หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

กว่า 92 ปี "ป่าช้าต้นโพธิ์" เริ่มก่อสร้างในปี 2472 กับประเพณีการ “เข้าบัว” หรือ “การไหว้บรรพบุรุษ”
24 มกราคม 2564 | 8,064

หากเคยขับรถผ่านเส้นทางลงไปตลาดกรีนเวย์ เส้นโรงหลวงประธานฎร์นิกร เชื่อว่าหลายคงได้เห็นภาพของป่าช้าต้นโพธิ์กันเป็นอย่างดี ซึ่งในสมัยก่อนป่าช้าแห่งนี้ยังคงไม่มีความเจริญมากนักไม่มีการสร้างกำแพงหรือประตูเปิด-ปิด เหมือนในทุกวันนี้ แต่ก่อนผู้คนที่ขับถผ่านยามค่ำคืน มักจะเสียวหลังก็ว่าได้ แต่ในทุกวันนี้การทำให้ จัดระเบียบให้ดูสวยงาม มีการล็อกประตูหากไม่มีกิจ

บรรดาญาติ ๆ จะมารวมตัวกันที่นี่ หรือที่เราเรียกว่า ประเพณีการ “เข้าบัว” ของชาวหาดใหญ่ นหาดใหญ่แต่ครั้งอดีตนับถือศาสนาพุทธนิกายหินยานมาแต่รุ่นปู่ย่าตาทวดเป็นหลัก ด้วยเหตุนี้วัฏจักรแห่งชีวิตจึงถูกผูกมัดไว้อย่างแนบแน่นกับเรื่องราวของการดำรงชีวิตโดยยึดหลักของศาสนาเป็นแก่นแห่งวิถี จึงไม่แปลกที่มีประเพณีทางศาสนาเข้ามาข้องเกี่ยวในชีวิตประจำวันตั้งแต่เกิดจนตาย

ประเพณีการ “เข้าบัว” หรือ “การไหว้บรรพบุรุษ” ก็เช่นเดียวกันถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของคนที่นี่ เป็นประเพณีพื้นฐานในรากวัฒนธรรมพื้นถิ่น ณ ที่แห่งนี้ แนบแน่น ยืนหยัด ชอนไช สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นเรียงรายกันลงมาตามลำดับเหล่ากออย่างไม่ขาดตกบกพร่องสูญสลาย หายไปกับกาลเวลาแต่ประการใด

การเข้าบัว ณ ป่าช้าโคกโพธิ์ มักจัดกันในช่วงกลางเดือนเมษายน แต่ก็มีบ้างเหมือนกันที่ในบางครั้งจัดกันในช่วงปลายเดือนเมษายน(วัน-เวลา ในการจัดประเพณีเข้าบัวอยู่ที่การดูฤกษ์ของหมอ พระในการทำพิธี) ส่วนการเข้าบัว ณ วัดโคกนาวมักจัดหลังพิธีที่ป่าช้าโคกโพธิ์เสร็จสิ้นไปแล้วประมาณ 7 วัน โดยวันแรกของการเข้าบัวมักเป็นวันรวมญาติสายต่าง ๆ ที่กลับมาหลังเดินทางไปทำภาระกิจจากทั่วทุกสารทิศ มาพร้อมหน้าพร้อมตากัน ทำกิจกรรมร่วมกันด้วยการทำความสะอาดสุสาน ทำความสะอาดสถานที่ฝัง เก็บอัฐิบรรพบุรุษ (บัว) ร่วมกัน

ส่วนใหญ่ก็จะเป็นการล้างบัว ขัดบัว ทาสีบัวใหม่ และทำการประดับตกแต่งบัวให้มีความสวยงามที่สุดด้วยหลอดไฟขนาดเล็ก ส่องแสงระยิบระยับน่าแลมอง(โดยส่วนใหญ่ญาติพี่น้องที่มาทำความสะอาดสุสานมักเป็นคนรุ่นหนุ่มสาว-ผู้ใหญ่ โดยมีคนเฒ่าคนแก่ในตระกูลมาคอยชี้แนะ และให้กำลังใจ

หากเป็นการเข้าบัว ณ ป่าช้าโคกโพธิ์ พระที่รับกิจนิมนต์มักเป็นพระจากวัดคลองเรียน และพระจากวัดโคกนาว โดยหากขาดเหลือจากนี้ทางผู้จัดงานพิธีอาจนิมนต์พระวัดใกล้ๆมาเพิ่ม ส่วนการเข้าบัว ณ วัดโคกนาวนั้น เท่าที่ทราบพระที่รับกิจนิมนต์เป็นพระจากวัดโคกนาวเสียเป็นหลัก ในงานพิธีเท่าที่ฟังๆอยู่ทุกปีมักเป็นบทสวดโดยทั่วไป

ซึ่งมักปิดท้ายลงด้วยบทการกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ญาติพี่น้อง-บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว เสร็จสิ้นพิธีผู้จัดงานก็จะแจ้งให้ผู้มาเข้าบัวทุกท่านทราบถึงจำนวนเงินบริจาค ณ ค่ำคืนนี้ คือเงินสำหรับร่วมกันทำบุญเข้าวัดใดวัดหนึ่งเพื่อเป็นกุศลร่วมกัน ปิดท้ายด้วยการจุดประทัด ให้รู้ว่างานพิธีในค่ำคืนนี้จบสิ้นลงแล้วอย่างสมบูรณ์ (ส่วนใหญ่มักจุดประทัดในห้วงเวลาระหว่าง 20.00 – 21.30 น. แล้วแต่ว่าปีไหนเสร็จช้าหรือเสร็จเร็ว) โดยในวันรุ่งขึ้นก็จะมีพิธีกรรมทางสงฆ์ เลี้ยงพระเพล และจุดประทัดในช่วงหลังงานพิธีเสร็จสิ้น อีกครั้ง เป็นอันเสร็จพิธีเข้าบัวในแต่ละปี

ขอบคุณภาพข้อมูล : คุณาพร ไชยโรจน์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง