ประวัติโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลาเดิมเป็นสถานีอนามัยชั้น 2 ตั้งอยู่ตลาดสุขาภิบาล
พ.ศ. 2511 เป็นสถานีอนามัยชั้น 1 ตั้งอยู่ที่เดิม เป็นศูนย์การแพทย์และอนามัย เป็นรพ.อำเภอขนาด 10 เตียง
พ.ศ. 2527 เป็นรพ.ขนาด 30 เตียง ที่แห่งใหม่
พ.ศ. 2527 วันที่ 12 ก.ย. สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระ-ราชดำเนินทรงเปิด รพ.นาทวีและพระราชทานนาม รพ.ใหม่เป็น "โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา"
พ.ศ. 2535 ยกฐานะเป็นรพ.ขนาด 60 เตียง แบบพึ่งพาตนเอง
โรงพยาบาลนาทวี แต่เดิมเป็นสถานีอนามัยชั้นสองประจำอำเภอนาทวี ตั้งอยู่ในบริเวณตลาดสุขาภิบาล อำเภอนาทวี เป็นที่ราชพัสดุ มีเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน เศษ ในปี พ.ศ.2511 ได้รับงบประมาณก่อสร้างสถานีอนามัยชั้น 1 งบประมาณที่ได้รับนี้เป็นงบประมาณสร้างสถานีอนามัยชั้น 1 อำเภอ ระโนด ทดแทนอาคารเดิม แต่ทางระโนดไม่สามารถที่จะนำไปก่อสร้างได้ เนื่องจากไม่มีผู้ประมูล เพราะค่าขนส่งในสมัยนั้นแพงมาก นายแพทย์บูรพา จันทสูตร นายแพทย์อนามัยจังหวัด ได้พิจารณาเห็นว่าถ้าจะส่งเงินคืนก็เสียประโยชน์ไปเปล่า ๆ จึงได้นำงบประมาณนั้นมาก่อสร้างที่อำเภอนาทวี ได้เปิดดำเนินการเมื่อปลายปี พ.ศ.2512 มีเตียงรับผู้ป่วยภายใน 10 เตียง โดยในระยะแรก นายแพทย์บูรพา จันทสูตร ได้มาปฏิบัติราชการ สัปดาห์ละ 1-2 วัน ต่อมาเดือนพฤษภาคม2514 นายแพทย์วิศิษฏ์ ตันนุกิจ ได้เข้ามาทามการรับตำแหน่ง และได้เปลี่ยนชื่อจากสถานีอนามัยชั้น 1 เป็นศูนย์การแพทย์และอนามัย และเป็นโรงพยาบาลขนาด 10 เตียงตามลำดับ
ในปี พ.ศ. 2523 ทานพระครูสังฆรักษ์ สายัณห์ (สมณศักดิ์ ขณะนั้น) ได้ดำริจะสร้างโรงพยาบาลขนาด 10 เตียงขึ้นเพื่อทูลเกล้าถวาย สมเด็จพระบรมราชินีนาถเนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ 4 รอบ ที่ตำบลประกอบ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ความทราบถึงกระทรวงสาธารณะ ทางกระทรวงจึงได้หารือมายังจังหวัดสงขลา เกรงว่าถ้าสร้างเสร็จแล้วจะหาแพทย์ พยาบาล และบุคลากรอื่นๆไปอยู่ยาก เพราะเป็นพื้นที่ที่อยู่ชายแดน มีประชากรน้อยและอยู่ห่างจากตัวอำเภอถึง 23 กิโลเมตร กอร์ปกับทางโรงพยาบาลนาทวีเดิมก็ได้ทำโครงการขอขยายเป็นโรงพยาบาล 30 เตียง ในที่แห่งใหม่เป็นที่ดินราชพัสดุ เนื้อที่ 30 ไร่ห่างจากตัวอำเภอ ประมาณ 2 กิโลเมตร หรือห่างจากโรงพยาบาลอำเภอเดิม ประมาณ 1.5 กิโลเมตร
นายแพทย์เล็ก มโนมัยอุดม นายแพทย์สาธารณสุขขณะนั้น ได้มาเจรจากับท่านพระครูสังฆรักษ์ สายัณห์ ที่ วัดในวัง อำเภอนาทวี ตกลงได้ความว่า ท่านพระครูสังฆรักษ์สายัณห์ ยินยอมจะหาเงินบริจาคสบทบกับงบประมาณของทางราชการก่อสร้างโรงพยาบาล 30 เตียง ขึ้น เพื่อทูลเกล้าถวายสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสพระชนมายุครบ 4รอบ สำหรับที่เก่า ที่ตำบลประกอบ จะสร้างเป็นสถานีอนามัยประจำตำบลแทน
ทาง ด้านพระครูวินัยธรชยันต์ (สมณศักดิ์เดิม พระครูสังฆรักษ์สายัณห์) ก็ได้ร่วมกับพ่อค้า ประชาชน และข้าราชการ จัดหาเงินบริจาคสร้างตึกคนไข้ 30เตียง ขึ้น โดยมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดราชผาติการาม เป็นองค์ประธาน ฝ่ายศาสนจักร และคุณบุญเลิศ ลาภาโรจน์กิจ ผู้จัดการบริษัทบ้านซูซูกิ หาดใหญ่ เป็นประธานฝ่ายอาณาจักร ได้ประชุมคณะกรรมการจัดหาทุนกันหลายครั้ง หลังจากนั้นก็ได้กราบทูลเชิญสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกเสด็จทรง ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2526 เวลา 14.49 น.ตึกคนไข้ 30 เตียง ได้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2526 สร้างแล้วเสร็จเมื่อปลายเดือนเมษายน 2527 ในปี พ.ศ. 2527 วันที่ 12 ก.ย. สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระ-ราชดำเนินทรงเปิด รพ.นาทวีและพระราชทานนามรพ.ใหม่เป็น รพ.สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา? พ.ศ. 2535 ยกฐานะเป็นรพ.ขนาด 60 เตียง แบบพึ่งพาตนเอง ทำให้โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ อำเภอนาทวี มีศักยภาพในการรองรับการบริการผู้ป่วยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแก่ประชาชน เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
ในปัจจุบันอำเภอนาทวีซึ่งได้รับการพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบทั้งในด้านเศรษฐกิจ และ สังคม ทำให้อำเภอนาทวีเกิดการขยายตัวทางการพัฒนาเพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลให้มีการเพิ่ม ขึ้นของประชากรในพื้นที่สูงขึ้นเช่นกัน โรงพยาบาลสมเด็จฯนาทวี ตระหนักในคุณประโยชน์แห่งการพัฒนาเหล่านั้น จึงได้จัดให้มีแผนพัฒนาด้านสุขภาพในอันที่จะรองรับศักยภาพความเปลี่ยนแปลง ของจำนวนผู้รับบริการของโรงพยบาลที่เพิ่มสูงมากขึ้น โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อก่อสร้างอาคารหอผู้ป่วยในอีกจำนวน 60 เตียง พร้อมกับเพิ่มจำนวนบุคลากรด้านการดูแลรักษาผู้ป่วยทุสาขาวิชาชีพ ซึ่งจะทำให้มีศักยภาพในการเป็นโรงพยาบาลขนาด 90 เตียงที่สามารถรองรับและบริการผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด
ขอบคุณภาพข้อมูล : โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ อำเภอนาทวี
ชุมชนรังมดแดงสู่บ้านรำแดง(สิงหนคร)
20 ตุลาคม 2567 | 172ความทรงจำข้างกำแพงเมือง...182 แห่งการสถาปนาเมืองสงขลา(บ่อยาง)
20 ตุลาคม 2567 | 161ย้อนชมที่มา...ประเพณีลากพระของชาวปักษ์ใต้ "พระน้ำดูไปตามชายหลิง พระบกเพริศพริ้งบนหลิงแว็บวับ"
20 ตุลาคม 2567 | 169ตำนานศาลาทวดหัวสะพานพรุเตียว ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านในพื้นที่
22 กันยายน 2567 | 295พาชมถ้ำเขาจังโหลน 1 ในตำนานภูผา ณ อำเภอรัตภูมิ
22 กันยายน 2567 | 379ย้อนประวัติที่ฝังศพชาวฮอลันดา เมืองสงขลา
22 กันยายน 2567 | 412ชุมชนโบราณบ้านปะโอ ชุมชนเก่าแก่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์สงขลา
1 กันยายน 2567 | 547ลุ่มน้ำคลองภูมี ลำน้ำหล่อเลี้ยงและยึดโยงชีวิตของผู้คน 4 อำเภอในพื้นที่จังหวัดสงขลา
1 กันยายน 2567 | 1,597