หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

วิถีชีวิต

“รศ.พญ.มณฑิรา” นักรบชุดขาว กับบทบาทหน้าที่สู้ศึกโควิด-19 (รพ.สนามแห่งที่ 1 จ.สงขลา)
20 เมษายน 2564 | 5,302

จากกระทรวงสาธารณสุข รายงานข้อมูลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19 ที่มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว และผู้ที่ติดเชื้อส่วนหนึ่งจะเป็นผู้แพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น ทั้งที่ยังไม่มีอาการ แต่ต้องกักตัวอย่างน้อย 14 วัน พร้อมทั้งล่าสุด (20/4/64) ทราบว่าสถานการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ระลอก3 จ.สงขลา มียอดผู้ป่วยเป็นอันดับ 1 ในภาคใต้ และติดอันดับที่ 10 ของประเทศ เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยที่มีเชื้อโควิด-19 มีโอกาสแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่น ทั้งนี้ส่วนขยายโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (SCCC) หรือโรงพยาบาลสนาม ม.อ. จะเป็นที่พักรักษาและสังเกตอาการสำหรับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรง หรือไม่มีอาการ วันนี้หาดใหญ่โฟกัสจะพามารู้จัก “รศ.พญ.มณฑิรา ตัณฑนุช” นักรบชุดขาว คุณหมอเชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา แพทยสภา กระทรวงสาธารณสุข หรือที่ใครหลาย ๆ คนรู้จักในนาม รองศาสตราจารย์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่คอยดูแลทั้งผู้ป่วย ปัจจุบัน “รศ.พญ.มณฑิรา ตัณฑนุช” ดำรงตำแหน่ง รักษาการหัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ผู้บัญชาการโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ สาขา 2 โดยความร่วมมือของโรงพยาบาลในจังหวัดสงขลา และคอยให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ กับการรับมือสู้ศึกโควิด-19 ณ ศูนย์บ่มเพาะคนดี มูลนิธิสวนประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

- คุณหมอคะทางโรงพยาบาลสนามแห่งที่ 1 จ.สงขลา มีการดูแลผู้ป่วยในโรงพาบาลอย่างไรบ้างคะ 

ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองได้ โดยพื้นที่ของส่วนขยายโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ได้มีการแยกโซนต่างๆไว้อย่างชัดเจน นับตั้งแต่ส่วนของศูนย์บัญชาการ ที่คอยทำหน้าที่ประสานงาน ลงทะเบียน จัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่สัมผัสกับผู้ป่วย 

ส่วนที่ 2 คือส่วนติดต่อประสานงาน จะเป็นพื้นที่การทำงานของแพทย์และพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย ติดต่อกับผู้ป่วยผ่านกล้อง และรายงานผล 

ส่วนที่ 3 คือ ส่วนพักฟื้นผู้ป่วย มีการจัดห้องพักให้โล่งโปร่ง อากาศไหลเวียนดี สามารถทำความสะอาดได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีการแยกโซนสะอาดและโซนติดเชื้อไว้อย่างชัดเจน รวมถึงระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้มาตรฐานของโรงพยาบาล และสำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพระดับน้อย จะส่งไปรักษาในโรงพยาบาลระดับชุมชน 

ส่วนผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพในระดับค่อนข้างหนัก ก็จะส่งไปยังโรงพยาบาลหลัก เช่น โรงพยาบาลสงขลานครินทร์  โรงพยาบาลหาดใหญ่ โรงพยาบาลสงขลา เป็นต้น

- บุคคลที่ติดเชื้อแล้วมารักษาในโรงพยาบาลสนาม คุณหมอให้กักตัวกี่วันคะ แล้วแยกอย่างไรบ้างว่าบุคคลใดต้องอยู่ในโรงพยาบาล หรือโรงพยาบาลสนามคะ

ให้อยู่ในโรงพยาบาลสนาม 14 วัน นับตั้งแต่หลังวันที่ตรวจเชื้อ และจะดูตามเกณฑ์การประเมินว่าผู้ป่วยอยู่ในขั้นไหน อย่างเช่น ผู้ป่วยบางรายไม่มีอาการแต่ปอดไม่ปกติ และอาการทรุดเร็วมาก ระหว่างที่พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลสนาม ผู้ป่วยต้องดูแลตัวเองโดยการใส่แมส รักษาระยะห่างระหว่างกัน และล้างมือบ่อยๆ โดยจะมี SWAP เพื่อการวินิจฉัยหลังจากนั้นจะมี X-ray ปอดเป็นระยะๆ 5-7 วัน/ครั้ง ซึ่งโรงพยาบาลสนามจะใช้หลักการเดียวกันทั่วประเทศ คือ ผู้ป่วยอยู่ที่โรงพยาบาลสนาม 14 วัน จากนั้นเมื่อกลับบ้านไปก็จำเป็นต้องกักตัวต่ออีก 14 วัน สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าหลังจากออกจากโรงพยาบาลสนามแล้ว ก็ยังต้องดูแลสังเกตอาการตัวเองอีก

- ในการรักษา รศ.พญ.มณฑิรา มีการดูแลผู้ป่วย หรือตรวจสอบอย่างไรบ้างคะว่าบุคคลดังกล่าวไม่มีเชื้อแล้ว

เราจะให้ผู้ป่วยกักตัวและรักษาจนครบ 14 วัน ซึ่งในระยะนี้เชื้อมันจะลดจำนวนลงแล้ว โอกาสแพร่เชื้อก็จะลดลง และกักต่ออีก 30 วัน ซึ่งหลังจากหายแล้วต้องแจ้งให้ทราบก่อนว่าห้ามออกไปไหน ต้องสวมหน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อย ๆ ให้อยู่ในบ้านกักต่อจนแน่ใจว่าปกติดีแล้ว


 

- การทำงานของบุคลากรของโรงพยาบาลสนามเป็นอย่างไรบ้างคะ

เราจะใช้การทำงานเหมือนรอบแรก โดยมีการส่งของ ข้าว ยา อาหาร โดยเว้นระยะห่าง จะไม่ไกล้ชิดผู้ป่วย ใช้การวางของแทนการให้ สร้างจิตสำนึกให้กับผู้ป่วยด้วยค่ะ และคุณพยาบาลที่จะมาดูแลผู้ป่วยก็จะมาอยู่ที่โรงพยาบาลสนาม 30 วัน และจะมีการสลับสับเปลี่ยนกับไปตามหน้าที่ค่ะ

 

 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง