หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

ข่าวการศึกษา

หาดใหญ่ | สงขลานครินทร์ แสดงความยินดีกับบุคลากรที่ได้รับรางวัลระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2565 – 2566
4 มกราคม 2566 | 9,274
หาดใหญ่ | สงขลานครินทร์ แสดงความยินดีกับบุคลากรที่ได้รับรางวัลระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2565 – 2566

 ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มอบกระเช้าแสดงความยินดีแก่บุคลากรของมหาวิทยาลัยที่ได้รับรางวัลระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2565 – 2566 ในการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (ก.บ.ม.) ครั้งที่ 1/2566 ในวันที่ 3 มกราคม 2565 ณ ห้องประชุม 210 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

รางวัลระดับนานาชาติ ประจำปี 2565 – 2566 จำนวน 6 รางวัล ได้แก่

1. ศ. ดร.สุทธวัฒน์ เบญจกุล คณะอุตสาหกรรมเกษตร นักวิจัยที่มีการอ้างอิงผลงานสูงสุดระดับโลก (Highly Cited Researchers) ในสาขา Agricultural Sciences ถึง 8 ปีซ้อน ตั้งแต่ปี 2015-2022

2. รศ. ดร.นพ.บุญสิน ตั้งตระกูลวนิช สาขาวิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ และทีมวิจัย รางวัล Medaille d'argent silver medal ผลงานเรื่อง "อุปกรณ์หนุนสะโพกจากยางธรรมชาติ" จากงาน “48 International Exhibition of Inventions of Geneva” ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

3. รศ. ดร.กฤช สมนึก คณะวิศวกรรมศาสตร์และทีมวิจัย รางวัล "SILVER MEDAL AWARD" ในงาน "2021 Japan Design, Idea and Invention Expo (JDIE)" จากผลงานเรื่อง “Two-stage continuous production process of biodiesel using rotor-stator hydrocavitation ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

4. รศ. ดร.ภก. ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์ คณะเภสัชศาสตร์ รางวัลเหรียญทอง และ Special Award จาก Korea Invention Promotion Association (KIPA) ประเทศเกาหลี จากผลงานวิจัย เรื่อง “ลูกอมเม็ดนิ่ม [6]-จินเจอรอล สำหรับแก้เมารถเมาเรือ” งาน “The International Trade Fair – Ideas, Inventions and New Products” (iENA 2022) ณ เมืองนูเรมเบิร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

5. รศ. ดร.พิมพ์ชนก บัวเพชร คณะวิทยาศาสตร์ และสถานวิจัยสมุทรศาสตร์ชายฝั่งและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้รับทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” (For Women in Science) ประจำปี 2565 จาก บริษัทลอรีอัล (ประเทศไทย)

6. ดร. สิรวิชญ์ อิทธิโสภณพิศาล คณะวิทยาศาสตร์ รางวัลชนะเลิศ ในโครงการ “FameLab Thailand 2021 และ รางวัล People's Choice Award ชนะเลิศการแข่งขัน FameLab International

รางวัลระดับชาติ ประจำปี 2565 – 2566 จำนวน 3 รางวัล ได้แก่

1. รศ. ดร.วรากร ลิ่มบุตร คณะวิทยาศาสตร์ รางวัล Mahidol Science Innovative Educator Award 2021 ด้านวิชาการ ประเภทบุคคล จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, รางวัลชนะเลิศด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (NIA AWARD) ประจำปี 2565 ผลงานวิจัยเรื่อง เทคโนโลยีการผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อโรคจากสำนักนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และ รางวัลประกวดจากงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564 (Thailand Research Expo 2021)” จำนวน 7 รางวัล ผลงานวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ 

2. รศ. ดร.กฤช สมนึก และทีมวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ รางวัลการเขียนข้อเสนอโครงการ ระดับบัณฑิตศึกษา ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และ BCG Economy Model ระดับดีมาก ผลงานเรื่อง “การผลิตนาโนอิมัลชันบำรุงผิวด้วยเครื่องไฮโดรโซนิกคาวิเทชัน” จากงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564 (Thailand Research Expo 2021)” จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

 

3. ผศ. ดร.วันธณี วิรุฬห์พานิช คณะพยาบาลศาสตร์ และทีมวิจัย เหรียญรางวัล ระดับบัณฑิตศึกษา ด้านการสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ประเภทเหรียญเงิน ผลงานเรื่อง “ที่นอนยางพาราสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนด” จากงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564 (Thailand Research Expo 2021)” จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

รางวัลประจำปี 2566 ที่จะเข้ารับพระราชทานรางวัลฯ และรับรางวัลในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 จำนวน 9 รางวัล ได้แก่ 

