หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

ตำนานปฐมบท ความเป็นมาในอดีตชุมชน"บ้านคลองหวะ" หาดใหญ่
14 กุมภาพันธ์ 2564 | 6,392

บ้านคลองหวะ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาเดิมจากคำบอกเล่าของชาวบ้านเรียกว่า บ้านทุ่งที่เรียกว่า คลองหวะ เพราะเขาหวะคลองหรือ หวะ ที่ดักปลา คือ เล่ อยู่ริมคลองหวะ  คลองหวะเป็นลำธารน้ำสายหนึ่งที่ไหลลงคลองอู่ตะเภาที่ไหลขึ้นทิศเหนือออกสู่ทะเลสาบสงขลา น่าจะเป็นสายน้ำไม่กี่สายของประเทศที่ไหลจากใต้ขึ้นเหนือเช่นเดียวกับแม่น้ำคงคาของประเทศชมพูทวีป(อินเดีย)

คำว่า หวะ มีที่มาสองนัยคือ 1. การขุดเจาะที่ดินให้ทางน้ำไหลสะดวกขึ้น เพราะปิดกั้นขวางทางน้ำอยู่ ทำให้น้ำไหลไม่สะดวก มีผลต่อการทำให้น้ำท่วมขัง 2. แล่ เครื่องมือดักปลาประเภทหนึ่ง ที่ทำเป็นลำรางไม้ไผ่ยกขึ้นสูงกว่าเหนือน้ำเล็กน้อย เวลาปลาติดค้างอยู่จำนวนมาก ชาวบ้านต้องแหวกหรือหวะ ให้ไม้ไผ่แยกออกจากกัน เพื่อให้ปลาบางส่วนได้หลุดออกจากแล่  เพราะสมัยนั้นปลาในคลองหวะ มีจำนวนมากและเหลือกินเหลือใช้ ไม่มีตลาดหรือแหล่งขายรองรับ ตลอดจนการถนอมอาหารก็ยังเป็นเรื่องเกินความจำเป็น การแสวงหาอาหารสดจะเป็นเรื่องจำเป็นมากกว่า เพราะไปเมื่อไรก็มีอาหารกิน

อาจจะเป็นเพราะสมัยนั้นไฟฟ้ายังไม่มี หรือมีก็ยังไม่จำเป็นมากนัก เพราะชีวิตยังเรียบง่ายการไม่มีตู้เย็นจะทำให้ไม่ต้องหาอาหารสดมาเพื่อเลี้ยงชีพ และทำให้ชุมชนมีความสัมพันธ์มากกว่าปกติ เพราะต้องมีการติดต่อสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนสินค้ากัน คลองหวะ ในสมัยก่อนอยู่ที่หมู่ 7 ตำบลคอหงส์ ก่อนเปลี่ยนเป็นหมู่ 5 ในปัจจุบันเพราะการปรับเปลี่ยนพื้นที่บางส่วนเป็นเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ที่พัฒนามาจากเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง ไม่เคยผ่านการเป็นสุขาภิบาลอำเภอเหมือนกับหลาย ๆ แห่ง

ชาวบ้านสมัยก่อนแรกเริ่มจะมีอยู่ประมาณ 70 ครอบครัวปัจจุบันมีประมาณ 2,000 ครัวเรือน ประมาณห้าพันกว่าคนชาวบ้านมีอาชีพส่วนมากคือ ทำนา ทำสวน รับจ้างกรีดยางพารา  ซึ่งมีการปลูกก่อนหน้านี้แล้วแถวควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นสวนของคนจีน แบ่งรายได้กันอัตรา 50 : 50  เพราะเป็นยางพันธุ์พื้นเมือง น้ำยางพาราน้อย 

ใต้สะพานจะเห็นบริเวณที่ชาวบ้านบางคนเรียกว่า คลองหวะ

หรือเป็นสายพันธุ์ที่เก็บจากใต้ต้นยางพาราจากสวนอื่นหรือจากสวนยางพื้นเมืองมาเลเซีย โดยทำเป็นยางดิบแผ่นส่งขาย กลุ่มบริษัท ยิบอินซอย จำกัดที่มีศิลปินแห่งชาติคนหนึ่งคือ คุณมีเซียม ยิบอินซอยเป็นชั้นลูกหลานคนหนึ่งของตระกูลนี้ 

ตามตำนานคำบอกเล่าเรื่องของพระยารัษฏานุประดิษฐ์  ที่นำยางพารามาปลูกต้นแรกที่จังหวัดตรัง  เพื่อขยายพันธุ์หรือส่งเสริมให้ชาวบ้านรู้จักการปลูกยางพาราตามตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาว่ามีการแอบนำเข้าจากมาเลเซีย  โดยการฝังเข้าทางทวารของลูกน้องท่านจำนวนหนึ่ง  เพื่อหลีกเลี่ยงหลบการตรวจค้นของเจ้าหน้าที่รัฐมาเลย์ก่อนมาปลูกขยายพันธุ์เริ่มต้นที่จังหวัดตรังเพราะสมัยนั้นมาเลเซียปลูกยางพารามาก และเจ้าอาณานิคมอังกฤษหวงแหนสายพันธุ์มาก

ส่วนการทำนาที่คลองหวะ  จะทำนาดำทั่วไปหรือนาหว่านที่ลุ่มทำนาดำ ที่ดอนทำนาหว่าน นาดำต้องทำที่น้ำขัง และมีการตกกล้า คือ หว่านพันธุ์ข้าวไว้ เรียกว่า ตกกล้าพอได้เวลาก็ถอนต้นกล้ามาปักดำ ส่วนนาหว่าน เอาพันธุ์ข้าวแช่น้ำไว้พอเริ่มงอกราก ก็เอาไปหว่านแล้วไถกลบเรียกว่า นาหว่าน นาสับกล้า เป็นพื้นที่นาที่มีการบุกรุกป่าไม้ที่มีอยู่มากในสมัยก่อน  โดยการถางป่าแล้วโรยข้าวก่อนใช้จอบสับดินฝังข้าวลงไปให้งอกต่อไป

ส่วนบริเวณที่ตั้งมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ปัจจุบัน จะเป็นการทำนาปรัง คือปลูกได้เฉพาะข้าวหนัก  หรือข้าวพื้นเมืองพันธุ์พิเศษ ที่เวลาน้ำท่วมจะสูงมากกว่าสองเมตร สงสัยมานานว่าน้ำในคลองหวะมาจากที่ใดกันแน่จากการสอบถามครูลัพภ์ ปราชญ์ภูมิปํญญาชาวบ้านได้ความว่ามาจาก เขากลอย หนึ่งเส้น จากสถานีรถไฟนาม่วง(อำเภอนาหม่อม) ปลักธง ควนจงและจากคลองหรั่ง ทำให้คลองสายนี้มีตะกอนทรายสะสมมาก เป็นที่ต้องการของนักลงทุนที่อยากขุดทรายขายมากทั้งในอดีตและปัจจุบัน

ขอบคุณภาพข้อมูล :ravio

 

 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง