หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

เล่าเรื่อง หลักเมืองสงขลา 178 ปีผ่านมา
23 กุมภาพันธ์ 2563 | 16,455

วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักหลักเมืองสงขลา ซึ่งเชื่อว่ายังมีใครอีกหลายคนอาจจะยังไม่ทราบเรื่องราวความเป็นมาเวลารวม ๆ ว่าผ่านมาแล้วกี่ปีตามในการฝังหลักเมืองสงขลา หลักเมืองสงขลา มีอายุกว่า 178 ปี หากนับตามวันเวลาฝังไม้หลักเมือง ไม่ใช่ยุดตามอายุไม้หลักเมือง เนื่องจากไม้เดิมที่ได้รับพระราชทาน ชำรุดทรุดโทรม ไปตามกาลเวลา เรามาเริ่มเรื่อง สร้าง ฝังหลักเมืองกันก่อน ตามบันทึกและเรื่องราวในหนังสือ ที่ระลึกคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร จังหวัดสงขลา ดังนี้

หลังจากปราบกบฎไทรบุรีแล้ว ในพ.ศ.2385 ปีขาล จัตวาศก ศักราช 1205 ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ส่งไม้ชัยพฤกษ์หลักชัยมาพระราชทานแก่พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ให้ปักหลักชัยเมื่องสงขลาและโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระอุดมบปิฎก เป็นประธานสงค์ พร้อมต้วยพระฐานานุกรมเปรียญ 8 รูป กับพระราชครูอัษฎาจารย์พราหมณ์เป็นประธาน กับพราหมณ์ 8 นาย ออกมาประกอบพิธีในการฝังหลักชัยเมืองสงขลา พระยาสงขลา (เถียนเส้ง) ให้จัดการทำเป็นโรงพิธีใหญ่ขึ้นในกลางเมืองสงขลา คือหน้าศาลเจ้าหลักเมือง ถนนนางงามและตั้งโรงพิธีสี่ทิศ คือ ที่ป้อม 4 มุมเมือง

1. ป้อมไพรีพินาศ 2.ป้อมพิฆาตข้าศึก 3.ป้อมพิลึกอำนาจ 4.ป้อมป้องกันศัตรู และได้ให้จัดกระบวนแห่เป็นที่ครึกครี้นเอิกเกริกพิธีวางหลักชัยประจำเมือง ได้ฤกษ์วัน ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 4 ปีชวด จักวาศก 1204 เวลาเช้าโมงหนึ่งอีกกับ 10 นาที (ตรงกับวันศุกร์ที่10 มีนาคม 2385 เวลา 7.30 น.)ได้มีการมหรสพสมโภชหลักชัยประจำเมือง อีก 5 วัน 5 คืน เสร็จ แล้วพระยาสงขลา( เถี้ยนเส้ง) จัดเรือสำเภาลำหนึ่งส่งพระราชาคณะกับพระราชครูอัษฎาจารย์พราหมณ์เข้าไป ณ กรุงเทพ แล้วได้ให้ช่างก่อตึกคร่อมหลักเมืองไว้ สามหลัง เป็นตึกจีน กับศาลเจ้าเสื้อเมืองไว้หนึ่งหลังด้วย 

ศาลหลักเมืองนี้จึงอยู่คู่เมืองสงขลามาตราบจนทุกวันนี้ และเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองสงขลา ตามความเชื่อของชาวสงขลาเชื้อสายจีน ได้มีการอัญเชิญองค์เทพศักดิ์สิทธ์ ช่วยปกปักษ์รักษาเมือง..เป็นองค์เจ้าพ่อหลักเมือง มีชื่อว่า " เซ่งห๋องเหล่าเอี๋ย" มาประดิษฐานไว้ตั้งอยู่ด้านหลังของหลักเมือง โดยจะมีงานสมโภชขึ้นเป็นประจำปีในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี         

ขอบคุณภาพข้อมูล : คุณเอ๋Aey Sungsuwan , ฐานข้อมูลท้องถิ่นภาคใต้ สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง