วันที่ 13 ตุลาคม เวียนวนมาอีกรอบในของทุก ๆ ปี ย้อนไปวันพฤหัสที่ 13 ตุลาคม นับเป็นวันที่ประชาชนคนไทยต่างมีความรู้สึกเศร้าโศกกันทั้งประเทศ เมื่อสำนักพระราชวังออกแถลงกาณณ์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จสวรรคตเมื่อเวลา 13.52 น. นับเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ที่คนไทยมิอาจลืมวินาทีนั้นได้ เพราะพระองค์จะทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นศูนย์รวมดวงใจคนไทยทั้งประเทศ
โดยการนี้เรามีเหตุการณ์และภาพรำลึกถึงความรุ้สึกในวันนั้นกัน เริ่มจากสำนักพระราชวังได้ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 38 ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2559 เรื่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ มาประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช พสกนิกรชาวไทยจากทั่วทุกสารทิศพร้อมใจแต่งกายสวมเสื้อสีชมพูและสีเหลือง เดินทางมาที่บริเวณศาลาศิริราช 100 ปี ร่วมกันสวดมนต์โพชฌังคปริตร เพื่อถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์ และต่างพร้อมใจกันเปล่งเสียง "ทรงพระเจริญ" จนดังกึกก้องไปทั่ว
บรรยากาศในช่วงของเวลา 5 โมงเศษ ๆ บรรยากาศที่ศาลารพ.ศิริราช โดยตั้งแต่ช่วงเช้า พสกนิกรไทยพร้อมใจกันมาสักการะสวดมนต์ ตั้งจิตอธิษฐานต่อหน้าพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อถวายพระพรชัยมงคลให้พระองค์ทรงหายจากอาการพระประชวรโดยเร็ว ภายในรพ.มีการเปิดเพลงที่เกี่ยวกับพ่อที่ขับร้องโดยศิลปินชื่อดังมากมาย
ในช่วงเวลาประมาณ 14.20 น. สำนักพระราชวังมีการประกาศงดลงนามถวายพระพร พร้อมทั้งขอให้ประชาชนนับร้อยคนเคลื่อนย้ายออกจากศาลาฯ บรรยากาศรอบตัวเริ่มหม่นหมอง ประชาชนเริ่มภาวนาในใจอย่างเงียบ ยังคงมีเพียงเสียงสวดมนต์ที่กลับมาดังกึกก้องอีกครั้ง เพราะประชาชนเริ่มเดินทางกันมาเยอะมากขึ้น วินาทีนี้เอง 18.37 น. ปาฏิหาริย์ไม่มีจริงอีกต่อไป เมื่อสำนักพระราชวังถลงการณ์ เรื่อง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร สวรรคต โดยระบุว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปประทับรักษาพระอาการประชวร ณ โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พุทธศักราช 2559 ตามที่สำนักพระราชวังได้แถลงให้ทราบเป็นระยะนั้น แม้คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาอย่างใกล้ชิดจนสุดความสามารถ แต่พระอาการประชวรยังคงทรุดหนักลงตามลำดับ และเสด็จสวรรคตด้วยพระอาการสงบ ณ โรงพยาบาลศิริราช เวลา 15 นาฬิกา 52 นาที ของวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559 สิริพระชนมพรรษาปีที่ 89 ทรงครองราชสมบัติได้ 70 ปี
หลังจากนั้นไม่เพียงกี่วินาที เสียงร้องไห้สะอ้านดังทั่วผืนแผ่นดินไทย เมื่อสิ้นเสียงประกาศจากสำนักพระราชวัง ทุกอย่างเงียบสลัดไปเพียงชั่วขณะก่อนที่ประชาชนจะพากันร้องไห้ ณ โรงพยาบาลศิริราช ประชานชนทางบ้านเองก็ติดตามข่าวสารทางโทรทัศน์อย่างใกล้ชิดด้วยความอาลัย ที่ต้องสูญเสียพ่อของแผ่นดินที่ทรงรักยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด และเวลาประมาณ 19.00 น. นายกได้เริ่มแถลงผ่านโทรทัศน์ ถือเป็นความวิปโยคครั้งใหญ่ของชาวไทย เวลาดำเนินมาถึง 23.10 น. ประชาชนมิได้ถดถอยที่จะกลับบ้านแต่อย่างใด แต่พสกนิกรขออยู่ใกล้พ่อในวาระสุดท้าย โดยภาพบรรยากาศที่โรงพยาบาลเป็นภาพที่บีบความรู้สึกชาวไทยซึ่งอธิบายออกมาไม่ถูก ประชาชนยังคงดินทางมาอย่างหนาแน่นและปลักหลักอยู่ในพื้นที่โดยรอบเพื่อขออยู่ใกล้พ่อ ในค่ำคืนที่หมองหม่นที่สุด
วันศุกร์ ที่ 14 ตุลาคม 2559 มีประชาชาชนจำนวนมากเฝ้ารอการเคลื่อนย้ายพระบรมศพ ตลอดเส้นทางทั้ง 2 ฟากฝั่งมีประชาชนคนไทยสวมเสื้อสีดำมานั่งรอกันอย่างหนาแน่น เวลาประมาณ 10.00 น. ตลอดเส้นทางที่ขบวนอัญเชิญพระบรมศพจะต้องเคลื่อนผ่าน นับตั้งแต่โรงพยาบาลศิริราชไปยังพระบรมมหาราชวัง ต่างมีประชาชนมาจับจองที่นั่งเต็มทั้งสองฟากฝั่ง เพื่อเฝ้าถวายสักการะพระบรมศพ แม้อากาศจะร้อนแต่ใจของทุกคนนั้นกลับมุ่งมั่นไม่ท้อถอย ขอเพียงให้ได้เข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด
จนประมาณ 15.56 น. เริ่มเคลื่อนขบวนอันเชิญพระบรมศพ ขบวนอัญเชิญพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ออกจากโรงพยาบาลศิริราช สู่พระบรมมหาราชวัง โดยรถตู้ทะเบียน 1ด0929 ซึ่งรถของสมเด็จพระวันรัต เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร นำขบวนอัญเชิญพระบรมศพฯ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จตามพระบรมศพ ตลอดเส้นทาง มีกำลังพล เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ทั้งในและนอกเครื่องแบบ จำนวน 2,206 นาย ถวายการรักษาความปลอดภัย
สองข้างทางมีพสกนิกรที่มาเฝ้าสองข้างทางนับแสนคน หมอบกราบลงกับพื้น ตลอดเส้นทางของการเคลื่อนพระบรมศพออกจาก รพ.ศิริราช เข้าสู่พระบรมมหาราชวัง เสียงสะอื้นไห้ดังระงมไปพร้อมกันอย่างมิได้นัดหมาย บ่งบอกถึงความอาลัยจากทุกดวงใจแด่ ธ ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย
ไม่เพียงแต่เท่านี้ เราขอหยิบยกเรื่องราวความรู้สึกของประชาชนท่านหนึ่งที่ทราบข่าวนี้ "วันนี้เมื่อสามปีที่แล้ว ขณะขับรถทางไกลเพียงลำพังจากกรุงเทพสู่หาดใหญ่ มีข่าวลือสะพัดต่าง ๆ นา ๆ ถึงการเสด็จสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ในตอนเย็นของวันนั้น และเปิดวิทยุฟังเพื่อเช็คข่าวตลอดเวลา ค่อนข้างขุ่นเคืองกับวิทยุที่รับฟังได้ในระหว่างทาง ซึ่งยังเปิดเพลง หรือยังนำเสนอรายการปกติอยู่ ขณะที่มีเหตุการณ์วิกฤติถึงขนาดนี้ยิ่งใกล้ค่ำ ข่าวลือยิ่งหนาหูขึ้น อาศัยจอดรถข้างทางเป็นระยะ ๆ เพื่อเช็คข่าวทางอินเทอร์เน็ต และไม่เชื่อข่าวอะไรทั้งนั้น จนกว่าจะมีการแถลงอย่างเป็นทางการจากนายกรัฐมนตรี หกโมงก็แล้ว ยังไม่มีคำแถลงใด ๆ จากนายกฯ แต่สถานีวิทยุเปิดเพลงต่อเนื่องยาวนานจนท้องฟ้ามืดสนิท เพราะเข้าสู่เวลาพลบค่ำอย่างสมบูรณ์ นายกรัฐมนตรีจึงออกมาแถลงข่าวทางวิทยุโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจถึงการเสด็จสวรรคตของในหลวงที่เรารักน้ำตาพร่าเกินกว่าจะขับรถต่อได้ จึงหาที่พักข้างทางง่าย ๆ ริมถนนเพชรเกษม บริเวณจังหวัดชุมพร โศกเศร้าเกินกว่าจะเขียนกลอนดี ๆ ถวายความอาลัยได้ แต่นี่คือบทกลอนบทเดียวที่กลั่นออกจากใจ ในช่วงเวลานั้นกลอนที่ไม่ไพเราะนัก แต่เป็นกลอนสั้น ๆ ที่บันทึกอารมณ์โศกเศร้าจากการสูญเสียในหลวงผู้ทรงเป็นที่รักและเทิดทูนบูชาไว้ได้ดีที่สุด แม้เข้าใจในสัจธรรม ยังคงร่ำ...ร่ำไห้กราบพระบาทพระองค์พระทรงชัยน้อมส่งเสด็จ สู่สวรรคาลัย...พระพุทธเจ้าข้า...”กวีเหลวไหล13 ตุลาคม 2559
นี่เป็นเพียงหนึ่งความรู้สึกที่เราหยิบยกมาแสดง แต่เชื่อว่าความรู้สึกในวินาทีนั้นประชาชนทั้งประเทศไทยคงเศร้าที่สุดในชีวิต วันนี้ 13 ตุลาคม เวียนมาอีกรอบย้ำให้เราสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ สถิตในดวงใจไทยตราบนิรันดร์
ขอบคุณภาพข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม : Sanook , กวีเหลวไหล , คุณ Sawitree Wonghan
ชุมชนรังมดแดงสู่บ้านรำแดง(สิงหนคร)
20 ตุลาคม 2567 | 172ความทรงจำข้างกำแพงเมือง...182 แห่งการสถาปนาเมืองสงขลา(บ่อยาง)
20 ตุลาคม 2567 | 160ย้อนชมที่มา...ประเพณีลากพระของชาวปักษ์ใต้ "พระน้ำดูไปตามชายหลิง พระบกเพริศพริ้งบนหลิงแว็บวับ"
20 ตุลาคม 2567 | 169ตำนานศาลาทวดหัวสะพานพรุเตียว ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านในพื้นที่
22 กันยายน 2567 | 295พาชมถ้ำเขาจังโหลน 1 ในตำนานภูผา ณ อำเภอรัตภูมิ
22 กันยายน 2567 | 379ย้อนประวัติที่ฝังศพชาวฮอลันดา เมืองสงขลา
22 กันยายน 2567 | 412ชุมชนโบราณบ้านปะโอ ชุมชนเก่าแก่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์สงขลา
1 กันยายน 2567 | 547ลุ่มน้ำคลองภูมี ลำน้ำหล่อเลี้ยงและยึดโยงชีวิตของผู้คน 4 อำเภอในพื้นที่จังหวัดสงขลา
1 กันยายน 2567 | 1,597