศัยอยู่บริเวณริมคลองอู่ตะเภา (ข้างที่ว่่าการอำเภอหาดใหญ่) และท่านได้ซื้อที่ดินป่าเสม็ด บริเวณบ้านโคกเสม็ดชุน จำนวน 50 ไร่ ด้วยเงิน 175 บาท ซึ่งต่อมาที่ดินบริเวณนี้ ทางการได้ขอซื้อต่อ เพื่อทำเป็นสถานีรถไฟ "โคกเสม็ดชุน" หรือสถานีหาดใหญ่ในปัจจุบัน และเป็นเพราะไหวพริบทางการค้าที่เฉียบฉลาด เจียกีซีได้ปรับพื้นที่กว้าง สร้างเป็นห้องแถวไม้หลังคามุงจาก 5 ห้อง โดยแบ่ง 2 ห้องแรก ให้เพื่อนเช่าทำเป็นโรงแรม "เคี่ยนไห้" และ "หยี่กี่" ส่วน 3 ห้องที่เหลือเขาปรับเป็นบ้านพักอาศัย ร้านขายของชำ และโรงแรมส่วนตัว "ซีฟัด" (ที่ตั้งธนาคารนครหลวงไทยในปัจจุบัน) และก็สร้างห้องแถวเพิ่มมากขึ้น

มีการตัดถนนที่สมัยนั้นเรียกว่า "ถนนเจียกีซี" หรือ "ถนนธรรมนูญวิถี" และตัดถนนเจียกีซี 1,2,3 ต่อมาเปลี่ยนท่เป็นถนนนิพัทธ์อุทิศ 1,2,3 อย่างที่เราเห็นดั่งเช่นทุกวันนี้ เหตุการณ์ส่งผลมาถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่าท่านมองการณ์ไกลมาก ซึ่งปัจจุบันถนนทั้งสี่เส้นมีความสำคัญกับตัวหาดใหญ่เป็นอย่างมาก โดยการวางผังเมืองและถนนหนทางต่างๆ ท่านนำแนวคิดมาจากเมืองสุไหงปัตตานี ประเทศมลายู (มาเลเซีย)  ท่านมีการติดต่อกับต่างประเทศด้วยจดหมาย จึงมีการใช้ชื่อ "บ้านหาดใหญ่" เป็นชื่อสถานที่ติดต่อและใช้เรียกพื้นที่บริเวณนี้ ผู้คนบริเวณนี้จาก 10 หลังคาเรือนก็มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆนับแต่นั้นเป็นต้นมา และทางการได้เปลี่ยนชื่ออำเภอจาก อำเภอฝ่ายเหนือ หรือ อำเภอเหนือ มาเป็น "อำเภอหาดใหญ่" ในที่สุด ซึ่งเหตุผลที่ขุนนิพัทธ์ใช้ชื่อว่าบ้านหาดใหญ่นั้น มาจาก2 กรณี 1.มาจากต้นมะหาดใหญ่ 2.หาดทรายบริเวณคลองอู่ตะเภา

 

เกร็ดความรู้เล่าสเริมกันสักนิด

- บั้นปลายชีวิตของขุนิพัทธ์ทุ่มเทไปกับการทำเหมืองแร่ดีบุก จนต้องขายที่ดินให้กับชาวมาเลเซียเป็นจำนวนมาก
- ชื่อ “นิพัทธ์” เป็นชื่อราชทินนามของขุนนิพัทธ์จีนนคร ซึ่งมีพระบรมราชโองการจาก ร.7 โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เมื่อปี พ.ศ. 2472
- การวางผังนี้ขุนนิพัทธ์ฯ ได้ความคิดจากเมืองสุไหงปัตตานี ประเทศมลายู เนื่องจากสภาพเมืองสุไหงปัตตานีมีลักษณะคล้ายกับสภาพพื้นที่ที่ได้จับจองไว้
- ท่านได้อุทิศที่ดินจำนวนราว 180 ไร่ ในการสร้างสุสาน สถานสงเคราะห์คนชรา และโรงเรียนต่างๆ ไว้ให้ชาวหาดใหญ่ ได้ใช้ประโยชน์มาจนถึงทุกวันนี้
- ท่านอุทิศที่ดิน 4 ไร่  สำหรับสร้างเป็นโรงพยาบาลหาดใหญ่  อุทิศที่ดิน 14 ไร่  สำหรับสร้างเป็นสนามกีฬาจิระนคร ซึ่งสนามแห่งนี้เองเป็นที่ตั้งของอนุเสาวรีย์ขุนนิพัทธ์

 

 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง