บี - บอย คำนี้เป็นคำที่หลายคนคุ้นเคย เห็นผ่านสื่อต่าง ๆ ใครที่เป็นแฟนภาพยนตร์ภาคต่อ “Step up” ต้องตามกริ๊ดมาโดยตลอด แต่รู้หรือไม่ว่า บี - บอย คือคนที่ชื่นชอบในวัฒนธรรมฮิปฮอป และรักการเต้นเบรกแด๊นซ์ HatyaiFocus มีโอกาสพูดคุยกับ น้อง เบนซ์ หรือ นายพัทธกุล สีหมัด ชายหนุ่มร่างสูง ผิวเข้ม ผู้หลงใหลในวัฒนธรรมฮิบฮอป และ รักในการเต้น
น้องเบนซ์ เล่าให้ฟังถึงจุดเริ่มต้นของการเต้น บี - บอย ว่า “เมื่อก่อนผมชอบเล่นเกมส์เต้น เล่นทุกวันจนวันหนึ่งรู้สึกเบื่อ เลยเกิดความคิดว่า ถ้าเราเต้นเก่งเหมือนในเกมได้ก็คงจะดี เลยไปหากลุ่มเพื่อนที่เต้น B-boy และเริ่มฝึกเต้นตั้งแต่ตอนนั้น
เสน่ห์ของการเต้นบี - บอย
“ผมหลงรักเพราะว่าการเต้นบีบอย ทำให้ผมกล้าแสดงออกตัวตนที่อยู่ข้างใน ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ผสมเข้ากับจังหวะเพลง แสดงออกมาได้จริง และยังทำให้ผมมีเพื่อนมากขึ้น ยิ่งได้เต้นกับเพื่อนยิ่งสนุกมากกว่าเดิมครับ”
ประโยชน์ของการเต้น บี - บอย
การเต้นบีบอยทำให้รู้จักการแสดงออกอย่างถูกวิธี ทำให้รู้จักจิตใจตัวเอง ดูแลสุขภาพมากขึ้น และมีความมั่นใจในตัวเองมากกว่าเดิม
ภาพลักษณ์ของนักเต้น บี - บอย
เมื่อก่อนภาพลักษณ์ของการเต้นบี - บอยจะไม่ดี ผู้ปกครองจะมองว่าเป็นการมั่วสุม จึงไม่ค่อยสนับสนุน และเป็นห่วงว่าหากไปเต้นจะเป็นอันตราย เนื่องจากมักจะมีท่าโลดโผน แต่หลังจากไปแข่งขันเริ่มได้รับรางวัล พ่อ แม่เริ่มยอมรับ และมองว่าบี - บอยเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่สร้างสรรค์
เบนซ์เต้นบี - บอยมาหลายปี คิดว่าตนเองมีพัฒนาการเป็นยังไงบ้าง?
คิดว่าพัฒนาการมาไกลจากช่วงแรก ๆ วันนี้เข้าใจในการเต้นมากขึ้น แต่ยังคงต้องฝึกฝนเป็นอย่างหนักอีกมาก เพื่อที่จะได้พัฒนาฝีมือให้ไปไกลกว่าเดิม อนาคตอยากไปให้ไกลถึงระดับ international ซึ่งยังมีคนที่เก่งกว่าผมมาก
น้องเบนซ์ เป็นหนึ่งในสมาชิกในทีม Dopeilla เคยคว้าแชมป์การเต้นในหลายรายการ เบนซ์บอกว่าช่วงที่มีการแข่งขันเราเต็มที่กับมัน ยึดมั่นในความเชื่อ การชนะรายการต่าง ๆ ถือเป็นเรื่องที่ภูมิใจ
รวมตัวกันเป็นทีม Dopeilla ได้ยังไง
ทีม Dopeilla ประกอบด้วย เบนซ์ นายพัทธกุล สีหมัด , ต้น นายชานนท์ ทองเทียบ , ซากีรีน นายอัครวุฒิ โหมดใหม่ และ เจมมี่ นายอานนท์ อุปมนต์ เริ่มต้นจากเบนซ์รู้จักกับต้นและซากีรีนตั้งแต่ 7 ปีที่แล้ว ในการแข่งขันเต้นบีบอย แม้อยู่คนละจังหวัดกัน แต่ได้มาเป็นเพื่อนเพราะความชอบในการเต้นบีบอย จึงรวมตัวกันเป็นทีมตั้งแต่ตอนนั้น
แบ่งเวลาการเรียนและการเต้นยังไง
ปัจจุบันน้องเบนซ์เป็นนักศึกษา คณะนิเทศศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ การเต้นไปด้วยและเรียนไปด้วย ต้องแบ่งเวลา โดยใช้เวลาช่วงเย็นหลังเลิกเรียน ในการฝึกซ้อม แต่ถ้าหากเป็นช่วงใกล้จะแข่งขันก็ต้องซ้อมให้หนักกว่า
สไตล์การเต้นของ บี - บอย ภาคใต้ ของบ่าวหาดใหญ่
สไตล์ในการเต้นบี - บอย ของแต่ละภาคในประเทศจะไม่มีเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้ชีวิตของคนในภาคนั้น ๆ อย่างภาคใต้ เวลาเต้นจะเน้นการเคลื่อนไหว มีความคล่องตัว ต้องลองนึกภาพหนังตะลุงจะเป็นประมาณนั้น เวลาแสดงออกบนเวที จะใช้ภาษาถิ่นใต้ในการเชียร์เป็นลักษณะเฉพาะ
การเต้น = การเปลี่ยนชีวิต
เพราะการเต้นบีบอยเปลี่ยนชีวิตผม ทำให้รู้จักตัวเองมากขึ้น และได้แสดงออกอย่างถูกวิธี ตอนแรกไม่เคยคิดว่าจะเต้นได้ เพราะเมื่อก่อนอ้วนมาก แต่บีบอยได้ทำให้ผมพัฒนาตัวเอง และเรียนรู้อะไรหลายอย่างมาก จากเด็กที่ไม่เอาไหนก็หันมาสนใจตัวเองมากขึ้น และยังมีเพื่อนเพิ่มขึ้นมากอีกด้วย เป็นอีกเรื่องที่ภูมิใจในชีวิตครับ
อนาคตกับการเต้นบีบอย
ผมจะคงยังเต้นต่อไปเรื่อย ๆ ครับ เพราะว่าการเต้นเป็นการออกกำลังกาย ถือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตไปแล้ว แต่หากอายุมากขึ้นคงเต้นไม่หนักเหมือนช่วงนี้ เพราะต้องดูแลสุขภาพมากขึ้น
ปัจจุบันน้องเบนซ์ รับหน้าที่สอนเต้น บี - บอย ให้กับน้อง ๆ ที่สนใจในการเต้น ในสนามกีฬาจิระนคร ทุกช่วงเย็น เบนซ์บอกว่า มีเด็กรุ่นใหม่เข้าร่วมประมาณ 20 คน น้อง ๆ หาดใหญ่ให้ความสนใจพอสมควร ถ้าใครสนใจก็ไปที่สนามจิระนครโล้ดดด
"ป้าบ่วย" เจ้าของร้านฮับเซ่ง สภากาแฟที่ตั้งอยู่คู่เมืองเก่าสงขลาร่วม 100 ปี
25 ตุลาคม 2567 | 1,960"หมี ศุภวิชญ์" ทายาทรุ่นที่ 4 ไอติมบันหลีเฮงสงขลา ส่งตรงจากรุ่นอากงอาม่ากว่า 100 ปี
15 ตุลาคม 2567 | 2,145"โกหล่าย" ทายาทรุ่นที่ 2 ร้านตัดผมสมบูรณ์เกษาหาดใหญ่
21 สิงหาคม 2567 | 829ดอกผลของความเพียร สู่ทุเรียนสองฝนสวนบังบา สวนแรกเริ่มจัดงานบุฟเฟต์ทุเรียน(เขาพระ)
18 สิงหาคม 2567 | 455ป้าแอด หญิงแกร่งแห่งอำเภอรัตภูมิ ยึดอาชีพทำนาจนเกิดเป็นแบรนด์ข้าวสังข์หยด สบายแสนคูหาใต้
23 มิถุนายน 2567 | 918"ลุงแจ้ว"สามล้อถีบรุ่นสุดท้ายแห่งเมืองสงขลา ขี่สามล้อถีบมากว่า 59 ปีกับอาชีพที่รักและมีความสุข
13 มิถุนายน 2567 | 1,302"หลวงทุ่งจินดา" ขวัญใจเด็กสะเดา แจกนมขนมฟรี ทำมานานกว่า 17 ปี ผู้ให้ที่มีแต่ความสุข
29 เมษายน 2567 | 971"คนสงขลา" ศิษย์เก่า ม.ขอนแก่น รุ่นที่ 1หมายเลขนักศึกษา 001 คณะเกษตรศาสตร์
6 กุมภาพันธ์ 2567 | 28,081