1. ศ. ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ (สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย)

2. ผศ. ดร.นพ.นวมินทร์ ปิ่นปฐมรัฐ คณะแพทยศาสตร์ และทีมวิจัย รางวัลผลงานวิจัย ระดับดี (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์) ผลงานวิจัยเรื่อง "การทดสอบภูมิคุ้มกันและความปลอดภัย จากการได้รับวัคซีน กระตุ้นเข็มที่ 3 เข้าในผิวหนังหลังจากได้รับซิโนแวคแล้ว 2 เข็ม ในกลุ่มประชากรทั่วไป" (Immunogenicity and Safety of An Intradermal Boost in Healthy General Population)

3. รศ. ดร.วรากร ลิ่มบุตร คณะวิทยาศาสตร์ และทีมวิจัย รางวัลผลงานวิจัย ระดับดี (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช) ผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาเซนเซอร์ไฟฟ้าเคมี: การตรวจวิเคราะห์ยาทางนิติวิทยาศาสตร์ การตรวจวิเคราะห์เขม่าดินปืนทางนิติวิทยาศาสตร์ และการตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิทางนิติวิทยาศาสตร์” (Development of Electrochemical Sensors: Forensic Drug Analysis, Forensic Gunshot Residue Analysis, and Forensic Seminal Fluid Analysis)

4. รศ. ดร.วรากร ลิ่มบุตร คณะวิทยาศาสตร์ และทีมวิจัย รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดีมาก (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์) ผลงานวิจัยเรื่อง “เซนเซอร์สำหรับตรวจวัดสารบ่งชี้มะเร็ง” (Tumor Markers Sensor)

5. รศ. ดร.วรากร ลิ่มบุตร คณะวิทยาศาสตร์ และทีมวิจัย รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดี (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา) ผลงานวิจัยเรื่อง "อุปกรณ์ตรวจวัดคลอรีนแบบต่อเนื่อง" (Device for Chlorine Continuous Measurement)

6. ผศ. ดร.นายแพทย์โกเมศวร์ ทองขาว คณะแพทยศาสตร์ รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดี (สาขาการศึกษา) ผลงานวิจัยเรื่อง "หุ่นบาดเจ็บจากยางธรรมชาติสำหรับฝึกการ ห้ามเลือดก่อนนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล" (Natural Rubber Trauma Manikin for Practicing Prehospital Hemorrhage Control)

7. ดร.เพราพิมพ์ ลิ่มสกุล คณะวิทยาศาสตร์ รางวัลวิทยานิพนธ์ ระดับดีมาก (สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย) ผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาเทคโนโลยีการกำกับวิวัฒนาการสำหรับวิศวกรรมสารชีวโมเลกุล เพื่อประยุกต์ใช้ในการติดตามเซลล์มะเร็งและรักษาโรคมะเร็ง” (Engineering Molecular Modules Through Directed Evolution for Applications in Single-Cell Imaging and Immunotherapy)

8. ดร.นายแพทย์วิชญ์ โอฬาพิริยกุล คณะแพทยศาสตร์ รางวัลวิทยานิพนธ์ ระดับดี (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์) ผลงานวิจัยเรื่อง “ศึกษาการเหนี่ยวนำเซลล์ต้นกำเนิดมนุษย์เลี้ยงในโครงสร้าง เลี้ยงเซลล์ชนิดสองเฟสด้วยแรงสั่น

ระดับนาโนเมตรให้เจริญเติบโต เป็นเซลล์กระดูก เพื่อใช้ในวิศวกรรมเนื้อเยื่อกระดูก” (Nanovibrational Stimulation for 3D Osteogenesis in Biphasic 3D Scaffold; A New Option for Bone Tissue Engineering)

9. อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก ศ. ดร.สุทธวัฒน์ เบญจกุล คณะอุตสาหกรรมเกษตร รางวัลวิทยานิพนธ์ ระดับดี (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา) ผลงานวิจัยเรื่อง “การปรับปรุงกระบวนการกำจัดไขมัน สำหรับการผลิตไฮโดรไลซ์การปรับปรุงกระบวนการกำจัดไขมัน สำหรับการผลิตไฮโดรไลซ์คอลลาเจนจากหนังปลากะพงขาวที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์เร่งการเจริญเติบโตของเซลล์และการสมาน” (Improvement of Defatting Process for Production of (Improvement of Defatting Process for Production of Hydrolyzed Collagen from Asian Sea Bass (Lates calcarifer) Skin with Antioxidant and Cell Proliferation/Healing Activities)

 

 


เรื่องที่เกี่ยวข้อง