หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

เปิดตำนาน ทหารผี สงขลา หลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า อ.ระโนด
15 พฤศจิกายน 2563 | 20,662

หากย้อนไปในปี2474 หลายคนคงไม่รู้จัก พ่อท่านปลอด  แห่งวัดหัวป่า อ.ระโนด  จ.สงขลา   ที่ชั่วอายุของท่านอยู่ในร่มกาสาวพัตร  เกือบร้อยปี บรรพชาเมื่อ พ.ศ.2459 อุปสมบท เมื่อ พ.ศ.2460 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดหัวป่า เมื่อพ.ศ.2474  ถึงพ.ศ.2536 เป็นเวลาถึง 62  ปี นับว่าเป็นการครองเจ้าอาวาสที่นานที่สุด เมื่อเทียบกับเจ้าอาวาสวัดในจังหวัดสงขลา  

ในอดีต อ.ระโนด  คืออำเภอที่ยากจนที่สุดใน  จ.สงขลา กันดารที่สุดยิ่งวัดหัวป่า ซึ่งอยู่ห่างจากตัวอำเภอเกือบ  20  กิโลเมตร ความลำบากคือนิยามของพื้นที่นี้ขุนโจรนักเลงมากมายจึงมาที่นี่เนื่องจากยากนักที่ ทางการจะตามตัวได้เท่าที่ผมจำความได้  พ.ศ.2533 

ที่คนเมืองมีมือถือใช้ที่บ้านหัวป่ายังไม่มีไฟฟ้าใช้  ไม่มีถนนคอนกรีต หรือถนนลาดยางเลย ในห้วงเทศกาลเดือนสิบผู้ที่เดินทางไปยังวัดหัวป่า จำนวนมาก มักหันหลังกลับที่บริเวณวัดบ้านใหม่ ด้วยความยากลำบากของการเดินทาง หากแดนออก  ฝุ่นแดงยังกับพายุ มองไม่เห็นสิงใดเลย หากฝนตกจะเจอทะเลโคลนบนถนน

การเป็นเจ้าอาวาส วัดหัวป่าขณะนั้น  พ.ศ.2470 จากคำบอกเล่าของญาติผู้ใหญ่  และ รศ.สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์  บอกไว้ว่าพ่อท่าน  หรือเจ้าอาวาส  ต้องทำได้ทุกอย่างและอยู่เหนือ  ทั้งตำรวจ  ทหาร  ครู  อาจารย์  ผู้ใหญ่   กำนัน  วิศวกรช่างก่อสร้าง  หมอ พ่อแม่ บางครั้งต้อง เป็น นักเลงด้วย  โดยมีกำลังหลักคือ พระธรรมคำสอนมนต์คาถา และพลังศรัทธาอันได้มาจากวัตรปฏิบัติ  และการยอมรับจากสังคม    

ด้วยความที่พ่อท่านปลอด ต้องทำหน้าที่แพทย์ไปในตัว  ขณะที่เป็นเจ้าอาวาส  ณ  เวลานั้น การเดินทางไปโรงพยาบาลที่สงขลา หรือที่ตัวอำเภอระโนด เป็นเพียงความฝันที่น้อยราย ที่จะไปถึงโรงพยาบาล และน้อยรายที่ถึงโรงพยาบาลแล้วปลอดภัยทุกเส้นทางจึงมุ่งไปที่วัดหัวป่า หาพระอาจารย์ปลอด ด้วยเป็นที่ล่ำลือว่าาท่าสามารถรักษาผู้ป่วย ด้วยว่านยาสมุนไพร  และคาถาอาคม รวมทั้งใช้พระธรรมคำสอนรักษาได้เป็นที่อัศจรรย์  ยิ่ง  และที่นี่เปิดตลอดเวลา ไม่มีวันหยุด ไม่มีค่ารักษา มีอาหารที่พัก มีทุกอย่างที่ชาวบ้านประชาชนต้องการ

เมื่อมีผู้คนจำนวนมาก ไม่สามารถเดินทางมาหาพ่อท่านปลอดได้  แต่ต้องการยาสมุนไพร ไปรักษาตัว  หรือนำติดตัว  เพื่อไว้ใช้เวลาคับขัน  พ่อท่านปลอด  จึงได้  นำว่านสมุนไพร  มารวบรวม เป็น ก้อน    ทำเป็นแท่งสี่เหลี่ยม เท่าดินสอ  เท่านิ้วชี้ แท่งชอคส์  แล้วปลุกเสกด้วยพระเวทย์  เพื่อกำกับสรรพคุณแห่งว่านยา เพื่อให้เป็นคุณวิเศษ นานเข้า เมื่อแท่งว่านยาตกทอดไปยังผู้อื่น  หรือผู้นำติดตัวไปเกิดความหลงลืม ว่าได้มาจากใหน   จึงไม่สามารถนำมาใช้ได้    กอรปกับลูกศิษย์  ลูกหา  จำนวนมาก  ต้องการมีพระเครื่อง  ไว้บูชาเพื่อระลึกถึง  องค์หลวงพ่อปลอ พ่อท่านปลอด  จึงได้จัดสร้างพระเครื่องขึ้น โดยยังบอกกับลูกศิษย์และผู้มารับพระเครื่องเสมอว่า ไว้ทำยา ซึ่งพระเครื่องที่ท่านสร้างนั้น มีส่วนผสมว่านเป็นหลัก ดังนั้นจึงเด่นนักในด้านเป็นสมุนไพร รักษาสารพัดโรค  โดยใช้เวทย์มนต์คาถา ปลุกเสกกำกับ เพิ่มพุทธานุภาพอีกด้วย

เมื่อเริ่มสร้างพระเครื่องนั้น   พ่อท่านปลอด เคร่งครัดนัก  ในมวลสารฤกษ์ยามการปลุกเสกทุกขั้นตอนท่านทำด้วยตนเอง  และศิษย์ใกล้ชิดซึ่งมีความชำนาญด้านเวทย์มนต์  ไม่เกิน 2 คน เท่านั้นครับ  ( ผมได้เจอลุงท่านหนึ่ง  มานั่งมองการสร้างพระเครื่องของวัดหัวป่าในปัจจุบัน ท่านพูดว่านี่ถ้าสมัยตาหลวงปลอด  หม้ายใครได้ขึ้นมายุ่งหรอก )  และสร้างตามคติความเชื่อตามโบราณ  คือจะต้องสร้างพระพุทธรูป หรือเทพเคารพก่อน  แล้วสร้างรูปอาจารย์ ส่วนรูปเหมือนหลวงพ่อเองนั้น  มักไม่นิยมสร้าง

ดังนั้น พระเครื่อง รุ่นแรกสุด  ของพ่อท่านปลอดที่สร้าง  ในคราวเป็นเจ้าอาวาส มาประมาณ 10  ปี คือ พ.ศ.2480 พิมพ์พระพุทธ พิมพ์พุทธกวัก  พิมพ์นางกวัก   คาดว่าน่าจะสร้างไม่เกิน พ.ศ.2480   เมื่อมีผู้นำพระเครื่องไปบูชา เกิดประสบการณ์มากมาย   เป็นที่กล่าวขวัญถึงอย่างกว้างขวาง ไม่ต้องเดินทางใกลไปที่วัดหัวป่าแล้ว  พระเครื่องชุดนี้หมดไปจากวัด  จึงมีการร้องขอให้สร้างพระเครื่องของพ่อท่านปลอดขึ้นมาอีก

พ.ศ.2480 –  พ.ศ.2483  พ่อท่านปลอด จึงสร้างพระเครื่องขึ้นมาอีกหลายครั้งโดยได้สร้างพิมพ์ถวายอาจารย์คง หรือพิมพ์หลวงพ่อคง  หรือพิมพ์ตาหลวงคง  หรือพิมพ์พ่อท่านคง ซึ่งเป็นองค์อาจารย์ของท่าน อย่างไรก็ตาม   ด้วยการสร้างพระเครื่อง  ในคราวนั้นมีจำนวนน้อย   เนื่องจากองค์พระพิมพ์หลวงพ่อคง  มีขนาดใหญ่จึงมีผู้ได้รับแจกจำนวนไม่มาก เมื่อนำไปบูชาเกิดประสบการณ์มากมายเป็นที่กล่าวขานกันไม่จบ ลูกศิษย์ลูกหา  ผู้ที่ศรัทธา  พ่อท่านปลอด จึงร้องขอให้พ่อท่านปลอดสร้างพระเครื่องขึ้นมาอีก  โดยลูกศิษย์ต้องการให้สร้างเป็นรูปเหมือน พ่อท่านปลอดเพื่อจะได้ระลึกถึงอาจารย์และลูกศิษย์บางท่าน และคนนอกพื้นที่ก็ไม่รู้จักพ่อท่านคง  ซึ่งเป็นอาจารย์ของพ่อท่านปลอดแล้ว 

พ.ศ.2484 – พ.ศ.2485    ในห้วงนี้ เป็นห้วงสงคราม  ที่ประชาชนต้องการพระเครื่องไว้เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ   เพื่อคุ้มครองป้องกันตัว  และร่วมรบในสงคราม พระเครื่องพิมพ์รูปเหมือนพ่อท่านปลอด จึงได้ก่อกำเนิดขึ้น พระเนื้อว่าน รูปเหมือน พ่อท่านปลอด ที่เรียกว่า พิมพ์เล็บมือ  หรือพิมพ์ซุ้มกอ   

ได้นำรูปพ่อท่านปลอดที่นั่งหน้าประตูโบสถ์มาเป็นแบบ  ซึ่งโค้งด้านหลังและกรอบด้านข้าง พ่อท่านปลอด ในพิมพ์เล็บมือนี้ คือประตูโบสถ์นั่นเอง นี่คือรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ ที่พ่อท่านคิดขึ้นมา ไม่ได้ลอกแบบพิมพ์มาจากไหน  การสร้างพระเครื่องในครั้งนี้  มีการสร้างตามความเชื่อแบบโบราณ  คือ  สร้างพิมพ์พระพระพุทธ  พิมพ์เทพเคารพ ( พระแม่นางกวัก  พระสังกจาย  พระฤษี ) พิมพ์ถวายอาจารย์คง พิมพ์รูปเหมือนพ่อท่านปลอด (พิมพ์เล็บมือ) 

ซึ่งในสร้างครั้งนี้พิมพ์อื่นมีการสร้างจำนวนเล็กน้อยเพื่อเป็นไปตามความเชื่อ  แต่วัตถุประสงค์หลักคือการสร้างพระพิมพ์เล็บมือ เพื่อแจกผู้เข้าร่วมรบ ในสงครามโลกที่แผ่มายังแถบอินโดจีน ทั้งนี้ ในการสร้างและปลุกเสกครั้งนี้  นอกจาก  สร้างพระ เพื่อไว้ทำยา แล้ว  พ่อท่านปลอด ยังปลุกเสก พระเวทย์ ด้านคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดอย่างดีที่สุด

ในการสร้างพระเครื่องครั้งนี้ มีผู้นำพระเครื่องที่ตนเองมี หรือเคารพนับถือ มาเป็นแบบแล้วกดด้วยเนื้อว่านของพ่อท่านปลอด นำไปบูชา จำนวนมาก บางท่าน ก็นำว่านยา มาปั้นเป็นองค์พระ หรือเป็นก้อน นำไปบูชา จึงทำให้พบเห็นพระเนื้อว่าน พ่อท่านปลอด ในหลายรูปแบบ ซึ่งต้องอาศัยที่มาและคำบอกเล่า เช่น ล้อพิมพ์พระเบญจภาคี ล้อพิมพ์พระกรุ ล้อพิมพ์พระหลวงปู่บุญ 

เมื่อมีผู้นำพระเครื่องพ่อท่านปลอดติดตัว เข้าร่วมสงคราม เกิดประสบการณ์มาก ทุกแบบพิมพ์ มีผู้นำรูปภาพ ขณะร่วมสงครามใน พ.ศ.2485 มาถวายพ่อท่านปลอด ซึ่งเมื่อก่อนจะติดอยู่บริเวณฝากุฏิของท่าน ในรูปภาพ บางท่านโดนระเบิดเสื้อผ้ากระจุยกระจาย บางท่านโดยกระสุน เสือผ้าเป็นรูพรุน บางท่านร่มไม่กาง ที่พื้นเป็นหลุมเท่าตัวคน แต่ทุกคนรอดปลอดภัย โดยจึงเป็นที่แสวงหากันอย่างมาก

ขอบคุณภาพข้อมูล : สมุดบันทึกตาหลวงปลอด วัดหัวป่า , ศูนย์พระเครื่อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง