วานนี้ (18/1/64) นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งจากศูนย์อุตุนิยมวิทยา ภาคใต้ฝั่งตะวันออกได้มีประกาศฉบับที่ 3 (21/2564) เรื่อง “คลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง” ส่งผลให้ในช่วงวันที่ 18-20 มกราคม 2564 คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังค่อนข้างแรง ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นไป ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร และตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงมา ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณชายฝั่งตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลมา ระมัดระวัง อันตรายจากคลื่นลมแรง ที่ซัดเข้าหาฝั่ง ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 18-20 มกราคม 2564
ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ จึงได้กำชับอำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการ ดังนี้
1.ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอ แจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชน ให้ติดตามข้อมูลสภาวะอากาศ และข่าวสารจากทางราชการ ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ให้กับประชาชนชายฝั่งทะเลอ่าวไทย และขอให้ประกาศ หรือติดตั้งสัญญาณการแจ้งเตือนประชาชนบริเวณชายฝั่งทะล เฝ้าระวังอันตรายจากคลื่นลมแรง ตลอดจนกำชับสถานประกอบการโรงแรมในพื้นที่ชายทะเลสื่อสารให้นักท่องเที่ยวระมัดระวัง และห้ามลงเล่นน้ำทะเลในช่วงที่มีคลื่นลมแรงโดยเด็ดขาด และแจ้งประชาชนบริเวณชายฝั่งทะลให้เฝ้าระวังอันตรายจากคลื่นลมแรง
สำหรับชาวเรือ ผู้บังคับเรือ ผู้ประกอบการเดินเรือโดยสาร เดินเรือด้วยความระมัดระวัง รวมทั้งดำเนินการตามมาตรการเพื่อความปลอดภัยในการนำเรือเข้าที่กำบัง และห้ามการเดินเรือในช่วงที่มีคลื่นลมแรง
2.ให้สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาสงขลา สำนักงานประมงจังหวัดสงขลา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควบคุมการเดินเรืออย่างใกล้ชิด ผู้โดยสารเรือทุกคนต้องสวมเสื้อชูชีพ
3.ให้อำเภอวิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์จากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ สภาวะอากาศ ปริมาณ
ฝนสะสม สภาพน้ำทำ และปัจจัยสภาพความเสี่ยงในพื้นที่ เพื่อประสานและบูรณาการหน่วยงานพลเรือน ทหาร ตำรวจ เครือข่ายอาสาสมัคร จิตอาสา ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เตรียมพร้อมทรัพยากร เครื่องมืออุปกรณ์ เครื่องจักรกลสาธารณภัย และแผนผชิญเหตุ โดยให้ความสำคัญในการแจ้งเตือน และประกาศให้ประชาชนไปยังพื้นที่จุดปลอดภัย จัดระบบการอพยพประชาชนไปยังจุดปลอดภัยที่กำหนด พร้อมเข้า
ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จัดระบบดูแลประชาชนให้มีสิ่งของจำเป็นในการดำรงชีพ และการจัดตั้งโรงครัวพระราชทานในการประกอบเลี้ยง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจนกว่าสถานการณ์จะกลับ
เข้าสู่ภาวะปกติ
สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมทั้งสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนในทุกช่องทาง ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ วิทยุชุมชน หอเตือนภัย หอกระจายข่าวประจำหน่วย
4.หากพบเห็น หรือได้รับผลกระทบ และต้องการความช่วยเหลือเมื่อเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติ สมารถแจ้งเหตุผ่านทางโทรศัพท์สายด่วน 1784 และแจ้งผ่านไลน์ "ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784" โดยดำเนินการเพิ่มเพื่อน Line ID @ 1784DDPM ตลอด 24 ชั่วโมง
5.ให้พิจารณาใช้อุปกรณ์เตือนภัยที่มีในพื้นที่ เช่น หอเตือนภัย หอกระจายข่าว เครื่องรับสัญญาณเตือนภัยผ่านดาวเทียม เพื่อแจ้งเตือนสถานการณ์ฝนตกหนัก รวมถึงการอพยพไปยังจุดปลอดภัย
6.หากเกิดสถานการณ์ขึ้นในพื้นที่ให้อำเภอรายงานสถานการณ์ฉุกเฉินให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลาทราบภายใน 24 ชั่วโมง
ขอบคุณภาพ/ข่าว : สุธิดา พฤกษ์อุดม สวท.สงขลา
สงขลา | ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “จ่ามี” ฉบับที่ 15
28 ตุลาคม 2567 | 4,326สงขลา | แจ้งเตือน 4 อำเภอสงขลา
26 ตุลาคม 2567 | 5,459สงขลา | เตือนอย่าหลงเชื่อ…
22 ตุลาคม 2567 | 4,623หาดใหญ่ | ประกาศศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก ฉบับที่ 2
18 ตุลาคม 2567 | 3,798สงขลา | กรมทรัพยากรธรณี เตือนสงขลาเฝ้าระวังแผ่นดิน-น้ำป่าหลาก วันที่
15 ตุลาคม 2567 | 4,815ยะลา | เบตงอ่วม! ฝนตกหนักน้ำป่าซัดบ้านพังเสียหายนับ 10 หลัง
13 ตุลาคม 2567 | 5,014สงขลา | ประกาศศูนย์อุตุนิยมวิทยาฯ ฉบับที่3
11 ตุลาคม 2567 | 5,090สงขลา | เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำล้นตลิ่งจากฝนตกหนักและตกสะสม
10 ตุลาคม 2567 | 4,984