หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

ความสวยงามของ "บ้านแฝดนอกชานกลาง" บ้านชะมวง รัตภูมิ
13 มิถุนายน 2564 | 4,834

ในหลายพื้นที่ของจังหวัดสงขลา ยังคงมีบ้านเก่าอายุนับ 100 ปี ให้เราพบเห็นอยู่เสมอไม่ว่าจะเป็นที่บางเหรียง ซึ่งลักษณะของบ้านแบบนี้หาดูได้ยากมาก และสมควรอย่างยิ่งที่จะอนุรักษ์ไว้หรือบูรณะให้สวยงามในภายหลัง วันนี้เรามีบ้านอีกหนึ่งหลังที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอรัตภูมิ 

ภาพถ่ายถูกโพสต์โดย คุณณัฎฐพล ปานคง โดยมีบ้านหลังนี้เขาจะเรียกกันว่าบ้านแฝดนอกชานกลาง ตั้งสง่าเด่นอยู่กลางทุ่งหญ้าที่เขียวขจี ที่สำคัญกระเบื้องที่ใช้มุงหลังคามีความเก่าแก่ เพราะเป็นหลังคากระเบื้องดิน ในอดีตเมื่อ 50 ปีกว่าปีที่แล้วหากใครมีบ้านลักษณะดังกล่าวเช่นนี้ถือว่าอลังการมากแล้ว

โดยความรุ่งเรืองของกระเบื้องดินเผา มีความเจริญแพร่หลายตั้งแต่ รัชกาลที่ 3 ถึง รัชกาลที่ 5 โดยปรากฏในเอกสารต่างๆ บ่อยครั้งที่ทางเมืองหลวงจะมีการเกณฑืให้เมืองสงขลาทำกระเบื้องส่งไปให้ ซึ่งในรัชกาลที่ 4 มีการให้เกณฑ์เมืองสงขลาทำกระเบื้องหน้าวัวปูพื้น 50,000 แผ่น ปูบริเวณ อุโบสถวัดสุทัศเทพวราราม และวัดเขมาภิรตาราม ในรัชกาลที่ 5 มีการนำกระเบื้องดินเผาเมืองสงขลา ไปใช้มุงหลังคาพระวิหารหลวงในการซ่อมแซมพระบรมธาตุไชยาอีกด้วย

บ้านแฝดหลังนี้ถือเป็นอีกหนึ่งความสวยงามในสามแยกท่าชะมวง รัตภูมิ ที่มัหลายคนไปชมความงานกันมาบ้างแล้ว ที่สำคัญการสร้าวบ้านรือนทางภาคใต้ มีลักษณะโดดเด่น คือหลังคาที่มีทรงสูง มีความลาดเอียง ลงเพื่อให้น้ำฝน ไหลผ่านได้ อย่างสะดวก ชายคาต่อยาวออกไปคลุมถึงบันได เพราะฝนตกชุกมาก เสาเรือนไม่นิยมฝังลงไปในพื้นดิน แต่จะใช้ “ตอม่อ” หรือฐาน เสาที่ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ศิลาแลง

หรือที่ทำจากการก่ออิฐฉาบปูนรองรับเป็นลักษณะเด่นเรียกได้ว่าเป็นเรือนไทยที่มี “ตีนเสา”เพื่อป้องกันปัญหาการผุกร่อนของเสาเมื่อได้รับความชื้นจากพื้นมากๆ วิธีสร้างจะประกอบส่วนต่าง ๆ ของเรือนบนพื้นดินก่อนแล้วจึงยกส่วน โครงสร้างต่างๆ ขึ้นประกอบเป็นตัวเรือน การวางตัวเรือนจะหันเข้าหา เส้นทางสัญจรทั้งทางน้ำและทางบก ซึ่งสามารถรับลมบกและลมทะเลได้ การวางตัวเรือนแบบนี้ ทำให้คนทางภาคใต้หันหัวนอนไปทางทิศใต้เป็นหลัก

ขอบคุณภาพ : ณัฏฐพล ปานคง

 

 

 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง