หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

ข่าววิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม

พัทลุง | ชาวนาเมืองลุงหมดหวังหลังเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลบุกทำลายนาข้าววอนภาครัฐเร่งช่วย
21 มกราคม 2564 | 6,596
พัทลุง | ชาวนาเมืองลุงหมดหวังหลังเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลบุกทำลายนาข้าววอนภาครัฐเร่งช่วย

วันนี้ (21/1/64) พื้นที่ จ.พัทลุง เกษตรกรทำนาในพื้นที่ ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ได้รับความเดือดร้อนอย่างหลัก หลังข้าวที่ปลูกและเหลือเวลาไม่ถึง 20 วันสามารถเก็บผลผลิตได้ แต่ด้วยสภาพอากาศฝนตกโปรย และอากาศเย็น ทำให้เกิดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลกัดต้นข้าวได้รับความเสียหายเป็นวงกว้าง ทำให้หมดความหวังหลังจากที่คาดว่าจะมีรายได้มาจ่ายค่าหนี้ จ่ายค่าเช้าทำนา เสียค่าปุ๋ยในฤดูกาลนาปี

ด้านนายวีรศักดิ์ โยธิน อายุ 58 ปี ชาวนาในพื้นที่ หมู่ที่ 7 ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง 1 ในเกษตรอีกหลายรายที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเพลื้อกระโดดสีน้ำตาล กล่าวว่า ความคาดหวังจากรายได้เริ่มหมดหวัง และท้อ หลังจากลงมือทำกว่า 40 ไร่ และเพี้ยกระโดดสีน้ำตาลบุกทำลายได้รับความเสียหายไปแล้วเกือบครึ่ง และในส่วนที่เหลือก็กำลังระบาดอย่างหนัก คงหมดหวังกับรายได้จากการทำนาปีในรอบนี้ ท้อแต่อาชีพทำนาก็คงต้องทำนานต่อไป

ในขณะที่เกษตรกรรายอื่นก็เช่นกัน ต่างเร่งระดมพ่นยาเพื่อป้องกันการลุกลามของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แต่ด้วยสภาพอากาศที่เป็นใจทำให้การควบคุมยังเป็นไปได้ยาก ยาที่นำมาฉีดพ่นก็มีราคาแพง ค่าจ้างพ่นยาก็มีราคาสูงเช่นกัน

ขณะที่นายวิชัย อินทร์ประดับ อายุ 52 ปี ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 7 กล่าวว่าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่ระบาดในพื้นที่ไม่เคยระบาดมานานกว่า 10 ปี แต่ปีนี้กลับมาระบาด จนสร้างความเสียหายให้กับชาวนาในพื้นที่ แล้วกว่า ครึ่งหนึ่งของนาข้าว กว่า 2,200 ไร่ในพื้นที่ นอกจากนี้การระบาดยังลุกลามไปยังพื้นที่ใกล้เคียงของ หมู่ที่ 5 ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน แล้วเช่นกัน ซึ่งชาวบ้านเร่งป้องกันแต่ยังไม่คลอบคลุม ซึ่งได้รายงานไปยังเกษตรอำเภอ เกษตรจังหวัดเพื่อให้การช่วยเหลือ แล้ว และล่าสุดทางเทศบาลตำบลมะกอกเหนือ ได้ทุ่มงบจัดชื้อยามาฉีดพ่น แต่ก็ยังได้ไม่ทั่วถึง นาข้าวของชาวบ้านเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลยังทำความเสียหายต่อเนื่อง

สำหรับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นแมลงจำพวกปากดูด ตัวเต็มวัยมีลำตัวสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลปนดำ มีรูปร่าง 2 ลักษณะ คือ ชนิดปีกยาว และชนิดปีกสั้น ชนิดมีปีกยาวสามารถเคลื่อนย้ายและอพยพไปในระยะทางใกล้และไกล โดยอาศัยกระแสลมช่วย ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่เป็นกลุ่ม ส่วนใหญ่วางไข่ที่กาบใบข้าว หรือเส้นกลางใบ โดยวางไข่เป็นกลุ่ม เรียงแถวตามแนวตั้งฉากกับกาบใบข้าว บริเวณที่วางไข่จะมีรอยช้ำเป็นสีน้ำตาล ไข่มีลักษณะรูปกระสวยโค้งคล้ายกล้วยหอม มีสีขาวขุ่น ตัวอ่อนมี 5 ระยะ ระยะตัวอ่อน 16-17 วัน ตัวเต็มวัยเพศเมียชนิดปีกยาวมีขนาด 4-4.5 มิลลิเมตร วางไข่ประมาณ 100 ฟอง เพศผู้มีขนาด 3.5-4 มิลลิเมตร เพศเมียชนิดปีกสั้นวางไข่ประมาณ 300 ฟอง ตัวเต็มวัยมีชีวิตประมาณ 2 สัปดาห์ ในหนึ่งฤดูปลูกข้าวเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถเพิ่มปริมาณได้ 2-3 อายุขัย

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลส์ท่อน้ำท่ออาหาร บริเวณโคนต้นข้าวระดับเหนือผิวน้ำ ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลืองแห้งลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวกแห้งตายเป็นหย่อมๆ เรียกอาการไหม้ โดยทั่วไปพบอาการไหม้ในระยะข้าวแตกกอถึงระยะออกรวงซึ่ง ตรงกับช่วงอายุขัยที่ 2 – 3 ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวนาข้าวที่ขาดน้ำ ตัวอ่อนจะลงมาอยู่ที่บริเวณโคนกอข้าวหรือบนพื้นดินที่แฉะมีความชื้น นอกจากนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัส โรคใบหงิก มาสู่ต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวมีอาการแคระแกร็นต้นเตี้ยใบสีเขียวแคบและสั้นใบแก่ช้ากว่าปรกติ ปลายใบบิด เป็นเกลียว และ ขอบใบแหว่งวิ่น

 

 


เรื่องที่เกี่ยวข้อง