ย้อนไปเมื่อ 70 กว่าปีก่อน เมื่อแรกตั้งเทศบาลเมืองสงขลาใหม่ๆ นั้น นอกเขตกำแพงเมืองสงขลา โดยเฉพาะด้านทิศตะวันออกของทางรถไฟ ฝั่งที่ติดกับทะเลอ่าวไทย ยังเป็นป่าป่าก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาพร้อมกับการเกิดขึ้นของสันชายหาด ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเกิดสันทราย ธรรมชาติได้สร้างชายหาดของจังหวัดสงขลาให้มีความกว้างพอเหมาะ ขณะที่น้ำขึ้นได้พัดพาทรายละเอียดมาทิ้งไว้ และเมื่อน้ำลงก็ปล่อยให้ทรายได้อาบแสงแดดร้อนแรง จนแห้งสนิท ปลิวตามลมได้
ป่าก่อตัวขึ้นบนสันทราย ผ่านกาลเวลามาเนิ่นนาน กลายเป็นระบบนิเวศที่เรียกว่า ป่าสันทรายชายหาด ในการบันทึกของพุทธพร ส่องศรี กล่าวถึงความทรงจำในตอนนั้น ลมที่พัดสม่ำเสมอตามฤดูกาล มีความแรงพอดี พัดเอาทรายแห้งปลิวมากองทับถมกันริมชายหาด วันละเล็กวันละน้อย จนกลายเป็นเนินหรือสันทรายผมจำได้ว่าเมื่อก่อนจะมีถนนชลาทัศน์เลียบริมหาดสมิหลาไปจนถึงเขาเก้าเส้งนั้น เด็กๆ จะสนุกมากกับการวิ่งไต่เนินทรายลงไปในทะเล ขากลับก็ต้องออกแรงไต่เนินทรายขึ้นมา
ป่าก่อตัวขึ้นบนสันทราย ผ่านกาลเวลามาเนิ่นนาน กลายเป็นระบบนิเวศที่เรียกว่า พระอารามหลวง ซึ่งว่ากันว่าสร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยพระอาจารย์ชัย พระภิกษุชาวเมืองกลันตันนั้น มีที่ตั้งอยู่ที่บ้านโคกเสม็ด ตามชื่อบ้านบ่งบอกสภาพภูมิศาสตร์สมัยนั้นได้ดี ตอนเริ่มสร้างวัดคงต้องหักร้างถางพง โค่นป่าเสม็ดที่ขึ้นเต็มเนินทรายอย่างแน่แท้
ถัดจากวัดชัยมงคลลงมาทางทิศใต้ไม่ไกลนัก มีวัดอีกวัดหนึ่งคือ วัดเพชรมงคล น่าจะสร้างในสมัยเดียวกัน โดยพระอาจารย์เพชร ชาวเมืองกลันตัน ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทกับพระอาจารย์ชัยนั่นเองวัดเพชรมงคล เดิมชื่อวัดโคกขี้หนอน นี่แหละแสดงว่าสร้างขึ้นบนเนินทรายที่เต็มไปด้วยป่าต้นขี้หนอน ไม้ในป่าชายหาดอีกชนิดหนึ่ง
เมื่อทางรถไฟสร้างมาถึงเมืองสงขลาในปี พ.ศ.2456 นั้น หน้าสถานีรถไฟสงขลาคงเต็มไปด้วยป่าสันทรายชายหาดกว่าจะเริ่มใช้พื้นที่สร้างสนามบินสงขลา สร้างสถานที่ราชการ สถานศึกษา ถนนทะเลหลวงและการเกิดขึ้นของชุมชนวชิรา ก็คงหลังจากนั้นหลายสิบปี
โรงเรียนวชิรานุกูลน่าจะเป็นผู้บุกเบิกยุคแรก ราวปี 2478 ซึ่งเป็นปีที่ตั้งเทศบาลเมืองสงขลา ส่วนวิทยาลัยเทคนิคภาคใต้ ซึ่งพัฒนามาเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยในปัจจุบันนั้น สร้างขึ้นในปี 2497สำหรับสถานีทหารเรือสงขลา (ฐานทัพเรือสงขลาในปัจจุบัน) นั้น สร้างเสร็จสมบูรณ์ราวช่วงปี 2510 โดยใช้พื้นที่รอบสนามบินสงขลา ซึ่งอยู่ในการปกครองของกรมการบินพาณิชย์เดิม
ร่องรอยของป่าสันทรายชายหาด ในเขตเทศบาลนครสงขลา ไม่มีเหลือให้เห็นอีกแล้ว คงต้องไปดูที่อำเภอจะนะ ทะเลที่นั่นยังมีร่องรอยของป่าสันทรายชายหาดให้เห็นอยู่บ้างตำบลตลิ่งชัน เป็นตำบลชายทะเลแห่งหนึ่งของอำเภอจะนะ ชื่อตำบลบ่งบอกถึงสภาพที่มีสันทรายก่อตัวเป็นเนินสูงชัน ก่อให้เกิดป่าสันทรายชายหาดเป็นแนวแคบ ๆ
ป่าสันทรายทอดยาวตามแนวชายฝั่งเป็นระยะทางยาวราว 20 กิโลเมตร ตั้งแต่ปากคลองนาทับไปจนถึงปากคลองสะกอม เป็นป่าปฐมภูมิ พัฒนามาตั้งแต่เริ่มมีสันทราย เต็มไปด้วยพืชที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น เสม็ดชุน หว้า ยางนา ตำเสา ตลอดจนเฟินและกล้วยไม้ป่าชนิดต่างๆ ไม่เหมือนป่าทดแทน ที่มีให้เห็นได้ทั่วไปในพื้นที่ที่ถูกบุกเบิกและปล่อยทิ้งร้าง
ขอบคุณข้อมูล: พุทธพร ส่องศรี , ขอบคุณภาพวัดชัยมงคล :ข้อมูลท้องถิ่นภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ชุมชนรังมดแดงสู่บ้านรำแดง(สิงหนคร)
20 ตุลาคม 2567 | 172ความทรงจำข้างกำแพงเมือง...182 แห่งการสถาปนาเมืองสงขลา(บ่อยาง)
20 ตุลาคม 2567 | 160ย้อนชมที่มา...ประเพณีลากพระของชาวปักษ์ใต้ "พระน้ำดูไปตามชายหลิง พระบกเพริศพริ้งบนหลิงแว็บวับ"
20 ตุลาคม 2567 | 169ตำนานศาลาทวดหัวสะพานพรุเตียว ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านในพื้นที่
22 กันยายน 2567 | 295พาชมถ้ำเขาจังโหลน 1 ในตำนานภูผา ณ อำเภอรัตภูมิ
22 กันยายน 2567 | 379ย้อนประวัติที่ฝังศพชาวฮอลันดา เมืองสงขลา
22 กันยายน 2567 | 412ชุมชนโบราณบ้านปะโอ ชุมชนเก่าแก่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์สงขลา
1 กันยายน 2567 | 547ลุ่มน้ำคลองภูมี ลำน้ำหล่อเลี้ยงและยึดโยงชีวิตของผู้คน 4 อำเภอในพื้นที่จังหวัดสงขลา
1 กันยายน 2567 | 1,597