เตือน! ฝนตกระวังโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ภาคใต้พบผู้ป่วยสูงสุด นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากการเฝ้าระวังสถานการณ์โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือโรคชิคุนกุนยา ในปี 2561 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-10 ธ.ค. 2561 พบผู้ป่วยแล้ว 2,143 ราย จาก 13 จังหวัด
โดยจังหวัดที่มีอัตราส่วนผู้ป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด ได้แก่ จ.สงขลา รองลงมาคือ จ.สตูล นราธิวาส ภูเก็ต และปัตตานี กรมควบคุมโรค พยากรณ์โรค คาดว่าช่วงนี้จะมีผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีรายงานผู้ป่วยต่อเนื่อง และมีจำนวนผู้ป่วยมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ ประกอบกับช่วงนี้ยังมีฝนตกในหลายพื้นที่ อาจเกิดน้ำขังตามภาชนะต่าง ๆ ทำให้เอื้อต่อการเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายได้
โรคไข้ปวดข้อยุงลาย เป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง มียุงลายเป็นพาหะ ผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการไข้สูง ปวดข้อ ข้อบวม หรือข้ออักเสบร่วมกับมีอาการปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีผื่นหรืออ่อนเพลีย มีอาการคล้ายกับโรคไข้เลือดออก
การป้องกันการแพร่กระจายของโรคที่ดีที่สุด คือ การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ตามมาตรการ 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค คือ เก็บบ้านให้สะอาด ไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง ขัดล้างคว่ำภาชนะใส่น้ำ และเปลี่ยนน้ำในแจกันทุกสัปดาห์ เก็บขยะ เศษภาชนะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เก็บน้ำ ภาชนะใส่น้ำต้องปิดฝาให้มิดชิดป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่ ซึ่งจะสามารถป้องกันได้ถึง 3 โรคในคราวเดียวกัน คือ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกาและไข้ปวดข้อยุงลาย
ภาพและข้อมูลจาก สำนักประชาสัมพันธ์เขต 5
สะเดา | ตรวจสอบโรงงานผลิตน้ำยางข้น-ยางแท่ง
9 พฤศจิกายน 2567 | 4,317สงขลา | อุตุฯเตือนฝนตกหนักถึงหนักมาก วันที่ 8- 11 พ.ย. 2567
8 พฤศจิกายน 2567 | 4,308สงขลา | เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำท่วม
1 พฤศจิกายน 2567 | 4,125สงขลา | ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “จ่ามี” ฉบับที่ 15
28 ตุลาคม 2567 | 4,942สงขลา | แจ้งเตือน 4 อำเภอสงขลา
26 ตุลาคม 2567 | 5,846สงขลา | เตือนอย่าหลงเชื่อ…
22 ตุลาคม 2567 | 4,684หาดใหญ่ | ประกาศศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก ฉบับที่ 2
18 ตุลาคม 2567 | 3,843สงขลา | กรมทรัพยากรธรณี เตือนสงขลาเฝ้าระวังแผ่นดิน-น้ำป่าหลาก วันที่
15 ตุลาคม 2567 | 4,890