หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

เรื่องเล่าจากสุสานสุลต่านสุลัยมาน ต. หัวเขา อ. สิงหนคร จ.สงขลา
10 พฤศจิกายน 2562 | 18,871

สุลต่านสุลัยมาน(ชาห์) เป็นบุตรชายคนโตของท่านโมกอลล์ ซึ่งอพยพครอบครัวจากเมืองสาเลห์ (ชวาภาคกลาง) โดยทางเรือมาตั้งหมู่บ้านที่ตำบลหัวเขาแดง ริมทะเลปากอ่าวสงขลา ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ในประมาณปีพ.ศ. 2145 สมเด็จพระเอกาทศรถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เป็นข้าหลวงผู้สำเร็จราชการนครสงขลา และดำรงตำแหน่งนี้จนถึงปี พ.ศ. 2163 จึงถึงแก่อสัญกรรม

ท่านสุลัยมานจึงขึ้นครองนครสงขลาแทนบิดาในปี พ.ศ. 2163 ในฐานะผู้สำเร็จราชการนครสงขลา ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม ต่อมาในปีพ.ศ. 2173 เจ้าพระยากลาโหมศรีสุริยวงศ์ ปราบดาภิเษกเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ปราสาททอง ทรงพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง" (ครองราชย์ พ.ศ. 2173-2199) ท่านสุลัยมานเห็นว่ามิใช่เป็นการสืบราชสันตติวงศ์ตามกฎมนเฑียรบาล จึงประกาศแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา และได้ประกาศเป็นรัฐอิสระตั้งแต่ปี พ.ศ. 2173

ย้อนไปเมื่อประมาณ 400 กว่าปี ในสมัยของพระเจ้าแผ่นดินนามว่าเอกาทศรถแห่งอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ได้มีดาโต๊ะโมกอลล์แห่งกรุงยอกยากาต้า (เกาะชวา อินโดนีเซีย) หลบภัยจากการล่าอาณานิคมของชาวฮอลันดา มาจอดรถ ณ หัวเขาแดงแห่งนี้ เพราะเห็นว่ามีชัยภูมิที่ดีจึงตกลงสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยพร้อมบริวาร

ซึ่งในปี พ.ศ. 2148 ดาโต๊ะ โมกอลล์ ได้ถวายตัวสวามิภักดิ์ต่อสมเด็จพระเอกาทศรถ และในเวลาต่อมาพระองค์ได้แต่งตั้ง ดาโต๊ะ โกมอลล์ เป็นข้าหวลงสำเร็จราชการเมืองสิงขรา ท่านมีบุตรอยู่ 2 คนด้วยกันคือ สุลัยมาน  และฟารีซี และมีบุตรีหนึ่งคนคือฟาติมะห์  ด้วยชื่อเสียงในฐานะเป็นเมืองท่าเทียบเรือจากนานาประเทศที่หมุนเวียนมาจอดพักหลบมรสุม  เมืองสิงขรา  หรือเมืองชิงกอรา  ได้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว  ภายหลังดาโต๊ะ  โมกอลล์  ล่วงลับแล้ว  บุตรชายคนโตคือสุลัยมานได้สืบทอดตำแหน่งแทนบิดา  จนมีอำนาจเหนือเมืองใต้ในแถบนี้

และในปี พ.ศ. 2172 สมัยพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยาทรงพระนามว่า พระเจ้าปราสาทอง ภายในแผ่นดินมีการแย่งชิงราชสมบัติ เป็นเหตุทำให้ท่านสุลัยมานประกาศอิสระภาพ และสถาปนาตนเองขึ้นเป็นสุลต่าน ผู้นำแห่งรัฐสิงขรานคร เมื่อในปี พ.ศ. 2185 พร้อมกับสร้างป้อมปราการและกำแพงรอบเมืองให้ดูมีความมั่นคงและแข็งแรงมากขึ้น แม้แต่กองทัพแห่งกรุงศรีอยุธยาจะยกทัพมาตี ก็ต้องพา่ยแพ้กลับไปทุกครา ครั้นเมื่อถึงวาระสุดท้าย สุลต่านได้ล่วงลับไปในปี พ.ศ. 2211 รวมอายุได้ 76 ปี โดยได้ประกอบพิธีฝังศพ ณ สุสานหาดทรายใกล้เขาแดงนี้เอง และผู้ที่มาสืบทอดต่อจากสุลต่านสุลัยมาน ก็คือบุตรชายองค์ใหญ่ นามว่า มุสตาฟา ในช่วงปี พ.ศ. 2211-2223 ซึ่งอยู่ในสมัยของพระเจ้าแผ่นดินพระนามว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราช 

ในเวลาต่อมารัฐสิขรานคร ได้ถูกปราบปรามลงเป็นเมืองขึ้นตรงต่อการปกครองของสยามประเทศดังเดิมแล้ว บุตรชายทั้งสามของท่านสุลต่านสุลัยมาน ก็ต่างแยกย้ายกันไปรับราชการสนองพระเบื้องยุคลบาทพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงสยามสมัยอาณาจักรศรีอยุธยา คือ มุสตาฟา ในเวลาต่อมาได้เป็น พระยาศรีวิชัยสงครา , ฮุสเซน  ต่อมาได้เป็น  พระยาจักรี  เจ้าเมืองพัทลุง , ฮัสวัน  ต่อมาได้เป็น  พระยาบังสันแม่ทัพเรือ 

ในสายตระกูลสุลัยมานที่มีบทบาทสำคัญยิ่งคือ  เจ้าพระยาพัทลุงคางเหล็ก ( ขุน )  เท้าความถึงแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา  พระยาพัทลุง  ผู้บิดาพาบุตรชายชื่อขุนไปถวายตัวเป็นมหาดเล็ก  มีเพื่อนรุ่นเดียวกันอีก  3 คน รวมเป็น 4 คน ดังนี้ คือ  สินต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช , ทองด้วงต่อมาคือสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ( รัชกาลที่ 1 ) บุญนาคต่อมาเป็นเจ้าพระยามหาเสนา ต้นตระกูลบุญนาคในปัจจุบัน , และขุน รับราชการอยู่ร่วมกับสินเป็นหนึ่งใน 500 คนที่ร่วมตีฝ่าวงล้อมแหกค่ายทหารพม่าออกมารวมพลต่อสู้กับกองทัพพม่าจนได้รับอิสรภาพภายใน 7 เดือน 

 

และเมื่อบิดา คือพระยาพัทลุงล่วงลับแล้ว  ขุนจึงได้สืบตำแหน่งแทนเป็นพระยาแก้วโกรพพิชัย และเป็นต้นตระกูล  ณ พัทลุง นับเป็นสายตระกูลสุลัยมานท่านหนึ่งที่มีบทบาทร่วมกอบกู้เอกราชชาติไทยกลับคืนมาหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งท้ายสุดในปี พ.ศ. 2310  นั้นเอง

ขอบคุณภาพข้อมูล : GoToKnow โดยดร. อุทัย เอกสะพรึง รูปส่วนหนึ่งจาก : สุสานหลวงสุลต่านสุลัยมานชาห์ และราชนิกุล

 

 

 

 

 

 

 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง