หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

สงขลา "ชื่ออำเภอในร.ศ.113"
31 พฤษภาคม 2563 | 6,633

ชื่ออำเภอในเมืองสงขลา ท่านเคยสงสัยไหมว่ามีการตั้งมาจากชื่ออะไร และมาจากไหน แบ่งเขตยุบรวมมาเป็นแบบปัจจุบัน มีความเป็นมาอย่างไร มาดูรายชื่ออำเภอต่างๆในยุค ร.ศ.113 ที่ปรากฎในรายงานของพระสฤษดิ์พจกรณ์ ในราชการตรวจตามเสด็จตรวจแหลมมลายูในพระราชอาณาเขต ดังนี้

 

"รายชื่อบ้าน จำนวนครัวเรือน และวัด ที่มีในแขวงต่างๆ ซึ่งสังกัดมืองสงขลา ที่ปรากฎในเอกสาชุดนี้ ไม่ปรากฏชัดว่าจัดทำขึ้นเมื่อใด แต่พอจะรู้ได้ว่าต้องทำขึ้นก่อน พ. 2440 เพราะบรรดาศักดิ์ของนายอำเภอ และการแบ่งเขตที่ปรากฎนี้เป็นแบบการปกครองของเมืองสงขลาที่ใช้อยู่ก่อนการปฏิรูปการปกครองเป็นแบบที่มีมณฑล คือ

 

ก่อนปี พศ.2450 เมืองสงขลาแบ่งแขวงเมือง เป็น 15 ส่วน เรียกว่า"อำเภอ" คือ(1) อำเภอคลัง(2) อำเภอเมือง(3) อำเภอนา(4) อำเภอวัง (5)อำเภออจะทิ้งพระ (6) อำเภอพะโคะ(7) อำเภอระโนฏ(8) อำเภอจะนะ (9)อำเภอพะวง(10) อำเภอวังชิง(11) อำเภอพะตง(12) อำเภอกำรำ(13) อำเภอกำแพงเพชร (14) อำเภอรัตภูมิและ(15) อำเภอพะเกิด เอกสารนี้ส่วนใหญ่สอดคล้องกับอำเภอต่างๆ ที่กล่าวมา เช่น อำเภอคลัง ตรงกับที่อำภอหลวงคลัง อำเภอจะทิ้งพระ ตรงกับ อำเภอหลวงสิทธิประการ อำภอพะวง ตรงกับ อำเภอหลวงอภัยทิพักษ์ อำเภอการำ ตรงกับ อำเภอหลวงนุชิตภัดดี แต่มีบางอำเภอที่สับสนกันในเรื่องเขตแดน เช่น เขตปกครองของหลวงระโนฏ ล่วงข้ามาในเขตอำเภอพะโคะ

 

(ดูจากตัวเอกสาร) การที่เป็นเช่นนี้ชวนให้สงสัยว่า อาจจะเป็นไปตามเบบที่พระยาวิเชียรคีรี (ชม) เจ้าเมืองสงขลา ให้มีการปรับเมื่อปลายปีร.ศ 112 (พ.ศ.2463) ดังที่พระสฤษดิ์พจนากรณ์รายงานไว้ในรายงานที่ว่าด้วยการตรวจราชการแหลมมลายูในพระราชาอาณาเขตรศ. 113ข้อ 303 คุณค่าที่สำคัญของเอกสารชุดนี้คือ ทำให้เห็นสภาพลสังคมและชุมชนในเมืองสขลาในดนั้น เช่น จะเห็นว่าในขณะที่บ้านระโนดในขณะนั้นมีจำนวนเรือนถึง 16 เรือน ขณะเดียวกันนั้นที่บ้านหาดใหญ่มีพียง 4 เรือนเท่านั้น เหล่านี้เป็นต้น

จากจำนวนความหนาแน่นของครัวเรือนและชุมชนแสดงให้เห็นว่า เมืองที่ใหญ่สมัยก่อนต้องเป็นเมืองที่ติดทะเลหรือแม่น้ำ เพราะการขนส่งทางน้ำในสมัยก่อนสะดวกที้สุด จนเมื่อยุคถนนหนทางสะดวกลักษณะเมืองท่าจึงเปลี่ยนไปตามแหล่งผลิตและการคำนวนต้นทุนเป็นสำคัญกว่าต้องใกล้ท่าเรือ

 

ขอบคุณภาพข้อมูล : สมุดภาพมหาวชิราวุธ , ตำหนักเขาน้อยมรดกแห่งอุปราชสงขลา , หนังสือพระราชทานเพลิงศพ นายวัชระ กบิลกาญจน์

เรื่องที่เกี่ยวข้อง