หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

ข่าววิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม

สงขลา | ครั้งแรกของภาคใต้! ที่สามารถเพาะพันธุ์ปลาก้างพระร่วงด้วยวิธีการใช้ฮอร์โมนผสมเทียม
25 มกราคม 2564 | 8,950
สงขลา | ครั้งแรกของภาคใต้!  ที่สามารถเพาะพันธุ์ปลาก้างพระร่วงด้วยวิธีการใช้ฮอร์โมนผสมเทียม

วันนี้(25/1/64) ถือเป็นครั้งแรกของภาคใต้ ที่สามารถเพาะพันธุ์ #ปลาก้างพระร่วง ด้วยวิธีการใช้ฮอร์โมนผสมเทียม ซึ่งได้ฟักออกมาเป็นตัวและอนุบาลจนเติบโตได้เป็นผลสำเร็จ และปัจจุบันลูกปลาเหล่านี้มีสุขภาพดีและเติบโตจนมีความยาวลำตัวถึง 3 เซนติเมตร

โดยลูกปลาก้างพระร่วงชุดนี้เป็นผลงานจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภฎา คีรีรัฐนิคม จากหลักสูตรวิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นส่วนหนึ่งของผลผลิตที่ได้จากโครงการวิจัยเรื่องการเพาะเลี้ยงปลาก้างพระร่วงในโรงเพาะฟักและการพัฒนาเป็นปลาสวยงามเพื่อการส่งออก งบประมาณการวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

และเมื่อ 22 ม.ค 64 ก็ได้มีการส่งมอบลูกปลารุ่นแรกที่ได้จากการเพาะขยายพันธุ์ในโรงเพาะฟักให้กับท่าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมัคร แก้วสุกแสง รักษาการ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา เพื่อนำเจ้าปลาสวยงามท้องถิ่นของพัทลุงชนิดนี้ไปทดลองเลี้ยงต่อไป

สำหรับปลาก้างพระร่วง เป็นปลาสวยงามชนิดหนึ่งที่นักเลี้ยงปลาตู้นิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีลักษณะที่แปลก คือมีลำตัวที่โปร่งใส จนสามารถมองเห็นอวัยวะภายในได้อย่างชัดเจน หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็น "ปลาที่ตัวใสที่สุดในโลก" ก็ว่าได้ และที่สำคัญคือเลี้ยงง่ายและราคาไม่แพงนัก

 

 


เรื่องที่เกี่ยวข้อง