หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

ประวัติความเป็นมาหมู่บ้าน "น้ำน้อย"
2 กุมภาพันธ์ 2563 | 15,061

บ้านน้ำน้อย ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอหาดใหญ่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ ประมาณ 10 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดสงขลาประมาณ 30 กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศ  มีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาและเป็นที่ราบทุ่งนา พื้นที่ลาดเชิงเขา 

การตั้งถิ่นฐาน  ชาวบ้านบ้านน้ำน้อย เล่าว่าบ้านน้ำน้อย อาจจะมีราษฎรเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่แล้วในสมัยกรุงศรีอยุธยา  ซึ่งหลักฐานที่ปรากฏคือ  พระพุทธรูปทองคำล้วน พระพุทธรูปที่พบมีที่มาที่ไปคือ มีพระรูปหนึ่งได้นิมิตร ว่ามีเทวดาองค์หนึ่ง มาบอกว่า จะมีพระพุทธรูปทองคำแท้ผุดขึ้นเหนือผิวน้ำ บริเวณในลำคลองน้ำน้อยข้างวัดน้ำน้อยนอก จากนั้นพระภิกษุรูปดังกล่าว ท่านก็ ได้เดินทางไปยังสถานที่ ที่เทวดาท่านหนึ่งได้บอก   เมื่อไปถึงก็ได้เห็นเศียรพระพุทธรูปลอยโผล่ผิวน้ำขึ้นมาเป็นเวลาสั้น ๆ และกลับจมหายไปในน้ำอีก

นามบ้านถิ่นฐาน เดิมบ้านน้อยมีชื่อเรียกว่า “บ้านน้ำย้อย” เพราะมี  น้ำย้อยมาจากรากของต้นทุเรียนอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดลำธารเล็ก ๆ ไหลผ่านตัดหมู่บ้านลงไปยังลำคลอง  ต่อมาทางราชการได้ชื่อใหม่ว่า “บ้านน้ำน้อย “ ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน 

อาชีพของชาวบ้าน เมื่อประมาณ 30-40 ปี มาแล้ว ชาวบ้านน้ำน้อยส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพทำนา ทำปีละ 2 ครั้ง นอกจากนี้ยังทำสวนปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ในหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่งยัง มีโรงสีข้าว 3 โรง ได้แก่ โรงสีข้าววัดกลาง (หมู่ 1) โรงสีข้าวบ่อสวนแตง (หมู่ 2) และโรงสีข้าวน้ำน้อยใน (หมู่ 3) นอกจากอาชีพทำนา ทำสวนชาวจีนบ้านน้ำน้อย ยังประกอบอาชีพตีเหล็ก  มีโรงตีเหล็ก ตีมีดที่บ้านตก หากในปัจจุบันโรงตีมีดได้เลิกกิจการไปเพราะ ไม่ผู้สืบทอด จนมาถึงเมื่อประมาณ (พ.ศ.2556) 

 การหายไปของหมู่บ้านชาวน้ำน้อย ต่อมามีโครงการบ้านจัดสรร (หมู่บ้านชวนชื่น) ทำให้นายหน้าต่างก็กว้านซื้อที่ดินของชาวบ้าน ทำเป็นบ้านจัดสรรขึ้นมา ช่วงนั้นชาวบ้านพากันขายที่ดิน และหันไปประกอบอาชีพเป็นลูกจ้าง และมีอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้หมู่บ้านชาวนา คือ โรงงานอุตสาหกรรม ปลากระป๋อง เข้ามาตั้งบริเวณใกล้ชุมชนเมื่อประมาณ พ.ศ. 2534 ทำให้ชาวบ้านหันไปประกอบอาชีพในโรงงานอุตสาหกรรม กันเพิ่มมากขึ้นและผลกระทบจากการตั้งโรงงานคือโรงงานมีการปล่อยน้ำเสียลงในคลองน้ำน้อย ซึ่งส่งผลให้ปลาในลำคลองลดจำนวนลงไปมาก 

มีการสร้างถนนเข้าหมู่บ้านให้ไปมาหาสู่กันสะดวกเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ในปี (พ.ศ. 2544) ชาวนาน้ำน้อยหันมาปลูกยางพารา เพราะราคายางพาราดี  อีกทั้งยังมีการถมที่นาเพื่อสร้างบ้านเรือน สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ทำให้พื้นที่นาค่อย ๆ หายไป  คนน้ำน้อยรุ่นหลัง ๆ ส่วนหนึ่งพากันออกไปทำอาชีพในสังคมสมัยใหม่ เช่น ทำงานในโรงงานอุตสหกรรม รับจ้างขับวินมอไซค์  ขายของชำตามบ้านเรือน ฯลฯ ทำให้การเป็นอยู่และความสัมพันธ์ของคนในหมู่บ้านอยู่กันแบบต่างคนต่างอยู่เช่นเดียวกับหมู่บ้านแบบสังคมเมืองทั่วไป

ขอบคุณภาพข้อมูล : oknation.nationtv.t

 

 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง