หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

"ถ้ำเพิง" สะบ้าย้อย หลักฐานการอาศัยของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
15 พฤศจิกายน 2563 | 6,286

ถ้ำเพิง กับประวัติความเป็นมาที่ตั้งอยู่ในตำบลคูหา ซึ่งสถานที่แห่งนี้มีที่มาพร้อมกับประวัติที่น่าสนใจ หากกล่าวไปก่อนหน้านี้ เคยมีการพบหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการอยู่อาศัยของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ บริเวณเพิงผาของถ้ำเพิง ปรากฏการประดิษบานรูปเคารพเนื่องในพุทธศาสนาบริเวณถ้ำ จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของถ้ำเพิงที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์สืบต่อมาจนถึงประวัติศาสตร์

โดยถือว่าถ้ำแห่งนี้มีส่วนสำคัญกับชาวบ้านในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี 

1. เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ถ้ำเพิง จากการขุดปรับพื้นผิวดินในอดีตพบโครงกระดูกมนุษย์จำนวน 5 โครง และกำไลเปลือกหอย และจากการศึกษาทางโบราณคดีของสำนักศิลปากรที่ 13 สงขลา ใน "โครงการศึกษาวิจัยการตั้งถิ่นฐานและการดำรงชีวิตของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์และแรกเริ่มประวัติศาสตร์ในจังหวัดสงขลาและสตูล ระยะที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2553" ได้ทำการขุดทดสอบทางโบราณคดี จำนวน 3 หลุมขุดค้น พบหลักฐานทางโบราณคดี ได้แก่

1) เป็นโครงกระดูกมนุษย์ พบจำนวน 1 โครง พบในหลุมขุดค้น TP1 เป็นโครงกระดูกของมนุษย์เพศชาย มีอายุประมาณ 25 -30 ปี โครงกระดูกหันศีรษะไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือถูกฝังในลักษณะนอนหงายเหยียดยาว พบโบราณวัตถุที่ฝังร่วมกับศพ ได้แก่ เครื่องมือหินและเศษภาชนะดินเผา

อีกทั้งยังมีหลักฐานนิเวศน์วัตถุ ได้แก่ กระดูกสัตว์ เปลือกหอย และร่องรอยกองไฟ พบพระพุทธรูปปูนปั้นและเจดีย์จำลองปูนปั้น จากการสำรวจทางโบราณคดีในอดีตพบว่าบริเวณถ้ำเพิงประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น จำนวน 16 องค์ ขนาดหน้าตักตั้งแต่ 1 ศอกคืบลงมา สภาพในปัจจุบันมีจำนวนพระพุทธรูปปูนปั้น

ซึ่งประดิษฐานบริเวณถ้ำเพิง จำนวน 5 องค์ และมีเจดีย์จำลอง 2 องค์ วางขนาบองค์พระพุทธรูปทั้งสองด้าน พุทธลักษณะของพระพุทธรูปดังกล่าวแสดงฝีมือช่างพื้นถิ่นมีพระพักตร์เรียวรูปไข่ พระเนตรเหลือบต่ำ เม็ดพระศกเป็นหนามแหลม

เรื่องที่เกี่ยวข้อง