หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

ลพบุรีราเมศว์.. ที่ไม่ควรรู้จักเพียงแต่ชื่อถนน
16 กันยายน 2562 | 9,989

หลาย ๆ คนใช้เส้นทางสายลพบุรีราเมศว์ในการสัญจรเพื่อจะข้ามไปยังจังหวัดหรืออำเภออื่น ๆ อีกมากมาย ทุกครั้งที่เราออกเดินทางกันไกลเราเคยนึกถามตัวเองภายในใจบ้างหรือไม่ว่าถนนเส้นนี้มีที่มาประวัติอย่างไร เคยมีสักแว็บที่ฉุดมาในหัวไหมว่าทุกอย่างมีที่มา สิ่งเหล่านี้มักจะมาพร้อมกับการเฟ้นหาคำตอบเสมอ

วันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านไปทำความรู้จักกับถนนเส้นนี้กัน...  พลเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ มีพระนามเดิมว่า "พระองค์เจ้าชายยุคลทิฆัมพรบดินทรเทพนิพัทธิ์ขัตติยราชกุมาร"ทรงประสูติเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2425 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 41 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

มื่อทรงมีชันษาได้ 6 พรรษา ในปี พ.ศ.2431 พระราชบิดาได้สถาปนาเป็น"พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้ายุคลฑิฆัมพร "ในปี พ.ศ. 2434 ทรงมีชันษาได้ 9 พรรษา ได้รับการสถาปนาเป็น" สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพรฯ กรมหมื่นลพบุราดิส" ต่อมาในปีพ.ศ.2449 ได้รับการสถาปนาเป็น "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมขุนลพบุรีราเมศวร์"

ทรงได้รับการศึกษาขั้นต้นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในราชสำนัก ต่อมาพรราชบิดาส่งไปศึกษาวิชาการที่ประเทศอังกฤษ โดยได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ทรงสอบได้ปริญญาโทเกียรตินิยมทางอักษรศาสตร์ เสด็จกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.2449 ขณะทรงมีพระชนมายุ 24 พรรษา ทรงรับราชการครั้งแรก ในกรมพลัมภัง(กรมการปกครองในปัจจุบัน) กระทรงวงมหาดไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2453-2458 โปรดเกล้าฯให้ทรงดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล มณฑลนครศรีธรรมราช

ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ที่เมืองสงขลา ท่านนับเป็นเจ้านายพระองค์แรก และพระองค์เดียวที่เป็นข้าหลวงต่างพระเนตร พระกรรณ แห่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะสมุหเทศภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช และเป็นอุปราชปักษ์ใต้ ซึ่งมีอำนาจบังคับบัญชา มณฑลสุราษฎร์ธานี มณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลปัตตานี ระหว่างปี พ.ศ.2458-2468 รวมระยะเวลาที่ประทับอยู่ภาคใต้นานถึง 15 ปี และทรงเป็นต้นราชสกุล "ยุคล"

พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ขณะดำรงตำแหน่งสุมหเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช และอุปราชมณฑลปักษ์ใต้ ทรงมีพระทรรนะว่าปักษ์ใต้สามารถสร้างความเจริญให้เกิดขึ้นได้ ในหลายประการสถาน พระองค์จึงได้ทรงทำหนังสือทูลเสนาบดีกระทรวงหมาดไทยในขณะนั้น เป็นต้นว่า ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2453 พระงองค์ได้เสด็จไปตรวจราชการที่เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง และเมืองสงขลา ทรงทำหนังสือทูลเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยถึงเรื่องการทำถนนในเมืองสงขลาว่า พระยาชลบุรานุรักษ์ได้รื้อกำแพงเมืองสงขลา และจะทำถนนไปบนรากกำแพง พระองค์ท่านเห็นว่าการรื้อจะเปลืองเงินเปลืองเวลา จึงเสนอให้ทำถนนบนที่ราบริมกำแพงนอเมือง รือกำแพงเป็นตอน ๆ เอาหินถมถนน จะทำให้งานเสร็จเร็วขึ้น และราคาประหยัดกว่าทำถนนบนรากกำแพง

พระองค์ทรงมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาบ้านเมืองด้านการคมนาคมขนส่ง และ การดำรงชีพ ของประชาชนมาก ทรงเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อกระทรวงหมาดไทย 4 เรื่องคือ1.เรื่องอ่าวสงขลา พันโคคอล นายตำรวจภูธรมณฑลภูเก็ต ได้เสนอความเห็นจ่อสุมหเทศภิบาลมณฑลภูเก็ต ให้เอานักโทษทั้งหมดมาทำลายเกาะหนู ที่ปากน้ำทะเลสาบสงขลา เพื่อสร้างเขื่อนกั้นคลื่นลม ซึ่งเป็นตัวการที่นำเอาตะกอนดินมาทับถมปากน้ำทะเลสาบ แต่พระองค์ไม่เห็นด้วย! ทรงเสนอว่าควรสร้างเขื่อน "เบรควอเตอร์" กันคลื่นหน้ามรสุมให้เรือใหญ่เข้าจอดหน้าอ่าวสงขลาได้ เขื่อนนี้ ทำได้ยากลงทุนมาก

แต่ถ้าทำสำเร็จจะมีประโยชน์อย่างมหาศาล แและยังมีทางที่จะพัฒนาอ่าวสงขลาได้อีกทางหนึ่ง คือการขุดลอกร่องน้ำให้ลึกสำหรับเรือขนาดกลางเข้าออกได้ นี่คือปฐมที่มาของการสร้างเชื่อคอนกรีตถมหินที่แหลมสนอ่อน และการขุดลอกร่องน้ำที่กำลังดำเนินการในปัจจุบัน และสามารถทำให้เรือขนาดกลาง และใหญ่ เข้ามาจอดขนถ่ายสินค้า ที่ท่าเรือสงขลา2. เรี่องถนน ทรงเสนอความเห็นต่อรัฐบาลว่า ควรสร้างถนนใหม่สายใหญ่ เดินคู่ไปกับทางรถไฟสายใต้ ถนนที่สร้างนั้น จะต้องตัดผ่านหมู่บ้านสำคัญ ๆ แต่ไม่ควรห่างจากทางรถไฟมากกว่า 20 เส้น และสร้างถนนย่อยๆ ไปยังหมู่บ้านต่างๆ เพื่อขนถ่ายสินค้ามาป้อนรถไฟ

ตลอดระยะเวลา 15 ปี ที่พระองค์ ดำรงตำแหน่งเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช และอุราชภาคใต้ ทรงเลือกเอาเมืองสงขลาเป็นที่ตั้งที่ว่าการมณฑลในวาระแรกที่พระองค์มาประทับใหม่ๆ อยู่ ณ สัณฐานคาร ซึ่งเป็นอาคารในบริเวณโรงเรียนวิเชียรชม ต่อมาทรงราบว่า อาคารนี้ผู้สร้าง มีวัตถุประสงค์ใช้เป็นโรงเรียนมหาวชิราวุธ จึงทรงสร้างสัณฐานคารขึ้นใหม่ เป็นตึกเล็กๆ ใกล้กับสระบัว บริเวณหน้าโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านแหลมทราย) ซึ่งต่อมาใช้เป็นที่ว่การอำเภอ และโรงเรียนเทศบาล 4 ซึ่งสัณฐานคารนั้นบัดนี้ ได้ถูกทำลายลงหมดแล้ว

พ.ศ. 2454 ย้ายไปประทับที่ตำหนักเขาน้อย พระองค์ทรงมีบทบาทหลายด้านต่อภาคใต้ มีส่วนสำคัญที่ปกป้องแผ่นดินปักษ์ใต้ ให้พ้นจากการคุกคามของอังกฤษ เพราะผู้ว่การเกาะสิงคโปร์ ซึ่งมีอำนาจครอบงำมาเลเซียตอนนั้นเป็นเพื่อนนักเรียนร่วมห้องกับพระองค์ สมัยเรียนที่อังกฤษ พระองค์ท่านทรงอภิเษกกับพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าหญิงเฉลิมเขตรมงคล พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธวรพันธุวรเดช

เมื่อ พ.ศ.2450 ทรงมีพระโอรส 3 พระองค์คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร และพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอนุสรมงคลการพลเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ สิ้นพระชมน์เมื่อปี พ.ศ.2475 ขณะทรงมีพระชนมายุเพียง 50 พรรษา

ขอบคุณข้อมูล : Hatyai life society

เรื่องที่เกี่ยวข้อง