หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

30 เรื่อง ต้องรู้ "กว่าจะเป็นเมืองสงขลา"
5 ธันวาคม 2564 | 5,892

สงขลาเฮ้  สงขลาบ้านเรา เรียกได้ว่าสวยงามไม่แพ้ที่ใดในโลกนะครับ นอกจากปัจจุบันสงขลาจะมีเสน่ห์ในด้านสถาปัตยกรรม ที่ถูกทำให้ฟื้นคืนชีพ จนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของภาคใต้ ตึกราบ้านช่องทรงชิโน่ยูโรเปี้ยนถูกอนุรักษ์และบูรณะขึ้นใหม่ นักท่องเที่ยวจำนวนมากแห่เดินทางมายังเมืองแห่งนี้ เพื่อชื่นชมในความเก่าแก่และมีสไตล์ของสถาปัตยกรรมเหล่านี้ ไม่นับรวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติอย่างชายหาดสีขาวอย่างสมิหลาหรือเขาตังกวน 

สิ่งต่างเหล่านี้หลอมรวมให้สงขลากลายเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีเสน่ห์และมนต์ขลังแห่งหนึ่งของชาติ  เพราะเมืองแห่งนี้มีประวัติศาสตร์และความเป็นมาอย่างช้านาน มีหลากหลายตำนาน และหลากหลายบุคลเกี่ยวข้องกับคำว่า "สงขลา" หรือ "สิงขลา" และ "Singora"

เดี๋ยวเราไปทำความรู้จักเรื่องราวทั้ง 30 เรื่อง ก่อนที่จะมาเป็นเมืองสงขลาไปพร้อม ๆ กันเลยจ้า

1. สงขลาเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์มากกว่า 300 ปี

2. สงขลาเคยเป็นเพียงชุมชนเล็กๆ ที่แยกตัวออกมาจากเมืองพัทลุง

3. นามสกุล ณ สงขลา ได้รับการพระราชทานโรดเกล้าจาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6)

4. เจ้าเมืองสงขลา (เปรียบเหมือนผู้ว่าราชการจังหวัด) ตระกูล "ณ สงขลา" มีด้วยกัน 9 คน

5. แซ่เฮา หรือ โง้ว คือนามสกุลต้นตระกูล ณ สงขลา

6. ประวัติศาสตร์เมืองสงขลาถูกพบและปรากฏครั้งแรก จากบันทึกของพ่อค้าและนักเดินเรือชาวอาหรับ

7. บันทึกดังกล่าวเขียนชื่อเมืองสงขลาว่า ซิงกูอร์ หรือ ซิงกอร่า

8. หนังสือประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยามมีการบันทึกชื่อเมืองแห่งนี้ว่า "สิงขร"

9. มีการสันนิษฐานว่า คำว่า "สงขลา" แท้จริงแล้วมาจากคำว่า "สิงหลา" หรือ "สิงขร"

10. สิงหลา แปลว่า "สิงห์" มาจากพ่อค้าต่างชาติที่แล่นเรือมาค้าขาย ซึ่งมองจากไกลจะเห็นเกาะหนูเกาะแมว ในรูปลักษณะคล้ายสิงห์หมอบเฝ้าปากอ่าวทางเข้าเมืองสงขลา

11. คนไทยยุคหนึ่งเรียกเมืองสงขลาว่า "เมืองสทิง"

12. ร.4 เคยทรงวินิจฉัยว่าแท้จริงคำว่าสงขลา เดิมทีมีชื่อว่า "สิงหนคร" (สิง-หะ-นะ-คะ-ระ) แต่มลายูพูดสระไม่ชัดจึงเพี้ยนเป็น สิงคะรา หรือ สิงโครา และกลายเป็น ซิงกอร่า ในที่สุด

13. มีการค้นพบหลักฐาน ได้แก่ ขวานหิน ซึ่งเป็นเครื่องมือสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่อำเภอสทิงพระ

14. มีทัศนะหนึ่งกล่าวไว้ว่า "สทิงพระ" คือศูนย์กลางของอาณาจักร "เซ็กโท"

15. อาณาจักรเซ็กโท หรือ อาณาจักรเชียะโท้ เป็นอาณาจักรที่อยู่ใต้อาณาจักรตามพรลิงก์ เมืองสำคัญของอาณาจักรนี้สันนิษฐานว่าอาจจะอยู่แถบกลันตันหรือบริเวณจังหวัดพัทลุงในปัจจุบัน มีอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษ 9 - 12 ตามจดหมายเหตุของจีนได้กล่าวว่าอาณาจักรเชียะโท้ ราชวงศ์ของกษัตริย์นามว่าชือทัน มีอายุไม่น้อยกว่า 7 ศตวรรษ

16. “สทิงพระ” เป็นศูนย์กลางการปกครองดินแดนรอบๆทะเลสาบสงขลาในสมัยอาณาจักรเซ็กโท

17. ในพุทธศตวรรษที่ 19 ชื่อ เมืองสทิงพระ เริ่มเลือนหายไป และเกิดชุมชนแห่งใหม่ใกล้เคียงขึ้นแทน เรียกว่า "เมืองพัทลุง" ที่พะโคะ

18. "เมืองพัทลุง" ที่พะโคะ ได้เจริญรุ่งเรืองเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ต่อมาระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20-22 พวกโจรสลัดมลายูได้เข้าคุกคาม บ่อยๆ ทำให้เมืองพัทลุงที่พะโคะค่อยๆเสื่อมลงไปในที่สุด

19. หลังจากเมืองพัทลุงที่พะโคะเสื่อมลง ก็เกิดชุมชนขนาดใหญ่ 2 แห่ง ได้แก่ บริเวณเขาแดงปากทะเลสาบสงขลา และอีกแห่งที่บริเวณบ้านบางแก้ว

20. ชุมชนบริเวณเขาแดง กลายเป็นเมืองสงขลาริมเขาแดง ส่วนบริเวณบางแก้วกลายเป็นเมืองพัทลุง

21. เมืองสงขลาริมเขาแดงมีความเจริญด้านการค้าขายกับต่างประเทศ โดยมีเจ้าเมืองเชื้อสายมลายู (ตระกูลสุลต่านสุไลมาน)

22. เมืองสงขลาริมเขาแดงเป็นกบฏต่อกรุงศรีอยุธยา จากเหตุชิงราชสมบัติที่อยุธยา

23. เมืองสงขลาริมเขาแดงถูกปราบในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

24. เมืองสงขลาริมเขาแดงถูกปล่อยให้ทรุดโทรม และตกเป็นเมืองขึ้นของพัทลุง

25. เมืองสงขลาไปตั้งเมืองใหม่ที่บริเวณบ้านแหลมสน จึงถูกเรียกว่า "เมืองสงขลาฝั่งแหลมสน"

26. พ.ศ.2310 ประเทศสยามเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ได้เกิดก๊กต่างๆขึ้น เจ้าพระยานคร(หนู) ซึ่งตั้งตัวเป็นใหญ่ ได้ตั้ง นายวิเถีย ญาติมาเป็นเจ้าเมือง

27. พระเจ้ากรุธนบุรี (พระเจ้าตากสิน) ปราบก๊กเจ้านครได้แต่งตั้งให้ จีนเหยี่ยง แซ่เฮ่า เป็นเจ้าเมืองในปี 2318 ได้รับพระราชทินนามเป็น "หลวงสุวรรณคีรีสมบัติ" (ต้นตระกูล ณ สงขลา)

28. สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) ก่อสร้างป้อมกำแพงเมือง

29. ช่วงก่อสร้างป้อมกำแพงเมือง ตวนกู อาหมัดสะอัด ชักชวนหัวเมืองไทรบุรี ปัตตานี และหัวเมืองทั้ง 7 ยกมาตีสงขลา แต่ไม่สำเร็จและถูกปราบไป

30. เมื่อกำแพงเมืองสงขลาจนเสร็จ ได้มีการจัดฝังหลักเมืองและได้ย้ายเมืองสงขลามายังฝั่งตะวันออกของแหลมสน มายังฝั่งสงขลาบ่อยาง คือ ในเขตเทศบาลนครสงขลา ปัจจุบัน

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง