ก่อนอื่นขอกล่าวให้ทราบถึงความเป็นมาของชื่อตำบลคอหงส์ หรือเขาคอหงส์ อันเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเสียก่อน สาเหตุที่ตำบลนี้ถูกขนานชื่อว่า คอหงส์ นั้น ประวัติเดิมหาที่มาไม่แน่นอน บางเสียงกล่าวไว้ว่า เมื่อประมาณร้อยปีเศษมาแล้วมีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อว่า พระหนอน ซึ่งประจำ ณ วัดศาลาหัวยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ได้ไปก่อเจดีย์องค์หนึ่งและมีรูปหงส์ล้อมทั้งสี่ทิศไว้บนเขาคอหงส์ปัจจุบันนี้ ต่อมาชาวบ้านจึงขนานชื่อที่นี้ว่า “เจดีย์เขากอหงส์” จึงถูกตัดออกเรียกสั้นๆว่า “กอหงส์”แต่สำเนียงพื้นเมืองเรียกคำว่า “ก่อหงส์” เป็น “คอหงส์”ตลอดมาจนปัจจุบันนี้ ซึ่งขณะนี้เจดีย์และรูปหงส์บนเขาคอหงส์ได้สลักหักพังไปตามสภาพคงเหลือแต่ซากวัตถุก่อสร้างพอที่จะเชื่อถือได้ ด้วยเหตุนี้ตำบลคอหงส์แห่งนี้จึงถูกขนานชื่อโดยปริยายว่า “ตำบลคอหงส์” อันสืบเนื่อมาจากประวัติเขาคอหงส์นั่นเอง
พื้นที่ที่ตั้งหน่วยทหารค่ายคอหงส์ในปัจจุบันนี้ ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นที่ตั้งโรงเรียนตำรวจหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ตั้งแต่ พ.ศ. 2479 จนถึง พ.ศ. 2482 เมื่อทางราชการกระทรวงกลาโหมมีความจำเป็นที่จะต้องขยายกิจการทหารไปทางภาคใต้เป็นการด่วน กระทรวงกลาโหมจึงได้ทำการตกลงกับกระทรวงมหาดไทยขอรับมอบที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดในบริเวณโรงเรียนตำรวจหาดใหญ่
เพื่อใช้ในราชการกองทัพบก โดยกองทัพบกได้คิดราคาค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในราคาทุนให้แก่กรมตำรวจ เป็นเงิน 100,487.11 บาท (หนี่งแสนสี่ร้อยแปดสิบเจ้ดบาทสิบเอ็ดสตางค์) ซึ่งกองทัพบกได้รับมอบกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากกรมตำรวจเสร็จเรียบร้อย เมื่อวันที่ 17 นี่งแสนสี่ร้อยแปดสิบเจ้ดบาทสิบเอ็ดสตางค์ ซึ่งกองทัพบกได้รับมอบกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากกรมตำรวจเสร็จเรียบร้อย เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2482
ต่อมาใน 19 มีนาคม 2502 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงได้เสด็จเข้ามาเยี่ยมค่ายทหารนี้ และในการพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่บรรดาทหารและครอบครัว มีข้อความตอนหนึ่งว่า “ขอให้ ค่ายเสนาณรงค์ จงมีความเจริญรุ่งเรืองต่อไปชั่วกาลนาน” ดังนั้นนามของค่ายซึ่งกรมทหารราบที่ 5 ได้ของขนานนามไว้จึงน่าจะเป็นการเรียนกันได้ว่า “ค่ายเสนาณรงค์” ตามพระราชดำรัสขององค์พระประมุขได้ตลอดไป
ค่ายเสนาณรงค์ ได้จัดตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2482 มีที่ตั้งอยู่ ณ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และบริเวณหน้าค่ายมีศาลเจ้าพ่อคอหงส์ ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ มีทั้งข้าราชการทหาร ครอบครัว ตลอดจนประธานให้ความเคารพนับถือกันมาก โดยมีตำนานเล่าขาน ถึง พ่อขุนพลายดำ ซึ่งเป็นแม่ทัพนายกองทหาร ซึ่งปกครองอาณาบริเวณแถบภูเขาคอหงส์ เป็นที่เคารพนับถือของราษฎรทั่วไป จนเป็นตำนานเล่าขาน แต่เดิมชาวบ้านเรียกว่าทวดต้นไทร เพราะมีต้นไทรใหญ่ปกคลุม ผู้มีความทุกข์ร้อนหากได้ไปบนบานกับเจ้าพ่อคอหงส์ แล้วจะประสบความสำเร็จตามที่ขอเสมอ
ขอบคุณภาพข้มูล : มณฑลทหารบกที่ 42 ค่ายเสนาณรงค์
ชุมชนรังมดแดงสู่บ้านรำแดง(สิงหนคร)
20 ตุลาคม 2567 | 172ความทรงจำข้างกำแพงเมือง...182 แห่งการสถาปนาเมืองสงขลา(บ่อยาง)
20 ตุลาคม 2567 | 160ย้อนชมที่มา...ประเพณีลากพระของชาวปักษ์ใต้ "พระน้ำดูไปตามชายหลิง พระบกเพริศพริ้งบนหลิงแว็บวับ"
20 ตุลาคม 2567 | 169ตำนานศาลาทวดหัวสะพานพรุเตียว ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านในพื้นที่
22 กันยายน 2567 | 295พาชมถ้ำเขาจังโหลน 1 ในตำนานภูผา ณ อำเภอรัตภูมิ
22 กันยายน 2567 | 379ย้อนประวัติที่ฝังศพชาวฮอลันดา เมืองสงขลา
22 กันยายน 2567 | 412ชุมชนโบราณบ้านปะโอ ชุมชนเก่าแก่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์สงขลา
1 กันยายน 2567 | 547ลุ่มน้ำคลองภูมี ลำน้ำหล่อเลี้ยงและยึดโยงชีวิตของผู้คน 4 อำเภอในพื้นที่จังหวัดสงขลา
1 กันยายน 2567 | 1,597