หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

ความเป็นมาวัดน้ำกระจาย และหมู่บ้านในอดีตกาล
28 มิถุนายน 2563 | 8,414

เดิมทีสถานที่ตั้งวัดน้ำกระจายสงขลาแห่งนี้ หมู่บ้านได้มาตั้งอยู่ในบริเวณนี้ มีเส้นทางน้ำที่ไหลมาจากเทือกเขาที่อยู่ทางทิศตะวันออกเป็นทางน้ำที่ไหลรุนแรงเมื่อถึงฤดูฝน และมีน้อยๆเป็นลำธารในฤดูแล้งก็เรียกชื่อทางน้ำนี้เป็นตอนๆ เช่น คลองตั้งเตี้ย อยู่แถบสวนบนสวนตั๋วเตี้ย ต่อลงมาเรียกคลองสีเพ็ชร ต่อลงมาเป็นคลองสวนกลาง ซึ่งเลียบสวนมะพร้าวของพระยาศรีธรรมราช ต่อลงมาอีกก็เรียกคลองสวนใต้ ก็เป็นสวนมะพร้าวของพระยาศรีธรรมราช ฟากจากที่ตรงข้ามทางตะวันตกเรียกว่า คลองฟ้ารั่ว ที่ได้เรียกคลองฟ้ารั่ว ก็เพราะบริเวณนี้มีป่าใหญ่ต้นไม้ใหญ่มาก  ถ้าฝนตกก็จะตกหนักมากจริง ๆ จึงเรียกแถวนี้ว่า ฟ้ารั่ว ต่อลงมาถึงบริเวณที่ตั้งวัดพระวงอยู่นั้น เรียกตรงนี้ว่า คลองท่าตะเคียน มีทางข้ามคลองอยู่ตรงนั้นกว้างคดเคี้ยวอยู่พอสมควร เหมือนกับที่ คลองฟ้ารั่ว ที่คลองท่าตะเคียนนี้แหละ ที่เป็นที่มาของพระวง คือ เมื่อก่อนนี้เวลาฝนตกหนักในฤดูฝนน้ำฝนพัดเอาขอนไม้ และแก่นไม้ต่าง ๆ ตามน้ำมาติดอยู่ที่คลองท่าตะเคียนนี้แหละ จะเป็นแก่นไม้อะไรไม่ทราบแต่มีลักษณะแปลก ๆ

คือที่ขอนไม้อันนั้นมีลักษณะตรงกลางเหมือนมือโอบออกมาข้างหน้าคล้ายมือพระอุ้มบาตร ชาวบ้านจึงยกขึ้นมาตั้งไว้บนตลิ่งริมทางเดิน ต่อมาชาวบ้านจึงปลูกศาลามุงจากริมทางข้างคลองและยกขอนไม้นั้นขึ้นมาไว้บนศาลามุงจาก และตั้งอยู่นานมากจนกลายเป็นที่นับถือบูชาของชาวบ้าน มีความศักดิ์สิทธิ์ บนบานไว้ก็รับได้ผล ต่อมาก็ได้นำมาประดิษฐานไว้ในวัดซึ่งเดี๋ยวนี้เรียกว่า วัดเก่า ต่อมาก็สร้างเป็นคล้ายศาลา ขนาดใหญ่ขึ้น และเอาขอนไม้ศักดิ์สิทธิ์ เข้าไว้ก่อเป็นรูปพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน โอบไว้จะเป็นเวลานานเท่าไรไม่ทราบได้แต่ก็คงจะระหว่าง พ.ศ.2240-พ.ศ.2300 เพราะในปี 2300 เป็นปีที่ตั้งวัดน้ำกระจายปัจจุบัน

ซึ่งเรื่องราวความเป้นมาของวัดแห่งนี้ มีความว่า พระวง เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ ประดิษฐานอยู่ ณ บริเวณวัดเก่าบ้านน้ำกระจาย หมู่ที่ 2 ตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา สันนิษฐานว่าพระวงน่าจะสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ราวปี พ.ศ.2240 - พ.ศ.2300 พระวงเป็นพระพุทธรูปที่มีความขลังและศักดิ์สิทธิ์มาก เล่าต่อกันมาว่า พระวงเดิมเป็นแก่นไม้มีลักษณะตรงกลางเหมือนมือคนโอบออกมาข้างหน้าคล้ายพระอุ้มบาตรที่ลอยน้ำมาติดคุ้งที่คลองท่าตะเคียนช่วงน้ำหลากในฤดูฝน ชาวบ้านจึงนำมาไว้บนตลิ่งและได้สร้างศาลามุงจากขึ้น เกิดปาฏิหาริย์ในความศักดิ์สิทธิ์ ด้วยความเลื่อมใสศรัทธา

ต่อมาชาวบ้านจึงร่วมมือร่วมใจสร้างศาลาขนาดใหญ่มีความคงทนถาวรขึ้น นำเอาขอนไม้ศักดิ์สิทธิ์เข้าไว้ ก่อเป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนโอบไว้ นับจนถึงปัจจุบันได้มีการปฏิสังขรณ์พระวงขึ้น 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 พ.ศ.2470 สร้างวิหารไม้หลังคามุงกระเบื้อง เสาไม้ตั้งบนเสาปูนก่ออิฐเป็นชั้น ๆ ขึ้นมาราว 60 ซ.ม. ครั้งที่ 2 พ.ศ.2522 โดยพระครูสุชิตกิจจาธร เจ้าอาวาสวัดน้ำกระจายในสมัยนั้น ชื่อของพระวงชาวบ้านจะนิยมเรียกว่า “พ่อเจ้าคุณ” ที่มาของชื่อไม่มีใครสามารถบอกได้ รู้แต่ว่ามีการเรียกต่อๆกันมาจากคนรุ่นอดีต ในช่วงสงกรานต์เดือนเมษายน หลังจากชาวบ้านร่วมกันสรงน้ำพระพุทธรูป พระสงฆ์ในวัดน้ำกระจายแล้ว ก็จะพากันมาร่วมสรงน้ำพระวงที่วัดเก่าพระวงเป็นประจำทุกปี พระวงจึงเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านตั้งแต่รุ่นอดีตจนถึงปัจจุบันกราบไหว้บูชายึดเหนี่ยวเป็นที่พึ่งทางจิตใจร่วมกัน

มีการเล่าต่อจากรุ่นสู่รุ่นว่า ได้มีไม้ลอยน้ำมาเป็นลักษณะคล้ายพระพุทธรูป ซึ่งชาวบ้านได้สร้างศาลาการเปรียญเพื่อเก็บรักษาพระพุทธรูปไว้บูชาและเมื่อเวลาชาวบ้านไปเกษตรกรก็จะกราบไหว้ ส่วนในบริเวณ วัดเก่าบ้านน้ำกระจาย หมู่ที่ 2 ตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา   

โดยหมู่บ้านได้มาตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นอยู่นี้ มีเส้นทางน้ำที่ไหลมาจากเทือกเขาที่อยู่ทางทิศตะวันออกเป็นทางน้ำที่ไหลรุนแรงเมื่อถึงฤดูฝน และมีน้อยๆเป็นลำธารในฤดูแล้งก็เรียกชื่อทางน้ำนี้เป็นตอนๆ ชุมชนบ้านน้ำกระจายเติบโตอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป ความเจริญเริ่มเข้าสู่พื้นที่น้ำกระจายมากขึ้น เมื่อมีการตัดถนนแยกไปสะพานติณสูลานนท์ทางหลวง408 เชื่อมถนนสงขลา-ปัตตานีและตัดถนนสงขลา-หาดใหญ่สายใหม่จนกลายเป็นห้าแยกน้ำกระจายที่มีการจราจรคับคั่งที่สุดในสงขลา

ขอบคุณภาพข้อมูล : คุณซัมวดี OK Nationblog

 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง