อีกหนึ่งสถานที่ที่มีประวัติความเป็นมา ที่กล่าวได้ว่า เขาตังกวน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งในอ.เมือง จ.สงขลา เป็นเนินเขาสูง จากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,000 ฟุต จากยอดเขาตังกวนนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเมืองสงขลาได้โดยรอบ บนยอดเขาตังกวนเป็นที่ประดิษฐานเจดีย์พระธาตุคู่เมือง สงขลาซึ่งสร้างในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี(อยู่บนยอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,000 ฟุต )
โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4) ได้พระราชทานเงินหลวงให้เป็นทุนในการบูรณะปฏิสังขรณ์ และในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน (ร.9) ได้ทรงพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุให้มาบรรจุในองค์พระเจดีย์ในทุกๆ ปีในเดือนตุลาคม จะมีงานพิธีห่มผ้าองค์พระเจดีย์ และประเพณีตักบาตรเทโวและลากพระของสงขลา
ซึ่งในวันนี้ทาง หาดใหญ่โฟกัส มีโอกาสทราบข้อมูลและภาพเก่าของสถานทีแห่งนี้ ที่ถูกอธิบายไว้ว่า "เขาตังกวน" ภาพถ่ายจากพื้นราบที่เน้นให้เห็นภาพเขาตังกวนและพื้นที่ด้านล่าง สิ่งที่น่าสนใจคือ ภาพอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง ด้านขวามือของภาพ ไม่ทราบว่าคือสถานที่ใด? อาจเป็นสถานที่ราชการแห่งหนึ่ง หรือบ้านของข้าราชกันแน่ ทั้งหมดนี้ก็ยังคงเป็นปริศนาที่รอคอยคำตอบต่อไป
ที่สำคัญอีกหนึ่งอย่างบนเขาตังกวน ที่ทุกคนหรือนักท่องเที่ยวขึ้นไปต้องกราบไหว้ "พระเจดีย์บนเขาตังกวน" ถือเป็นหนึ่งในโบราณสถานสำคัญบนเขาตังกวน สันนิษฐานว่าเป็นพระเจดีย์โบราณที่มีมานานแล้ว และเป็นที่สักการะบูชาของชาวสงขลาสืบต่อกันมา
น่าจะมีการบูรณะปฏิสังขรณ์มาแล้วหลายครั้ง ในภาพนี้ซึ่งถ่ายไว้ราว พ.ศ. 2495 เราจะเห็นว่าพื้นที่โดยรอบยังไม่ได้ถูกพัฒนาอย่างจริงจัง นักท่องเที่ยวที่ขึ้นมาก็ยังคงน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบันแล้วแตกต่างกันมาก เป็นอีกภาพที่เราจะได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของสงขลาเพื่อให้เห็นเรื่องราวของแต่ละยุคสมัยได้เด่นชัดมากยิ่งขึ้น
ขอบคุณภาพและข้อมูล : จากภาพถ่ายต้นฉบับของ Mahavisanu Nusavihama
ชุมชนรังมดแดงสู่บ้านรำแดง(สิงหนคร)
20 ตุลาคม 2567 | 172ความทรงจำข้างกำแพงเมือง...182 แห่งการสถาปนาเมืองสงขลา(บ่อยาง)
20 ตุลาคม 2567 | 160ย้อนชมที่มา...ประเพณีลากพระของชาวปักษ์ใต้ "พระน้ำดูไปตามชายหลิง พระบกเพริศพริ้งบนหลิงแว็บวับ"
20 ตุลาคม 2567 | 169ตำนานศาลาทวดหัวสะพานพรุเตียว ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านในพื้นที่
22 กันยายน 2567 | 295พาชมถ้ำเขาจังโหลน 1 ในตำนานภูผา ณ อำเภอรัตภูมิ
22 กันยายน 2567 | 379ย้อนประวัติที่ฝังศพชาวฮอลันดา เมืองสงขลา
22 กันยายน 2567 | 412ชุมชนโบราณบ้านปะโอ ชุมชนเก่าแก่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์สงขลา
1 กันยายน 2567 | 547ลุ่มน้ำคลองภูมี ลำน้ำหล่อเลี้ยงและยึดโยงชีวิตของผู้คน 4 อำเภอในพื้นที่จังหวัดสงขลา
1 กันยายน 2567 | 1,597