หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

เรื่องราวการฉีดวัคซีนเข็มแรก ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2378 หรือตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 3
13 มิถุนายน 2564 | 5,176

เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน ที่คนทั้งโลกต่างพร้อมใจกันเพื่อฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ประสบกับโรคระบาดโควิด-19 ที่ทำให้คนในประเทศไทยต้องเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชาชนอย่างเร่งด่วน ซึ่งในวันนี้ทางหาดใหญ่โฟกัสมีโอกาสได้พบเรื่องราวของการฉีดวัคซีนเข็มแรก  เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2378  หรือตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 3 

ซึ่งวัคซีนชนิดแรกนี้คือวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษโรคที่ระบาดหนักในสมัยนั้นโดยหมอบลัดเลย์ (Dr. Dan Beach Bradley)เป็นผู้นำเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยเป็นวัคซีนที่ทำในลักษณะที่เรียกว่า “การปลูกฝี" 

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3ทรงทราบเรื่องราวในการปลูกฝีของหมอบรัดเลย์จึงมีรับสั่งให้หมอหลวงไปทำการฝึกปลูกฝีกับหมอบลัดเลย์ในระยะแรก ประเทศไทยต้องนำเข้าพันธุ์หนองฝีจากสหรัฐอเมริกาแต่ภายหลังหมอบลัดเลย์ได้เปลี่ยนมาใช้วิธีการปลูกฝีแบบ variolationคือนําเอาหนองฝีจากผู้ป่วยไข้ทรพิษมาทําการปลูกฝีซึ่งเป็นวิธีการเดียวกันกับที่ชาวจีนค้นพบ

โดยหมอบลัดเลย์ตั้งใจว่า หากวิธีการปลูกฝีแบบชาวจีนนี้ไม่ได้ผลดีตามที่ควร หรือเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยก็จะกลับไปใช้วิธีการนำเข้าพันธุ์หนองฝีจากสหรัฐฯ ตามเดิม โดยมีค่าบริการคนละ 1 บาท และมีเงื่อนไขว่าจะได้เงินคืน 50 สตางค์ เมื่อกลับมาติดตามตรวจผลดู และ ฝีดีขึ้น ทั้งนี้ เงินที่ได้จะนำไปซื้อพันธุ์หนองฝีมาใช้ต่อไป

ครั้นในสมัยรัชกาลที่ 5แม้ปฏิบัติการปลูกฝีแบบเดิมทั้งแบบนำเข้าพันธุ์หนองฝี และแบบชาวจีน จะประสบผลสำเร็จด้วยดีแต่เรื่องการนำพันธุ์หนองฝีเข้ามายังคงเป็นปัญหาเรื่องระยะเวลาการเดินทางที่นานถึง 9 เดือน ทำให้พันธุ์หนองฝีเสื่อมคุณภาพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชดำริให้คิดทำหนองฝีขึ้นมาใช้เองเสียเลย โดยเริ่มจากการส่งนายแพทย์ 2 คน ของไทย คือ พระบำบัดสรรพโรค หรือนายแพทย์แฮนซ์ อดัมเซ็น (Hans Adamsen) และหลวงวิฆเนศน์ประสิทธิวิทย์ (อัทย์ หสิตะเวช) ไปศึกษาดูงานเรื่องดังกล่าวที่ประเทศฟิลิปปินส์

 

เมื่อทั้งสองกลับมาประเทศไทย ก็ได้มีการทำพันธุ์หนองฝีขึ้นเองครั้งแรกในประเทศไทย ที่สำนักงานบริเวณสี่กั๊กพระยาศรี (สี่แยกพระยาศรี) และต่อมาทางกระทรวงธรรมการได้เสนอให้รัฐบาลจัดตั้ง“กอเวอนเมนต์ซีร่ำแลโบแร็ตโตรี”(Government Serum Laboratory)สำหรับผลิต พันธุ์หนองฝีขึ้นใช้ปลูกป้องกันไข้ทรพิษภายในประเทศ และภายหลังได้ย้ายสถานผลิตไปที่ ต.ห้วยจรเข้ จ.นครปฐม

จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6มีการจัดตั้งสถานที่ดำเนินการวัคซีนป้องกันโรคกลัวน้ำ (โรคพิษสุนัขบ้า) ขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทยที่ตึกหลวงบนถนนบำรุงเมืองเป็นสถานที่ทำการชั่วคราว เรียกว่า“ปาสตุระสภา”โดย สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงเป็นผู้อนุเคราะห์ ในการนี้ จึงทำการย้ายสถานผลิตพันธุ์หนองฝี รวมถึงการทำวัคซีนอื่น ๆ จากนครปฐม มาดำเนินการอยู่ด้วยกันที่ปาสตุระสภาแห่งนี้

ในปี พ.ศ. 2460สถานที่รวมกิจการวัคซีน “ปาสตุระสภา” ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สถานปาสเตอร์”ตามชื่อหลุยส์ ปาสเตอร์ผู้คิดค้นวัคซีนคนสำคัญของโลก พร้อมกับโอนกิจการนี้ให้แก่สภากาชาดไทยแต่ยังคงใช้สถานที่ทำการเดิมภายหลังสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถฯ เสด็จสวรรคตรัชกาลที่ 6 ได้มีพระราชประสงค์ที่จะสร้างสิ่งอันเป็นสาธารณประโยชน์เพื่อเชิดชูพระเกียรติยศพระราชชนนี จึงทรงอุทิศที่ดิน 46 ไร่ริมถนนพระราม 4 พร้อมพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ 258,000 บาทมอบให้สภากาชาดไทย สำหรับสร้างอาคารใหญ่ที่ชื่อว่า “ตึกสภานายิกา”เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำการแห่งใหม่ของสถานปาสเตอร์ พร้อมพระราชทานนามให้ใหม่ว่า “สถานเสาวภา”

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องราวของวัคซีนเข็มแรกของประเทศไทยที่จะเห็นได้ว่าในทุกช่วงเวลาที่เราประสบพบปัญหาจะมีสถาบันองค์พระมหากษัตริย์ที่คอยอยู่เคียงข้าง ทรงพระเมตตา. และมีพระมหากรุณาธิคุณต่ออาณาประชาราษฎร์เสมอ

ขอบคุณภาพข้อมูล  :Paweena Böhler , สถานเสาวภา สภากาชาดไทย

 

 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง