หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

เล่าประวัติสงขลาฝั่งบ่อยาง
15 มีนาคม 2563 | 13,464

หลังจากบทความก่อนหน้านี้ที่เราพาคุณผู้อ่านไปทำความรู้จักกับเหตุการณ์ของสงขลาฝั่งแหลมสนกันแล้ว ครั้งนี้เราจะมาเริ่มกันต่อในช่วงของการขยายเมืองจากฝั่งแหลมสน ทำให้ปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดเพื่อการอุปโภคบริโภค ทวีความรุนแรงมากขึ้น ประกอบกับพื้นที่บริเวณสงขลาฝั่งแหลมสน เป็นพื้นที่ลาดชันเชิงเขาทำให้เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของเมืองรวมถึงอาจเป็นอุปสรรคของการขยายตัวเป็นเมืองท่าในอนาคต ซึ่งจากลักษณะทางภูมิศาสตร์น่าจะเป็นข้อได้เปรียบแต่เนื่องจากมีพื้นที่ในแนวราบไม่เพียงพอ จึงทำให้เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) ไปตั้งเมืองสงขลาใหม่ที่ตำบลบ่อยาง (สถานที่ปัจจุบัน) ตั้งแต่พ.ศ.2379

ซึ่งเมืองใหม่ที่สร้างขึ้น ก็ยังคงรักษาความเป็นเมืองท่าไว้อย่างเดิม โดยในเบื้องต้นของการสร้างเมือง เจ้าพระยาคีรี (เถี้ยนเส้ง ณ สงขลา) ได้เริ่มสร้างป้อม กำแพงเมืองยาว1,200เมตร และประตูเมืองสิบประตู ตั้งแต่ พ.ศ. 2379 หลังจากนั้นจึงได้วางหลักเมือง (ไม้ชัยพฤษ์พระราชทาน) และสมโภชน์หลักเมืองในปีพ.ศ.2395 และเรียกบริเวณพื้นที่นี้ว่า “เมืองสงขลาฝั่งบ่อยาง” ก่อนที่เจ้าพระยาคีรี (เถี้ยนเส้ง) จะถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2408

ถัดจากนั้น "เจ้าพระยาคีรี" ลำดับต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองสงขลา และได้ดำเนินการพัฒนาสงขลาในลักษณะเมืองกันชนระหว่างเมืองปัตตานีซึ่งเป็นเมืองมุสลิมที่อยู่ทางตอนใต้ของสงขลา และเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นเมืองพุทธศาสนิกชนโดยเมืองสงขลาได้อยู่ภายใต้การปกครองของสายสกุล ณ สงขลา ซึ่งมีนายเหยียง แซ่เฮา เป็นต้นสกุลรวมเจ้าเมืองสายสกุล ณ สงขลาที่ปกครองเมืองสงขลาบ่อยาง ดังนี้

ลำดับที่ 1. พระยาวิเชียรคีรี  ( เถี้ยนเส้ง ณ สงขลา) พ.ศ. 2360–2390 ผู้เริ่มสร้างเมืองสงขลา บ่อยาง
ลำดับที่ 2. พระยาวิเชียรคีรี  (บุญสัง ณ สงขลา) พ.ศ.2390 – 2508
ลำดับที่ 3. พระยาวิเชียรคีรี  (เม่น ณ สงขลา)  พ.ศ.2508– 2427
ลำดับที่ 4. พระยาวิเชียรคีรี  (ชุ่ม ณ สงขลา)  พ.ศ.2472– 2431
ลำดับที่ 5. พระยาวิเชียรคีรี  (ชม ณ สงขลา) พ.ศ. 2431– 2439

 

หลังจากพระยาวิเชียรคีรี (เม่น ณ สงขลา) ได้เป็นเจ้าเมืองสงขลาได้ประมาณปีเศษ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้เสด็จราชดำเนินมายังเมืองสงขลา และได้พระราชทานเงินบางส่วนเพื่อบูรณะเจดีย์ บนยอดเขาตังกวน และรับสั่งให้สร้างวิหารแดง ระหว่างปี พ.ศ. 2437-2439 เมืองสงขลาได้เปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้ปฏิรูปการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล โดยตั้งมลฑลนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และหัวเมืองแขกอีกเจ็ดเมือง โดยมี พระวิจิตร (ปั้น สุขุม) ลงมาเป็นข้าหลวงพิเศษว่าการมณฑลนครศรีธรรมราช ซึ่งตำแหน่งที่ตั้งอาคารที่ว่าการอยู่ที่เมืองสงขลาบ่อยาง และลดบทบาทเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมืองซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นสุดยุคการปกครองแบบเจ้าเมืองไปด้วย ทั้งนี้เจ้าเมืองคนสุดท้ายในสายสกุล ณ สงขลา ที่ปกครองเมืองสงขลามามากกว่าแปดรุ่น

ต่อมาประเทศไทยได้ปรับเปลี่ยนการปกครองอีกหลายครั้งจนกระทั่งในปี พ.ศ.2475 หลังการปฎิวัติรัฐบาลได้เปลี่ยนแปลงระบบการปกครองโดยยกเลิกระบบเดิมทั้งหมด และยกระดับสงขลาขึ้นเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย สงขลาจึงมีเรื่องราวประวิติศาสตร์มากมายขมวดได้ 3 ยุค อาจจะเนิ่นนานกว่านี้ จึงทำให้การถ่ายทอดทางศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมสืบต่อกัน และเป็นสิ่งสำคัญที่คนสงขลารุ่นหลังควรภูมิใจและช่วยกันดูแลมาจนถึงทุกวันนี้ 

ขอบคุณภาพข้อมูล : Aey Sungsuwan , ประวัติเมืองสทิงพระหนังสือศิลปวัฒนธรรม , อ.วุฒิชัย เพรชสุวรรณ , สมุดภาพมหาวชิราวุธ

 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง