ย้อนไปราวเมื่อปี พ.ศ.ราว ๆ 300-500 ปีที่ผ่านมา มีหมู่บ้านจำนวนหลังคาเรือนเป็นขนัมอยู่ประมาณ 15 หลัง เป็นชุมชนเล็ก ๆ ตั้งอยู่ที่บ้านท่าคลองมีหัวหน้าชุมชนผู้ใหญ่บ้านผู้นำชุมชนชื่อ โต๊ะชายด่าน มีฉายาว่าโต๊ะชายด่าน พรานตาลีทุ่งบ้านพลีไม้สามต้น (พรานเชือก) คือ ในสมัยโบราณต้องหาอาหารเป่าเป็นหลักในการรับประทานอาหารแต่ละมือต้องดักซึ่งในการดักสัตว์หรือล่าสัตว์นำมาเป็นอาหารในแต่ละวัน
ซึ่งชายด่านหรือเจ้าของศาลาด่านหรือ (ทุ่งศาลาด่าน) ที่เรียกติดปากของคนในสมัยนั้นเป็นทางผ่านของคนมาเลเซียเข้ามาในประเทสไทยหรือคนเมืองไทยเข้าไปในมาเลยเซีย เพราะไปมาหาสู่กันในฐานะญาติพี่น้องทุกคนจะต้องเข้าออกผ่านทุกครั้งทุกคนเชื่อว่าถ้าผ่านทางนี้จะต้องปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินเพราะผู้นำชุมชน เขาเป็นบุคคลที่สำคัญที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ทั้งมาเลเซียและประเทศไทย โต๊ะด่านมีลูกทั้งหมด 5 คน ทั้งหมดเป็นผู้นำมาตลอดไม่ว่าลูกหรือหลานเหลนเป็นผู้นำศาสนาและผู้นำฝ่ายปกครองมาจนถึงปัจจุบันนี้
ดังนั้นหมู่บ้านท่าคลอง เป็นชุมชนที่น่าอยู่อาศัยปลอดภัยทุกอย่างอยู่กันอย่างมีความสุขช่วยเหลือซึ่งกันและกันไม่ว่าอาหารการกินเจ็บไข้ได้ป่วยทุกคนล้วนเป็นพี่น้องกัน อยู่มาวันหนึ่งมีกวางตัวใหญ่วิ่งเข้ามาในหมู่บ้านทุกคนในหมู่บ้านช่วยกันจับกวางตัวนั้น เพื่อที่จะนำมาเป็นอาหารในมื้อต่อ ๆ ไป ทั้งช่วยกันดักสัตว์ อ่วนดักสัตว์ที่ทำด้ยเชือกหวาย หรือ (อาริง) กวางตัวนั้นได้ติดกับดักดังกล่าวก็จัดการเชือดคอแบ่งเนื้อกันคนละเล็กคนละน้อยทุกคนในหมู่บ้านก็ได้รับประทานกวางตัวนั้นกัน
ดั่งสุภาษิตโบราณที่ได้กล่าวไว้ว่า การจับกวางในหมู่บ้านที่ตายในหมู่บ้าน หมู่บ้านนั้นจะต้องได้รับกรรม เช่นหมู่บ้านจะร้างก็จริงอย่างที่ว่าจากหมู่บ้านที่มีความสุขกลับได้รับความทุกข์มีภัยเกิดขึ้นบ่อยครั้งเช่น เป็นโรคไข้ได้เจ็บ เกือบทุกครัวเรือนมีการทะเลาะกันเลยอยู่ไม่ได้ ต่างคนต่างแยกย้ายไปตามอัธยาศัยเพราะที่ดินไม่มีเจ้าของไม่มีการซื้อขายใครจะจับจองเป็นเจ้าของสักที กี่ที่ก็ได้และไม่มีการแย่งชิงเบียดเบียนซึ่งกันและกันต่างคนก็เริ่มที่จะแยกย้ายไปอยู่บ้าน ป่าห้าม บ้านท่าควาย ในบ้านพลีเหนือ บ้านท่าคู และบ้านพลีใต้ เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปจนปัจจุบันยังมีคนเรียกชื่ออยู่ ลูกหลานเหลนโหลนจะรู้จักดีว่านี่คือ สาเหตุในการแยกย้ายจากหมู่บ้านหรือชุมชนท่าคลอง ในทุกวันนี้ยังมีร่องรอยอยู่บ้าง
พลี เป็นสถานที่ฝึกหัดช้าง (ขุดเป็นพลี) หรือขุดดินเป็นกำแพงคันนารอบราชวัง เพื่อเป็นอาณาเขตราชวัง คือ ด่านโต๊ะอุเส็น ซึ่งเป็นชาวมาเลเซียได้นำพักกพวกมาจากมาเลเซีย ตั้งเป็นราชวังขึ้นมาหนึ่งวัง สถานที่ตั้งคือบ้านวังโต้ ด่านโต๊ะอุเส็น เป็นพญาปกครองราชวังมีบุตรทั้ง 3 คน ออกไปตังหมู่บ้านขึ้นสามหมู่บ้านน คือ บ้านนางหว้า บ้านนางหวี แต่บุตรชายของเขาอยู่กับบิดาที่บ้านวังด่านโต๊ะ แล้วให้บุตรของเขาออกไปฝึกช้างแล้วชุดเป็นพลีฝึกหัดช้าง ซึ่งในเวลาต่อมาเขาก็เกณฑ์บ่าวไพร่ขุดดินทำเป็นกำแพงคันนารอบราชวังเพื่อเป็นอาณาเขตราชวังและเป็นการกั้นน้ำไม่ให้ท่วมราชวัง เดี๋ยนี้กำแพงคันนายังตงมีเหลืออยู่บ้างเล็กน้อย คือ ทางทิศตะวันตกของโรงเรียนบ้านนาทวี
ต่อมาทางประเทศไทยต้องการขยายอาณาเขตให้กว้างออกเพื่อลูกหลานในอนาคต จึงสั่งการให้พญาสงขลาหรือโตีะสุไลมานมาทำสงครามกับโต๊ะอุเส็นในการทำสงครามครั้งนั้น ฝั่งของโต๊ะลุไลมานชนะสงคราม โต๊ะอุเส็นก็นำพักพวกกลับไปทางมาเลเซียตามเดิม ทอดทิ้งทุกอย่างที่สร้างไว้ต่อมาชื่อของหมู่บ้านทั้งสามโตีะสุไลมานเปลี่ยนชื่อเป็นบ้านวังด่านโต๊ะ เป็นบ้างวังโต้ บ้านนางหวีเป็นนาทวี และบ้านนางหว้าเป็นนาหว้า และที่ฝึกหัดช้างตั้งชื่อว่า (บ้านพลี) ต่อมาในบ้านวังโต้ได้ตั้งวังขึ้นมา ชื่อว่าวัดในวังแปลงประดิษฐ์ แล้วประเทศแบ่งอาณาเขตการปกครองออกเป็นจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน มาจนถึงบัดนี้
ขอบคุณข้อมูลรูปภาพ : นายสวัสดิ์ ดุหลำยะแม
ชุมชนรังมดแดงสู่บ้านรำแดง(สิงหนคร)
20 ตุลาคม 2567 | 172ความทรงจำข้างกำแพงเมือง...182 แห่งการสถาปนาเมืองสงขลา(บ่อยาง)
20 ตุลาคม 2567 | 161ย้อนชมที่มา...ประเพณีลากพระของชาวปักษ์ใต้ "พระน้ำดูไปตามชายหลิง พระบกเพริศพริ้งบนหลิงแว็บวับ"
20 ตุลาคม 2567 | 169ตำนานศาลาทวดหัวสะพานพรุเตียว ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านในพื้นที่
22 กันยายน 2567 | 295พาชมถ้ำเขาจังโหลน 1 ในตำนานภูผา ณ อำเภอรัตภูมิ
22 กันยายน 2567 | 379ย้อนประวัติที่ฝังศพชาวฮอลันดา เมืองสงขลา
22 กันยายน 2567 | 412ชุมชนโบราณบ้านปะโอ ชุมชนเก่าแก่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์สงขลา
1 กันยายน 2567 | 547ลุ่มน้ำคลองภูมี ลำน้ำหล่อเลี้ยงและยึดโยงชีวิตของผู้คน 4 อำเภอในพื้นที่จังหวัดสงขลา
1 กันยายน 2567 | 1,597