หอนาฬิกาสงขลาแต่เดิมสร้างด้วยงบประมาณจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลในขณะนั้น เทศบาลนครสงขลาเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ต่อมาได้รื้อถอนในปี 2526 ซึ่งถือว่ามีอายุกว่า 30 ปี ขณะนั้นเทศบาลสงขลาได้จัดประกวดวาดภาพการก่อสร้างหอนาฬิกา และตัดสินผลงานผู้เข้าประกวด เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2558 โดย คุณสุกล ทรงศรี จากสตูดิโอสุกล สถาปนิกชาวสงขลาที่ชนะการประกวด
ต่อมาเทศบาลนครสงขลา จึงมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการก่อสร้างซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการแล้วเสร็จโดยใช้งบประมาณจากรายได้ปี 2558 จึงเป็นที่มาของจุดประกายความคิดในการออกแบบหอนาฬิกาด้วยแนวคิดในการออกแบบให้หวนคืนรูปแบบหอนาฬิกาดั้งเดิมในสมัยก่อนของชาวสงขลามากว่า 30 ปี กับหอนาฬิกาใหม่
ซึ่งเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2559 และแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2559 นายสุคนธ์ ทรงสี สถาปนิกผู้ออกแบบงานประกวดหอนาฬิกา เล่าถึงแนวคิดในการออกแบบว่า ตอนแรกเขาสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสงขลาจากสื่อต่างๆ จนมาเห็นในเว็บไซต์ที่คนสงขลาถามหาหนาฬิกา มีกลุ่มที่ต้องการรูปแบบเก่าและกลุ่มที่ต้องการรูปแบบใหม่ เลยคิดว่าจะสามารถตอบสนองความต้องการของทั้งสองกลุ่มได้อย่างไร
ในอดีตสงขลาก็มีนาฬิกาเหมือนกับจังหวัดอื่นแต่นี่จากการจราจรทำให้พวกเขารื้อหอเก่าลงไปเพื่อให้การจราจรคล่องขึ้น ในปี 2526 (หลายท่านท้วงมาว่ารื้อ 2536 ลองดูจากชุดถ่ายจากบอร์ดเทศบาล ระบุ 2526 อย่างไรก็ดีของคงทั้ง 2 เวลาไว้) ภายหลังสงขลาได้มีแนวคิดที่จะรื้อฟื้นหอนาฬิกาโดยทำการประกวดแบบเมื่อปี 2558 โดยผู้ชนะได้เสนอรูปแบบที่นำของเดิมเข้ามาเป็นโครงก่อนที่จะใส่กรอบใหม่เพื่อต่อเนื่องเรื่องราวเก่าและใหม่เข้าด้วยกัน
โดยผสมผสานงานเดียวกันราวกับงานจะเชื่อมโยงมิติระหว่างอดีตและปัจจุบันเข้าด้วยกันนำจิตวิญญาณของหอนาฬิกาเดิมกลับมาให้ชาวสงขลาได้ชื่นชมอีกครั้งหลังจากที่รอมานาน มันใช้ปรัชญาหยินและหยาง นั่นคือสัญลักษณ์สองสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสถานะของ "สมดุล" ซึ่งขัดแย้งกับสิ่งที่ตรงกันข้าม แต่เติมเต็มซึ่งกันและกันอย่างสมบูรณ์แบบด้วยพื้นที่ของงานชิ้นนี้ที่แสดงถึงอดีต (หอนาฬิกาเก่า)
ถ้าดูช่องว่างตรงกลางจะเห็น เป็นหอนาฬิกาดั้งเดิมซึ่งเป็นความทรงจำอันล้ำค่าและกรอบนอกพังทลาย (หอนาฬิกาใหม่) จะเป็นตัวแทนของปัจจุบันขึ้นอยู่กับมุมที่คุณมองหอนาฬิกา (ด้านทึบหรือด้านโปร่งแสง) เปรียบเสมือนบุคคลที่มีทั้งด้านดีและด้านร้าย ขึ้นอยู่ว่าเราจะมองด้านไหนของเขาเท่านั้น ยังให้ความสำคัญกับเรื่องของแกนอาคารที่หันหน้าเข้าหากัน สู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ทรงคุณค่าทั้ง 4 มุมเมือง ได้แก่ แหลมสมิหลา หาดเก่าเส็งหัวพญานาค และประตูเมืองเก่า
หอนาฬิกาสงขลานี้อยู่บริเวณสี่แยกใกล้กับพิพิธภัณฑ์ธำมรงค์บ้านป๋าเปรม กำแพงเมืองเก่าสงขลา และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลาในช่วงเวลาวันเสาร์อาทิตย์ช่วงเย็นบริเวณนี้ก็จะคราคร่ำด้วยตลาดคนเดินกลายเป็นจุดนัดพบรวมพลของพื้นที่แล้วเป็นจุดเด่นอีกอย่างของจังหวัดสงขลาที่มีเสน่ห์
ชุมชนรังมดแดงสู่บ้านรำแดง(สิงหนคร)
20 ตุลาคม 2567 | 172ความทรงจำข้างกำแพงเมือง...182 แห่งการสถาปนาเมืองสงขลา(บ่อยาง)
20 ตุลาคม 2567 | 160ย้อนชมที่มา...ประเพณีลากพระของชาวปักษ์ใต้ "พระน้ำดูไปตามชายหลิง พระบกเพริศพริ้งบนหลิงแว็บวับ"
20 ตุลาคม 2567 | 169ตำนานศาลาทวดหัวสะพานพรุเตียว ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านในพื้นที่
22 กันยายน 2567 | 295พาชมถ้ำเขาจังโหลน 1 ในตำนานภูผา ณ อำเภอรัตภูมิ
22 กันยายน 2567 | 379ย้อนประวัติที่ฝังศพชาวฮอลันดา เมืองสงขลา
22 กันยายน 2567 | 412ชุมชนโบราณบ้านปะโอ ชุมชนเก่าแก่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์สงขลา
1 กันยายน 2567 | 547ลุ่มน้ำคลองภูมี ลำน้ำหล่อเลี้ยงและยึดโยงชีวิตของผู้คน 4 อำเภอในพื้นที่จังหวัดสงขลา
1 กันยายน 2567 | 1,597