หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

ข่าววิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม

สงขลา | ปภ.เน้นย้ำ 34 จังหวัดภาคอีสานล่าง - กลาง - ใต้ - กทม.และปริมณฑล รับมือฝนตกหนัก เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำหลาก ช่วงวันที่ 21-24 พ.ย.65
19 พฤศจิกายน 2565 | 4,320
สงขลา | ปภ.เน้นย้ำ 34 จังหวัดภาคอีสานล่าง - กลาง - ใต้ - กทม.และปริมณฑล รับมือฝนตกหนัก เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำหลาก ช่วงวันที่ 21-24 พ.ย.65

วันนี้ (19/11/65) เวลา 12.00 น. กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามสภาพอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศฉบับที่ 3 (320/2565) ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 เวลา 05.00 น. แจ้งว่า หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งเกาะบอร์เนียวมีแนวโน้มเคลื่อนเข้าสู่ทะเลจีนใต้ตอนล่าง และจะมีกำลังแรงขึ้น คาดว่าจะเคลื่อนเข้าสู่อ่าวไทย ในช่วงวันที่ 23-24 พฤศจิกายน 2565

ขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณปลายแหลมญวน ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคใต้ รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

พื้นที่เฝ้าระวังคลื่นลมแรง

- ชลบุรี (อ.เมืองฯ ศรีราชา เกาะสีชัง บางละมุง สัตหีบ)

- ระยอง (อ.เมืองฯ บ้านฉาง แกลง)

- จันทบุรี (อ.นายายอาม ท่าใหม่ แหลมสิงห์ ขลุง)

- ตราด (อ.เมืองฯ แหลมงอบ คลองใหญ่ เกาะกูด เกาะช้าง)

- เพชรบุรี (อ.เมืองฯ บ้านแหลม ท่ายาง ชะอำ)

- ประจวบคีรีขันธ์ (ทุกอำเภอ)

- ชุมพร (อ.เมืองฯ ปะทิว สวี ทุ่งตะโก หลังสวน ละแม)

- สุราษฎร์ธานี (อ.เมืองฯ ดอนสัก กาญจนดิษฐ์ ท่าชนะ ไชยา ท่าฉาง เกาะสมุย เกาะพะงัน)

- นครศรีธรรมราช (อ.เมืองฯ ขนอม สิชล ท่าศาลา ปากพนัง หัวไทร

เชียรใหญ่)

- สงขลา (อ.เมืองฯ ระโนด กระแสสินธุ์ สทิงพระ สิงหนคร จะนะ เทพา)

- ปัตตานี (อ.เมืองฯ หนองจิก ยะหริ่ง ปะนาเระ สายบุรี ไม้แก่น)

- นราธิวาส (อ.เมืองฯ ตากใบ)

กอปภ.ก. ได้เน้นน้ำไปยัง 34 จังหวัดเสี่ยงภัย และ กทม. รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่ เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยตามแผนเผชิญเหตุ โดยเฉพาะการติดตามปริมาณฝนสะสมในพื้นที่ การดูแลความปลอดภัยสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภัย การป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้าในช่วงที่มีฝนตกและน้ำท่วมขัง รวมถึงการประสานดูแลความปลอดภัยในการเดินเรือในช่วงดังกล่าว


เรื่องที่เกี่ยวข้อง