หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

ข่าวสังคมและการเมือง

สงขลา | ทัณฑสถานหญิงสงขลา ปิดโครงการพระราชทาน “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” กรมราชทัณฑ์ พร้อมมอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม จำนวน 137 ราย
25 มกราคม 2564 | 5,008
สงขลา | ทัณฑสถานหญิงสงขลา ปิดโครงการพระราชทาน “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” กรมราชทัณฑ์ พร้อมมอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม จำนวน 137 ราย

วันนี้ (25 ม.ค. 64) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นผู้แทนพระองค์ในพิธีปิดโครงการพระราชทาน “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” รุ่นที่ 2/2 ณ ทัณฑสถานหญิงสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา และมอบเกียรติบัตรให้แก่ครูพาทำ จำนวน 5 คน และเป็นผู้ต้องขังหญิงที่เป็นคนไทย 131 คน และชาวต่างชาติ 1 คน รวมทั้งสิ้น 137 คน ซึ่งปฏิบัติการฝึกอบรมเป็นเวลา 14 วัน ระหว่างวันที่ 11-24 มกราคม 2564 โดยมีนางณิชกมล ไตรรัตนคุ้ม ผู้อำนวยการทัณฑสถานหญิงสงขลา หัวหน้าส่วนราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกรมราชทัณฑ์เข้าร่วมในพิธี ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 อย่างเคร่งครัด                

นางณิชกมล ไตรรัตนคุ้ม ผู้อำนวยการทัณฑสถานหญิงสงขลา กล่าวว่า โครงการพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว "โคกหนองนาแห่งน้ำใจและ ความหวัง กรมราชทัณฑ์" เป็นโครงการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยให้แก่ผู้ต้องขังที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษ อันเกิดจากพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระองค์ทรงเล็งเห็นว่าผู้ต้องขังที่จะพ้นโทษออกไปนั้นอาจจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆ รวมถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด- 19 ซึ่งอาจส่งผลกระทบในการใช้ชีวิตของผู้พ้นโทษ จึงได้พระราชทานโครงการโคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง กรมราชทัณฑ์ เพื่อใช้เป็นหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย ในการฝึกอบรมผู้ต้องขังอันจะเป็นพื้นฐานในการเริ่มต้นชีวิตใหม่ และการใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวภายหลังพ้นโทษ    

สำหรับการฝึกโครงการดังกล่าว ได้ดำเนินการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเป็นระยะเวลา 14 วัน แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 การอบรมพึ่งตนเองด้วยทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นที่ 2 การแปลงทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย การออกแบบแนวความคิด การบริหารจัดการพื้นที่ขนาดเล็ก การประยุกต์ทฤษฎีใหม่แบบชาวบ้าน ปั้นโคก ชุดหนอง ทำนาตามภูมิสังคมลงบนกระดาษ การสร้างพื้นที่จำลอง (Table Top Exercise) และวางแผนการปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4อย่าง เพื่อพออยู่ พอกิน พอใช้ และพอร่มเย็น การปฏิบัติพื้นที่จริงตามทฤษฎีใหม่แบบชาวบ้านปั้นโคก ขุดหนอง ทำนาตามภูมิสังคม และขั้นที่ 3 การสรุปและประเมินผล     

ทั้งนี้ ผู้ต้องขังที่จะได้รับการพันโทษในโอกาสต่อไป จะได้นำไปปรับใช้ในพื้นที่ตามภูมิลำเนาของตนเองอันเป็นการสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการ สืบสาน รักษา ต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและช่วยกันพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป 

 

ขอบคุณภาพ/ข่าว : ทัณฑสถานบำบัดพิเศษสงขลา/ศิริลักษณ์ แคล้วคลาด สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา


เรื่องที่เกี่ยวข้อง