คนไทยยังคงติดความเชื่อทางไสยาศาสตร์ซึ่งเป็นเรื่องที่เราหาคำตอบไม่ได้ ว่าทำไมต้องเชื่อเช่นนี้มันเป็นวิจารณญาณส่วนบุคคล หนึ่งความเชื่อของคนใต้ที่สำนักวัดเขาอ้อที่สำคัญถือเป็นหลักนิยมใช้ประกอบพิธีกรรมให้สานุศิษย์และประชาชนที่ศรัทธาโดยทั่วไปมี 4 พิธี คือ พิธีเสกว่านให้กิน พิธีหุงข้าวเหนียวดำ พิธีเสกน้ำมันงานดิบ และพิธีแช่ว่าน นอกจากนี้ก็ยังมีพิธีอื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่น พิธีสอนให้ชักยันต์ด้วยดินสอและการสร้างพระเครื่องรางของขลัง วิชาดูฤกษ์ยาม ตำรารักษาโรคภัยไข้เจ็บจากสมุนไพรการรักษาด้วยคาถาอาคมเพื่อประโยชน์ของการศึกษาทางด้านความเชื่อทางไสยศาสตร์จึงขอนำเอาพิธีกรรมที่กล่าวแล้วข้างต้นมาอธิบายไว้ในที่นี้พอสังเขป
1. พิธีเสกว่านให้กิน หมายถึง การนำเอาว่านที่เชื่อว่ามีสรรพคุณทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีหรือทางด้านมหาอุดมาลงอักขระเลขยันต์ทางเวทมนต์คาถา แล้วนำไปให้พระอาจารย์ผู้ชำนาญเวท ปลุกเสกด้วยอาคมกำกับอีกครั้งหนึ่ง ว่านที่นิยมใช้ในพิธี ได้แก่ ว่านขมิ้นอ้อย ว่านสบู่เลือด ว่านสีดา ว่านเพชรตรี ว่านเพชรหน้าทั่ง ต้นว่านเหล่านี้เชื่อกันว่ามีเทพารักษ์คอยคุ้มครองรักษาพันธุ์ว่านบางชนิดต้องไปทำพิธีกินในสถานที่พบที่นิยมมาก ได้แก่ การกินว่านเพชรหน้าทั่ง ในส่วนของการทำพิธีต้องหาฤกษ์ยามซะก่อนหากเมื่อได้ฤกษ์แล้วอาจารย์จะนำสายสิญจน์ไปวนไว้รอบต้นว่าน แล้วจึงตั้งหมากพลูบูชาเทพารักษ์ปลุกเสกอาคมตามหลักไสยาศาสตร์เมื่อเสร็จแล้วจึงนำมาแจกจ่ายกันกินเชื่อว่าผู้นั้นจะอยู่คงกระพันชาตรี
2.พิธีเสกน้ำมันงาดิบ การเสกน้ำมันงาดิบ ต้องมีเครื่องบูชาครูเช่นเดียวกับการหุงข้าวเหนียวดำ คือ หมาก 9 คำ ดอกไม้ 9 ดอก เทียน 1 เล่ม ธูป 3 ดอก สายสิญจน์ หนังเสือ หนังหมี เอาวางไว้ที่หน้าเครื่องบูชา การเสกน้ำมันส่วนใหญ่นิยมใช้น้ำมันงาดิบ หรือน้ำมันยางแดงประสมว่าน พระอาจารย์ผู้ประกอบพิธีจะนั่งบริกรรมพระคาถาจนน้ำมันแห้งเป็นขี้ผึ้ง เรียกว่า พิธีตั้งมัน
แต่ถ้าบุคคลใดไม่บริสุทธิ์พระอาจารย์ทำพิธี บริสุทธิ์ตัว คือ สะเดาะ เสียก่อนเสร็จแล้วก็ทำเช่นเดียวกับกินข้าวเหนียวดำ โดยพระอาจารย์ ผู้ประกอบพิธีจะป้อนน้ำมันให้กิน 3 ช้อน แต่ละช้อนมีขมิ้นอ้อย 1 ชิ้น เมื่อกินช้อนที่ 3 หมด พระอาจารย์จะตักน้ำมันมาทาบบนฝ่ามือทั้ง 2 ของศิษย์ แล้วเขียนตัวอักขระตัว นะโม ข้างละ 1 ตัว จับมือศิษย์ทั้ง 2 ประกบกันละเลงให้น้ำมันทั่วฝ่ามือ แล้วนำไปทาบนหลังเท้าทั้ง 2 ข้าง ข้างละมือ พร้อมทั้งปลุกเสกคาถาไปด้วย ส่วนคุณค่าในการกินน้ำมันงาดิบมีคุณค่าด้านอยู่คงกระพัน มีเมตตามหานิยม แต่ถ้าหากไปผิดลูกผิดเมียคนอื่นเชื่อกันว่าน้ำมันจะไหลออกจากขุมขนละต้องทำพิธีใหม่
3. พิธีหุงข้าวเหนียวดำ นิยมทำพร้อมกับพิธีเสกน้ำมันงาดิบ ชาวบ้านนิยมเรียกว่า กินเหนียวกินมัน แต่ละปีจะประกอบพิธีกิน 2 ครั้ง คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 และ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 พิธีหุงข้าวเหนียวดำ หมายถึง การนำเครื่องยาสมุนไพร หรือว่านชนิดต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 108 ชนิด มาผสมกันแล้วต้มเอาน้ำยามาใช้หุงข้าวเหนียวดำ พิธีกินข้าวเหนียวดำจะทำพิธีกันภายในอุโบสถก่อนกินถ้าสานุศิษย์คนใดไม่บริสุทธิ์ต้องทำพิธีสะเดาะ หรือเรียกว่า พิธีการเกิดใหม่ หรือ พิธีบริสุทธิ์ตัว เพื่อให้ตัวเองบริสุทธิ์จากสิ่งไม่ดีชั่วร้ายทั้งปวง
เมื่อศิษย์กินข้าวเหนียวหมดแล้ว พระอาจารย์จะใช้มือซ้ายกดมือทั้ง 2 ไว้ที่เดิมหัวแม่มือขวาสะกดสะดือศิษย์ ทำทักษิณาวัตร 3 รอบ พร้อมกับภาวนาพระคาถาไปด้วยเป็นการผูกอาคมสำหรับคุณค่าของการกินข้าวเหนียวดำ สานุศิษย์ของสำนักเขาอ้อ เชื่อกันว่าใครกินได้ถึง 3 ครั้ง จะทำให้อยู่ยงคงกระพันชาตรีเป็นมหานิยมแถมยังเป็นยาแก้โรคปวดหลังปวดเอวได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
4.พิธีแช่ว่านยา ถือได้ว่าเป็พิธีกรรมชั้นสูงทางไสยาศาสตร์ การแช่ว่านหมายถึง การที่บุคคลหนึ่งบุคคลใดลงไปนอนแช่ในน้ำว่านยาที่ได้ทำพิธีปลุกเสกตามหลักวิชาไสยศาสตร์จากพระอาจารย์ผู้เรืองอาคมเพื่อประสงค์ให้ตัวเองอยู่ยงคงกระพันชาตรี พิธีการแช่ยาที่วัดเขาอ้อจะนิยมประกอบพิธีบนไหล่เขาหรือภายในถ้ำฉัตรทันต์ ในราวเดือน 5 เดือน 10 ของทุกๆปี โดยก่อเป็นรูปอ่างน้ำสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือใช้เรือขุดจากไม้ก็ได้ให้มีขนาดพอที่จะให้คนลงไปนอนได้ประมาณ 3 - 4 คน ส่วนมากไม่มีการกำหนดขนาดที่แน่นอน อ่างน้ำนี้เรียกว่า รางยา
เนื่องจากพิธีกรรมแช่ว่านเป็นพิธีใหญ่มากและเป็นพิธีชั้นสูงและทำได้ยากลำบากเครื่องบูชาครูจึงต้องมีมากเป็นธรรมดา คือ หัวหมู บายศรีไหญ่ ยอดบายศรี สวมแหวนทองคำหนัก 1 บาท หมากพลู ธูปเทียน ดอกไม้ และมีหนังสือหนังหมี เหล็กกล้า เป็นเครื่องประกอบในการประกอบพิธีด้วย
ขอบคุณข้อมูล : Ghost wiki
ขอบคุณรูปภาพ : สุรเชษฐ์ สุทธิกุล , เฟซบุ๊ก : ของไทยนี้มันดีที่สุดแล้ว (เฉพาะภาพแช่ว่าน)
ชุมชนรังมดแดงสู่บ้านรำแดง(สิงหนคร)
20 ตุลาคม 2567 | 172ความทรงจำข้างกำแพงเมือง...182 แห่งการสถาปนาเมืองสงขลา(บ่อยาง)
20 ตุลาคม 2567 | 160ย้อนชมที่มา...ประเพณีลากพระของชาวปักษ์ใต้ "พระน้ำดูไปตามชายหลิง พระบกเพริศพริ้งบนหลิงแว็บวับ"
20 ตุลาคม 2567 | 169ตำนานศาลาทวดหัวสะพานพรุเตียว ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านในพื้นที่
22 กันยายน 2567 | 295พาชมถ้ำเขาจังโหลน 1 ในตำนานภูผา ณ อำเภอรัตภูมิ
22 กันยายน 2567 | 379ย้อนประวัติที่ฝังศพชาวฮอลันดา เมืองสงขลา
22 กันยายน 2567 | 412ชุมชนโบราณบ้านปะโอ ชุมชนเก่าแก่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์สงขลา
1 กันยายน 2567 | 547ลุ่มน้ำคลองภูมี ลำน้ำหล่อเลี้ยงและยึดโยงชีวิตของผู้คน 4 อำเภอในพื้นที่จังหวัดสงขลา
1 กันยายน 2567 | 1,597