ความเชื่อของแต่ละพื้นที่ถือเป็นเรื่องที่อธิบายยาก ในแต่ละพื้นที่ก็จะมีการนับถือและความเชื่อต่างถิ่น ไม่ว่าจะภาคเหนือ กลาง ใต้ หรือออีสาน อย่างเช่นภาคใต้ของเราในความเชื่อของความเชื่อของชาวบ้านบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา ในเรื่องของ ครูหมอ คือวิญญาณของครูทางศิลปะ อาจจะเป็นครูผู้ให้กำเนิดศิลปะนั้น ๆ วันนี้ทางหาดใหญ่โฟกัส ขอพาผู้อ่านไทำความรู้จักเกี่ยวกับเรื่องราวของครูหมอ ไปพร้อม ๆ กัน
ครูหมอ เดิมทีนั้นเรียกว่า "ครูต้น" ซึ่งมักมีเรื่องเล่าต่อ ๆ กันมาในรูปของตำนาน มีฐานะเป็นเทพ เป็นเจ้านายชั้นสูงส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเป็นสามัญชน หรือเป็นครูสอนศิลปะนั้น ๆ ที่รับช่วงต่อกันมาในชั้นหลัง ครั้นตายไปวิญญาณยังห่วงใยผูกพัน กับงานและลูกหลานศิลปิน จึงไม่ยอมไปผุดไปเกิด แบบเดียวกับผีตายาย งานศิลปะที่สำคัญ ๆ ทุกอย่างในแถบนี้ล้วนมีครูหมอทั้งสิ้น เป็นต้นว่า หนังตะลุง โนราห์ โต๊ะครึม งานแกะสลัก ช่างตีเหล็ก ฯลฯ แต่งานศิลปะที่มีการใช้วรรณกรรมเป็นองค์ประกอบสำคัญ ในการสื่อสารตำนาน เชิญครูหมอมาเข้าทรง มีเพียงบางอย่างเท่านั้น ได้แก่ หนังตะลุง โนรา และโต๊ะครึม ศิลปะทั้ง 3 อย่างนี้ครูแรงมาก มีหลายองค์ แต่ละองค์มีประวัติ อุปนิสัย
และมีความสำคัญต่างกัน ซึ่งผู้ที่เคารพนับถือ คือผู้สืบสายตระกูลงานศิลปะนั้น ๆ รู้ดีเพราะต้องมีการตั้งหิ้งบูชา มีการจัดพิธีไหว้ครูประจำปีหรือตามวาระ และเมื่อมีผู้ศึกษาศิลปะนั้น ๆ ชำนาญจะต้องจัดพิธีครอบครูเพื่อแสดงการรับรองของครูหมอและอาจารย์ผู้ประสาทความรู้นั้นให้ นอกจากนี้ครูหมอ ยังเป็นที่พึ่งแก่ลูกหลาน
โดยเมื่อมีทุกข์หรือปรารถนาจะให้ประสบผลสิ่งใดก็บนบานให้ครูหมอช่วย แต่บางคนปฏิบัติไม่ดีพลีไม่ถูก ครูหมอก็ให้โทษเป็นการสั่งสอนให้สำนึกก็มี ซึ่งต้องบนบานขอขมา และเมื่อมีการบนก็ต้องแก้บน จัดพิธีบวงสรวงตามประเพณีในพิธีมีการขับร้องเชิญวิญญาณมาเข้าทรง รับเครื่องสังเวย วรรณกรรมที่ใช้ขับร้องสะท้อนให้เห็นค่านิยมการนับถือครู เชื่อในอำนาจเร้นลับของครู และยอมรับในเรื่องที่ครูได้สร้างสรรค์และสั่งสมสืบทอดมา ความเชื่อความรู้สึกต่อครูหมอมีความละเอียดอ่อน แฝงไว้ซึ่งความกลัวและคารวะยกย่อง ดังตัวอย่างตอนเชิญครูหมอโนรามาเข้าทรงบางตอน เช่น
(ชื่อครู) ของลูกแก้ว................รู้แล้วไม่ห่อนได้อยู่ข้า
พ่อมาเถิดมาต้า.......................มาหราได้เวเอาตัวเล่น
ตัวลูกเปรียบเหมือนรวงข้าว..พ่อเจ้าเหมือนนกจอกเต้น
มาหราได้เวตัวเล่น..................พ่อเต้นเข้ามาฉับฉับ
เข้ามาตามเลียงกลอง............พ่อย่องเข้ามาตามเสียงทับ
เต้นเข้ามาฉับฉับ.....................ร้องรับราชครูถ้วนหน้า
ในบทเชิญครูหลังเบิกโรงก็มีท่วงท่าทำนองเดียวกัน เช่น
พอลงถึงโรงจะไหว้คุณ..........หารือพ่อขุนศรัทธา
ศรัทธาแข้มศรัทธาราม...........โฉมงามเบิกหน้าบายตา
ศรัทธาเทพศรัทธาเกลา.........แต่บรรดาเป็นเหล่ามโนห์รา
พระราชครูของข้า....................คืนนี้เชิญมาให้พร้อม
ฝ่าเท้าเข้ามาเถิดมาแหละ......ราชครูอย่าแวะอย่าอ้อม
ให้พ่อมาอยู่กันให้พร้อม.........ได้มานั่งห้อมล้อมอยู่ช้ายขวา
อย่างไรก็ตามใช่ว่าชาวบ้านจะตกอยู่ใต้อำนาจของความไม่พอใจ มีการต่อรองกันกับครูหมอก็มี เช่น เมื่อครูหมอโดยสิ้นเชิง หากแต่ในบางคราวมีการแสดง เชิญครูหมอมาเข้าทรงแต่ไม่เป็นผลก็อาจกล่าวคำรุนแรง เช่น
เชิญมาเถิดพ่อเจ้าข้า.............มาตามที่ลูกนี้ประสงค์
ถ้าคุณพ่อไม่มาทรง...............ลูกหลานไม่นับถือไปวันข้างหน้า
ถ้าพ่อไม่ลงให้เขาวันนี้..........บายศรีถูกโยนใส่ขี้กรา
หนมโคหน่วยใหญ่ใหญ่........เอาซัดออกไปให้ฝูงหมา
แสดงให้เห็นว่า คนกับครูหมอหรือผี ต้องถ้อยทีถ้อยอาศัย รู้จักผ่อนปรนกันและกันนั่นเอง
ขอบคุณภาพข้อมูล : ศาสตร์โนรา ครูธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ - Thummanit Nikomrat
ชุมชนรังมดแดงสู่บ้านรำแดง(สิงหนคร)
20 ตุลาคม 2567 | 172ความทรงจำข้างกำแพงเมือง...182 แห่งการสถาปนาเมืองสงขลา(บ่อยาง)
20 ตุลาคม 2567 | 160ย้อนชมที่มา...ประเพณีลากพระของชาวปักษ์ใต้ "พระน้ำดูไปตามชายหลิง พระบกเพริศพริ้งบนหลิงแว็บวับ"
20 ตุลาคม 2567 | 169ตำนานศาลาทวดหัวสะพานพรุเตียว ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านในพื้นที่
22 กันยายน 2567 | 295พาชมถ้ำเขาจังโหลน 1 ในตำนานภูผา ณ อำเภอรัตภูมิ
22 กันยายน 2567 | 379ย้อนประวัติที่ฝังศพชาวฮอลันดา เมืองสงขลา
22 กันยายน 2567 | 412ชุมชนโบราณบ้านปะโอ ชุมชนเก่าแก่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์สงขลา
1 กันยายน 2567 | 547ลุ่มน้ำคลองภูมี ลำน้ำหล่อเลี้ยงและยึดโยงชีวิตของผู้คน 4 อำเภอในพื้นที่จังหวัดสงขลา
1 กันยายน 2567 | 1,597