หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

"ตึกฟักทอง" อาคารหน้าตาแปลกที่สร้างมาให้คล้ายผลฟักทอง และตำนานเล่าขานปากต่อปาก
8 ธันวาคม 2562 | 9,893

หากให้หยิบยกเรื่องราวแห่งอาคารสถาปัตยกรรมแห่งหนึ่งของ ม.อ. หาดใหญ่ ใครจะรู้ว่าการตั้งใจออกแบบถ่ายทอดผลงานชิ้นนี้ให้ออกมานั้นให้เหมือนลูกฟักทองหรือเปล่า แต่หลายเสียงจากผู้คนที่พบเห็น ต่างเปล่งเสียงเป็นเสียงเดียวกันว่านี่แหละ "ตึกฟักทอง" สร้างในปีพ.ศ. 2510  เลยกลายมาเป็นตึกที่คุ้นหน้าคุ้นตากันดีภายในม.อ. หลาย ๆ คนจะไม่นิยมเรียกว่าตึกวิทย์ แต่จะเรียกว่าตึกฟักทองทุกเวลา แม้แต่จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์เด็ก ๆ มักจะพูดว่า "เดี๋ยวเราไปตึกฟักทองกันนะ อยู่ตึกฟักทอง ทำนองนี้"

ซึ่งตึกฟักทองเองยังคงมีชื่อที่เป็นทางการหลังจากที่ก่อตั้งเสร็จ เรียกกันว่า "อาคารศูนย์ปาฐกถาประดิษฐ เชยจิตร" เพื่อเป็นเกียรติแก่ ศาสตราจารย์ ดร.ประดิษฐ เชยจิตร คณบดีคนแรกของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ค ซึ่งท่านเป็นผู้หนึ่งที่ได้ร่วมงานกับศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข ในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้มาตั้งแต่เริ่มแรก (มหาวิทยาลัยภาคใต้ ต่อมาได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า สงขลานครินทร์)  และที่สำคัญตึกฟักทองของคณะวิทยาศาสตร์เป็นอาคารหลังแรก ๆ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

 อาคารปาฐกถาประดิษฐ เชยจิตร (ตึกฟักทอง) เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก รูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ กล่าวคือ มีรูปร่างคล้ายผลฟักทองที่มีกลีบทั้งหมด 25 กลีบพื้นที่ใช้สอยชั้นล่างเป็นที่หน่วยกิจการนักศึกษาสมาคมนักศึกษาเก่าหน่วยอาคารสถานที่ และหน่วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) พื้นที่ใช้สอยชั้นบนแบ่งเป็นห้องบรรยาย 5 ห้อง คือห้องบรรยาย L1 ความจุ 500 ที่นั่ง และห้องบรรยาย L2-L5 ความจุห้องละ 300 ที่นั่ง

ทั้งนี้ อาคารปาฐกถาประดิษฐ เชยจิตร (ตึกฟักทอง) ได้รับการดูแลจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ในฐานะประวัติศาสตร์ของคณะ นอกจากนั้นยังมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นด้วยตัวเองและเป็นเหมือนตัวแทนของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ช่วงปลาย (Late Modernist Architecture) ที่ได้รับความนิยมทั่วโลกในช่วงเวลาร่วมสมัยกัน

ทั้งรูปร่างที่น่าจดจำและสังเกตเห็นได้ชัด ที่นี่ก็กลายเป็นแลนมาร์คหนึ่งในการถ่ายรูปที่ดีนั่นเอง และอีกอย่างที่ใครหลายคนคงเคยได้ยินกันมาบ้างนั่นก็คือ ตำนานที่เล่าขานกันรุ่นต่อรุ่นจากพี่สู่น้อง โดยเชื่อว่าใครหลายคนคงคุ้นชินกับเรื่องเล่านี้เป็นอย่างดี โดยตำนานที่เล่ากันมีอยู่ว่า หากนักศึกษาคนใดไปตั้งหน้าตั้งตาให้ความสนใจในการนับกลีบของตึกฟักทองว่ารวมแล้วมีกี่กลีบ อาจจะทำให้เรียนไม่จบ หรือน้อง ๆ จากมัธยมปลายที่เตรียมตัวในการอ่านหนัวสือสอบเพื่อเข้ามหาลัย ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ยังมีเรื่องเล่าต่ออีกว่าหากน้อง ๆ คนใด นั่งอ่านหนังสือดึก ๆ จู่ ๆ ก็จะมีคนเดินเข้ามาติวหนังสือให้แล้วหายไป (หากใครไม่เชื่อไปลองก็ได้)

โดยเรื่องราวทั้งหมดมีการเล่าต่อกันอีกเรื่องคือ ว่ากันว่ามีอาจารย์ท่านหนึ่งเคยเสียชีวิตลงที่ห้องนั้น ทางคณะก็เลยไว้อาลัยให้ด้วยเปลี่ยนม่านเป็นสีดำ (ใครเรียนอยู่ที่นั่น ว่างๆ ลองไปเดินสำรวจดูนะ โดยจะมีห้องหนึ่งม่านสีต่างจากห้องอื่นจริงๆ) ใต้ตึกฟักทองนี่ก็ตำนานเยอะพอตัวเลยครับ ทั้งว่าหากไปอ่านหนังสือวิชาเคมีตอนดึกๆ แล้วจะมีวิญญาณอาจารย์วิชาเคมีที่เสียไป มาสอนพร้อมสมุดปกสีแดง (และเคยมีคนเห็นเห็นควันลอยออกมาจากเสาไม้)

ถือเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมอย่างมาก สำหรับผลงานการออกแบบของคุณอมร ศรีวงศ์ ด้วยความคิดที่ก้าวไกลไม่จำกัดหรือยึดกรอบเดิม กล้าเลือกที่จะทำในสิ่งใหม่ ๆ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่นตึกฟักทองแห่งนี้ ทำให้นักศึกษา และผู้สอนมีความรู้สึกว่า ไม่ได้อยู่เพียงแค่ห้องสี่เหลี่ยมแบบเดิม และเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมและเรียนรู้อย่างไม่รู้จบ

เรียบเรียง : หาดใหญ่โฟกัส

 

 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง