หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

ชุมชนโบราณสทิงพระ เป็นชุมชนสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ในภาคใต้ ทำการค้า ทั้งทางเรือและทางบก ยุคแรก ๆ รับอิทธิพลจากอินเดียและจีน
21 กุมภาพันธ์ 2564 | 5,440

อีกหนึ่งความเป็นมาของเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเมืองสงขลา ในพื้นที่สทิงพระตั้งอยู่ระหว่างอ่าวไทยและทะเลสาบสงขลา ตำบลสทิงพระ ตำบลคูขุด ตำบลบ่อดาน ตำบลบ่อแดง และตำบลกระดังงา อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนานที่ควรแก่การศึกษา

โดยมีประวัติความเป็นมาว่า ชุมชนโบราณสทิงพระ เป็นชุมชนสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ในภาคใต้ เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยชุมชนเกษตรกรรม ทำการค้า ทั้งทางเรือและทางบก ยุคแรกๆรับอิทธิพลจากอินเดียและจีน ทั้งทางตรงและทางอ้อมมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 จากการขุดค้นภายในตัวชุมชนโบราณสทิงพระพบว่าชุมชนแห่งนี้มีมนุษย์เคลื่อนย้ายเข้ามาก่อตั้งชุมชนและขยายชุมชนออกไปอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเจริญขึ้นเป็นเมืองมีอำนาจเป็นศูนย์กลางทางการปกครองท้องถิ่น ศาสนาและเศรษฐกิจ ราวพุทธศตวรรษที่ 15 - 18 และมีการติดต่อการค้าขายกับต่างประเทศด้วย

ซึ่งตัวเมืองมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทิศเหนือกว้าง 280 เมตร ทิศใต้กว้าง 305 เมตร ทิศตะวันออกกว้าง 270 เมตร และทิศตะวันตกกว้าง 275 เมตร อยู่ห่างจากอ่าวไทย 500 เมตร และห่างจากทะเลสาบสงขลา 3,500 เมตร ตัวเมืองตั้งอยู่บนริ้วของสันทรายกลาง ซึ่งเป็นสันทรายที่ใหญ่ที่สุดของคาบสมุทรสทิงพระ มีพื้นที่โค้งนูนเป็นหลังเต่าสูงกว่าพื้นที่ลุ่มที่เป็นนาประมาณ 1 - 2 เมตร มีโคกเนินและพังรอบ ๆ เมืองโบราณสทิงพระ มีคูเมืองสทิงพระ นอกจากเป็นขอบเขตชุมชนแล้ว ยังใช้เป็นเส้นทางสัญจรเชื่อมระหว่างทะเลสาบอ่าวไทย และเป็นคลองส่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรม เป็นแหล่งน้ำไว้ยามแล้งและเป็นแหล่งทำการประมง

เป็นที่ทราบกันดีว่าเคยพบหลักฐานที่ขุดพบจากการขุดค้นทางโบราณคดี คือซากโบราณสถานที่มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบอิฐประกอบหิน หรือการก่อสร้างที่มีหินเป็นรากฐานฝังรากลึกไปในดินเพื่อความมั่งคงแข็งแรง แต่วัสดุที่ใช้ส่วนอื่นที่มิใช่ฐานจะเป็นอิฐเสียส่วนใหญ่

มีหินแกรนิตแทรกอยู่บ้างเป็นส่วนน้อย และยังขุดพบเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็กทองคำ ลูกปัดแก้ว หินรัตนชาติ ภาชนะดินเผา และเศษภาชนะดินเผาปะปนอยู่มากมาย มีทั้งภาชนะดินเผาเนื้อดินธรรมดาของพื้นเมืองที่มีการตกแต่งผิวด้วยมีตัวอักษรโบราณ คือปัลลวะบนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งของจีนสมัยราชวงศ์ถัง (พ.ศ. 1161 - 1451) และภาชนะดินเผาสีเขียวไข่กาของอันนัม ซึ่งเป็นภาชนะดินเผาร่วมสมัยราชวงศ์ซ้อง (พ.ศ. 1503 - 1822) และราชวงศ์หยวน (พ.ศ. 1822 - 1911)

ขอบคุณภาพข้อมูล : ประเพณีไทยดอทคอม

เรื่องที่เกี่ยวข้อง