หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

เปิดประวัติ ที่มาตำบลพะตง ในอดีตถึงปัจจุบัน
5 กุมภาพันธ์ 2563 | 13,049

ใครเคยได้สัญจรผ่านเส้นทางนี้ เพื่อมุ่งหน้าไปยังอำเภอสะเดา ทุกคนมักคุ้นกับชื่อป้ายข้างทางว่า ตำบล "พะตง" บ้านพะตง แม้แต่โรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์ หรือพะตงวิทยามูลนิธิ แล้วในที่นี้มีใครเคยสงสัยไหมว่า ประวัติเรื่องราวของที่นี่มีความเป็นมาอย่างไรกันบ้าง ? ถ้าคุณยังไม่ทราบลองเปิดใจอ่านบทความนี้ไปพร้อม ๆ กัน ซึ่ง "พะตง" เป็นชื่อของตำบล เรียกชื่อตามพื้นที่ของตำบล ซึ่งมีลำคลองไหลผ่านหลายสาย มีพืชที่ขึ้นอยู่ริมฝั่งคลองอย่างหนาแน่นตลอดลำคลอง คือ "ไผ่ตง" เมื่อแบ่งเขตการปกครองเป็นตำบลจึงได้ชื่อว่า "ตำบลไผ่ตง" และได้เพี้ยนมาเป็น "ตำบลพะตง"จนถึงปัจจุบันนี้

 

โดยประวัติ ตำบลพะตงปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์ของเมืองสงขลาเป็นครั้งแรก โดยถูกบันทึกในคำฟ้องของเจ้าพระยานคร (พัฒน์) ต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราข ในปี พ.ศ.2334 ว่าที่ตำบลพะตงกับตำบลบ้านการำ อยู่ในแขวงเมืองไทรบุรี (ในสมัยนั้นเมืองไทรบุรีขึ้นกับนครศรีธรรมราช) แต่พระยาสงขลา(บุญฮุย) กราบบังคมทูลว่าที่ตำบลพะตง การำ เป็นเขตแดนเมืองสงขลามาแต่เดิม ท้องที่ดังกล่าวจึงรวมเข้าเป็นแขวงขึ้นกับเมืองสงขลาตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ทำให้สันนิษฐานได้ว่าตำบลพะตงน่าจะมีประชาชนตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนมาก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

 ตำบลพะตง หาดใหญ่ เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในอดีต โดยในปี พ.ศ. 2318 เมื่อเกิดเหตุการณ์กบถเมืองไทรบุรี กองทัพไทยใช้หาดใหญ่เป็นแนวป้องกันเมืองสงขลา และพัทลุงจากการโจมตีของกบถเมืองไทรบุรี ปรากฎในพงศาวดารเมืองสงขลา เรียบเรียงโดยพระยาวิเชียรคีรี (ชม) กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ว่า "พระยาสุนทรารักษ์(บุญสงข์)ช่วยราชการเมืองสงขลา แต่งให้ขุนต่างตากุมไพร่ 500 คน ไปตั้งค่ายมั่นรักษาอยู่ที่ "พะตง" ที่การำริมเขตแดนเมืองไทรบุรี

 ภายหลังจากการก่อกบถของเมืองไทรบุรีสิ้นสุดลง การติดต่อระหว่างสงขลากับไทรบุรีเพิ่มมากขึ้นจนเส้นทางหาดใหญ่ พะตง พังลา ปริก และสะเดา กลายเป็นเส้นทางข้ามคาบสมุทรที่สำคัญ ในปี พ.ศ. 2405 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าให้สร้างถนนติดต่อระหว่างเมือง สงขลา เมืองไทรบุรี ทำให้เมืองต่าง ๆ

ซึ่งตั้งอยู่บนถนนสายดังกล่าวเริ่มมีการรวมตัวจัดตั้งเป็นชุมชนขนาดใหญ่ตามเส้นทาง พระสฤษดิ์พจนกรณ์ ได้บันทึกไว้ใน "รายงานว่าด้วยการตรวจแหลมมลายูในพระราชอาณาเขต ร.ศ. 113 (พ.ศ. 2437)" ว่าขณะนั้นเมืองสงขลา แขวงเมืองแบ่งเป็น 15 ส่วน  เรียกว่าอำเภอ ได้แก่ อำเภอคลัง อำเภอเมือง อำเภอนา อำเภอวัง อำเภอจะทิ้ง อำเภอพะโคะ อำเภอระโนด อำเภอจะนะ อำเภอพะวง อำเภอวังชิง "อำเภอพะตง" อำเภอการำ อำเภอกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ และอำเภอพะเกิด ต่อมา พระยาวิเชียรคีรี(ชม) เจ้าเมืองสงขลาเห็นว่ากรมการในเมืองสงขลามีมาก ไม่มีประโยนช์อันใดจึงได้ยกเลิกนายอำเภอเสีย ในช่วงยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ทำการกำนันตำบลพะตงตั้งอยู่บริเวณบ้านควนเนียง ซึ่งอยู่ห่างจากที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลพะตงในปัจจุบัน ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 3 กิโลเมตร

ในปี พ.ศ. 2452 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชโองการให้ก่อสร้างสายทางรถไฟสายใต้เชื่อมต่อกับมาเลเซีย โดยในช่วงที่ผ่านมาพื้นที่ตำบลพะตงได้มีการก่อสร้าง "สถานีรถไฟศาลาทุ่งลุง"ขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2454 ที่บริเวณบ้านทุ่งลุง ห่างจากถนนกาญจนวนิชในทางทิศตะวันออกประมาณ 200 เมตร เมื่อมีผู้คนมาตั้งบ้านเรือนเพิ่มมากขึ้น  "พระอธิการมาก ติสสโร" หรือ "หลวงพ่อสีมาก" พระภิกษุที่ได้รับความเคารพนับถืออย่างสูงจากประชาชนทั่วไป เห็นว่าพื้นที่บริเวณบ้านทุ่งลุงยังไม่มีวัด หลวงพ่อสีมากจึงได้ก่อสร้างวัดทุ่งลุงขึ้น เป็นแหล่งกราบไหว้ยึดเหนี่ยวจิตใจชาวบ้านพะตง-ทุ่งลุงมาจนถึงปัจจุบัน

ขอบคุณภาพข้อมูล : เทศบาลตำบลพะตง

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง