หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

เล่าเรื่อง... ชุมชนโบราณสงขลา
8 กันยายน 2562 | 9,266

หากเราจะกล่าวถึงจังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นเมืองที่สำคัญมากของภาคใต้ มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน หลักฐานที่พบทางด้านประวัติศาสตร์ก็มากมายด้วยกัน เช่น ขวานขัดหิน เครื่องปั้นดินเผาลายเชือกทาบ และหม้อสามขา ในเขตของอำเภอรัตภูมิ อำเภอจะนะ อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอสทิงพระ รวมถึงเป็นเมืองค้าขายที่มีพ่อค้าจากตะวันออกและตะวันตกเข้ามาค้าขาย เมืองสงขลาจึงเป็นแหล่งผสมผสานทางวัฒนธรรมอันหลากหลาย

ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างจึงพฒนาการเป็นท้องถิ่นสงขลา และรุ่งเรืองมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 18-19 และพบชุมชนโบราณกระจายอยู่หลายชุมชน ที่สำคัญได้แก่

ชุมชนโบราณปะโอ เป็นชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณคลองปะโอ ตำบลวัดขนุน อำเภอสิงหนคร ซึ่งเป็นบริเวณทางน้ำเก่าไหลงสู่ทะเลสาบสงขลา มีเนินดินที่พบเศษเครื่องปั้นดินเผาและแหล่งทำเครื่องปั้นดินเผาแบบกุณฑี และได้พบส่วนเทวรูปรุ่นเก่า นอกจากนี้ยังมีแนวสันทรายที่มีสระน้ำขนาดใหญ่ตั้งเรียงรายอยู่หลายแห่ง บริเวณนี้จึงเหมาะที่จะเป็นท่าจอดเรือได้ดีในยุคต้น ๆ ก่อนการขุดคลองเชื่อมทะเลสาบกับทะเลภายนอก

ชุมชนโบราณสทิงพร อยู่ในเขตตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ เป็นบริเวณที่พบโบราณวัตหถุหลายยุค หลายสมัยปะปนกัน และมีการสืบเนื่องมาจนเป็นเมืองใหญ่ มีศูนย์กลางอยู่ที่บ้านสทิงพระ ปัจจุบันเรียกว่า ในเมือง ยังปรากฎร่องรอยคูน้ำคันดิน และซากโบารณวัตถุและโบราณสถาน เป็นจำนวนมาก  ชุมชนโบราณบริเวณเขาคูหา - เขาพะโคะ อยู่ในเขตตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ มีสระน้ำขนาดใหญ่ที่เนื่องในพิธีกรรม และถ้ำที่เป็นเทวสถาน บริเวณนี้น่าจะเป็นศูนย์กลางในทางพิธีกรรมของทางศาสนาพราหมณ์

เมืองสทิงพระ มีกำเนิดและพัฒนาการมาอย่างไร ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน แต่มีเอกสารเพลานางเลือดขาว เรียกเมืองสทิงพระว่ากรุงสทิงพาราณสี และเจ้าพระยาสทิงพระ ชื่อว่าเจ้าพระยากรุงสทิงพาราณสี เมืองสทิงพระได้เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12- 18 ในสมัยตามพรลิงค์และสมัยศรีวิชัย เมืองสทิงพระได้ปกครองดูแลเมืองเล็กเมืองน้อยที่ตั้งอยู่โดยรอบทะเลสาบสงขลา และริมคลองที่ไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลา รวมทั้งเมืองพัทลุง ที่อยู่ในปกครองของเมืองสทิงพระด้วย

นอกจากเมืองสทิงพระแล้วตามตำนานพระธาตุนครศรีธรรมราชได้กล่าวถึงพระพนมวังนางเสดียงทอง ผู้ปกครองเมืองนครศรีธรรมราช ได้ให้เจะระวังลา และเจะลาบู ผู้เป็นภรรยาซึ่งเป็นมุสลิม นำผู้คนล่องเรือมาสร้าบ้านแปลงเมืองที่เมืองจะนะเทพา เมื่อประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 21ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 22 แสดงว่านอกจากการตั้งบ้านเมืองบนคาบสมุทรสทิงพระแล้ว ยังมีการตั้งถิ่นฐานที่บริเวณเมืองจะนะอีกด้วย

ขอบคุณภาพและข้อมูล : Dooasia

 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง