หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

ย้อนเรื่องวันที่ 8 ธันวาคม 2484 เรื่องราวประวัติศาสตร์ไทย ครั้นเมื่อญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกประเทศไทย รวมถึงอ่าวไทยทางภาคใต้
8 ธันวาคม 2562 | 7,824

วันนี้ 8 ธันวาคม 2562 ได้เกิดเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่เกิดในวันนี้ แต่อยู่ในปี พ.ศ 2484 เมื่อญี่ปุ่นส่งกำลังพลเข้ารุกรานไทยในหลายพื้นที่ชายทะเลของไทยได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไทยจำเป็นต้องเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเวลาถัดมา แม้ว่าเบื้องต้นเมื่อครั้งที่อังกฤษและฝรั่งเศสประกาศสงครามกับเยอรมนีในเดือนกันยายน พ.ศ. 2482 อันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยจะประกาศ “วางตัวเป็นกลางอย่างเคร่งครัด” ก็ตาม 

อย่างไรก็ดีการวางตัวเป็นกลางของไทยมิได้หมายความว่าไทยปฏิเสธการใช้กำลัง เพราะเมื่อฝรั่งเศสเพลี่ยงพล้ำตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ให้กับเยอรมนี รัฐบาลชาตินิยมของไทยในสมัยนั้นก็เริ่มเคลื่อนไหวเพื่อที่จะยึดเอาดินแดนลาวและกัมพูชาที่ตกอยู่ภายใต้ความครอบครองของฝรั่งเศสมาเป็นของไทย ทำให้ “ญี่ปุ่น” ซึ่งเข้ามามีอิทธิพลอยู่ในอินโดจีนเข้ามาไกล่เกลี่ย และฝรั่งเศสได้ยอมมอบดินแดนบางส่วนให้กับไทยในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2484

โดยเดินทัพเข้าไทยทั้งทางบกและทางทะเลด้านอ่าวไทย 7 จังหวัดภาคใต้คือ สมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา และปัตตานี เพื่อขอผ่านไปตีพม่าและมลายูของอังกฤษ จนเกิดปะทะกับ ทหาร ตำรวจและยุวชนทหารไทย ซึ่งได้ต่อสู้อย่างดุเดือด ในที่สุดรัฐบาลไทยโดยจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม ได้ประกาศอนุญาตให้ทหารญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศได้

ณะที่ทางภาคใต้และอรัญประเทศมีการต่อสู้ต้านทานอย่างหนัก โดยวีรกรรมในวันนั้นที่เป็นที่กล่าวขวัญยกย่องเกิดขึ้นสองที่ ที่หนึ่งคือที่จังหวัดชุมพร เมื่อญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกและนัดรวมพลยังสะพานท่านางสังข์ เพื่อมุ่งเข้าสู่ตัวเมืองชุมพร หลวงจรูญประศาสน์ (จรูญ คชภูมิ) ข้าหลวงประจำจังหวัดชุมพร เมื่อได้ทราบข่าวการยกพลขึ้นบกของทหารญี่ปุ่นราว 6 นาฬิกา 30 นาที จึงสั่งให้ พันตำรวจตรีหลวงจิตการุณราษฎร์ ผู้กำกับการตำรวจภูธร และร้อยเอก ถวิล นิยมเสน ผู้บังคับหน่วยฝึกยุวชนทหารที่ 52

จัดกำลังไปต้านทานกองทัพญี่ปุ่นที่จะเข้ามาทางปากน้ำชุมพร ในเวลาประมาณ 7 นาฬิกา 15 นาที โดยร้อยเอก ถวิล นิยมเสน ได้เคลื่อนย้ายกำลังออกปฏิบัติการ โดยแบ่งกำลังออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เดินทางมุ่งไปรักษาเส้นทางอ่าวพนังตัก ส่วนที่ 2 เคลื่อนย้ายโดยรถยนต์บรรทุกตามเส้นทางชุมพร-ปากน้ำไปสะพานท่านางสังข์ โดยทั้งสองหน่วยนั้นมีกำลังพลรวมกันประมาณแล้วเพียง 40 นาย อีกทั้งยุวชนทหารทั้งหมดที่เข้าการรบ เป็นยุวชนทหารชั้นปีที่ 2 และกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เท่านั้น

ต่อมาในวันที่ 9 ธันวาคม ได้มีการเรียกประชุมวิสามัญของสภาผู้แทนราษฎรเป็นการด่วนเพื่อที่รัฐบาลจะได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ทางรัฐบาลได้ยินยอมให้ญี่ปุ่นผ่านประเทศไทย เพื่อไปมาเลเซีย สิงคโปร์ และพม่า “เพราะไม่มีทางจะต่อสู้ต้านทานกำลังกองทัพญี่ปุ่นได้จึงยอมตามคำขอ” 

ถึงแม้จุดจบของการรบจะไม่ลงเอยด้วยชัยชนะเหมือนดั่งประวัติศาสตร์สงครามในแบบเรียน แต่จากรายละเอียดของการสู้รบ ก็ไม่ได้ทำให้เกียรติภูมิของผู้ที่เข้าร่วมรบในวันนั้น ถูกลดทอนคุณค่าลงแต่อย่างใด ควรที่เราผู้เป็นอนุชนคนรุ่นหลัง จะตระหนักถึงความกล้าหาญและเสียสละ ที่คนเหล่านั้น ผู้ซึ่งเป็นเพียงทหาร ตำรวจ ยุวชนทหาร และราษฏรชาวบ้านธรรมดา ได้กระทำเอาไว้ เพราะไม่ว่าจะแพ้หรือชนะ ทุกคนล้วนแต่สู้รบด้วยความรักชาติและสมควรได้รับการยกย่องเป็นวีรชน ไม่น้อยหรือยิ่งหย่อนกว่าผู้ใดในหน้าประวัติศาสตร์ชาติไทยเช่นกัน

ขอบคุณภาพข้อมูล : www.gqthailand.com , www.silpa-mag.com

 

 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง