เมื่อวันที่ 13/1/64 ที่ผ่านมา กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่5 (สงขลา) สำรวจและติดตามสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่ง พื้นที่ อ.เมือง จ.สงขลา ชายฝั่งทะเลยาว 19.45 กม. ผลการสำรวจพบว่า พื้นที่ชายฝั่งที่มีลักษณะเป็นหาดทรายสมดุลมีระยะทางประมาณ 9.14 กม. พื้นที่ปากแม่น้ำ 0.24 กม.
พื้นที่ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง 4 พื้นที่ ประกอบด้วย หาดชลาทัศน์ มีการกัดเซาะชายฝั่งน้อย ระยะทางประมาณ 0.10 กิโลเมตร ทิศใต้ของหาดชลาทัศน์มีการฟื้นฟูชายหาดโดยการถ่ายเททรายเกิดคลื่นกัดเซาะชายหาดมีลักษณะเป็นหน้าตัดสูงชัน ความสูงประมาณ 10 – 60 ซม. ระยะทาง 0.65 กม. ชุมชนเก้าเส้งมีการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรง ระยะทางยาวประมาณ 0.15 กม.
เนื่องจากมีเขื่อนกันคลื่นริมชายฝั่งเมื่อคลื่นเข้าปะทะเขื่อนกันคลื่นริมชายฝั่ง แรงปะทะทำให้เกิดคลื่นสูงข้ามเขื่อนกันคลื่นริมชายฝั่ง แนวหลังเขื่อนกันคลื่นเกิดการกัดเซาะรุนแรง ทั้งนี้เขื่อนกันคลื่นดังกล่าวส่งกระทบให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณท้ายเขื่อน
ชาวบ้านจึงได้นำกระสอบทรายมาวางไว้ชั่วคราวเพื่อป้องกันที่อยู่อาศัยและมัสยิด พื้นที่บ้านชายทะเล ม.7 ต.เขารูปช้าง มีการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรง บริเวณจุดสิ้นสุดโครงการส่งกระทบทำให้ต้นสนล้ม ระยะทางยาว 0.13 กม. เป็นบริเวณจุดสิ้นสุดของโครงการก่อสร้างกำแพงป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง
ซึ่งมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น พบโครงสร้างเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะทางยาว 9.04 กม. ได้แก่ การวางถุงใยสังเคราะห์บรรจุทราย เขื่อนกันคลื่นริมชายฝั่งชายฝั่ง กำแพงคอนกรีตแบบตั้งตรง และเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง ทั้งนี้ จะติดตามและสำรวจข้อมูลสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งหลังฤดูมรสุมต่อไป
สงขลา | ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “จ่ามี” ฉบับที่ 15
28 ตุลาคม 2567 | 4,326สงขลา | แจ้งเตือน 4 อำเภอสงขลา
26 ตุลาคม 2567 | 5,458สงขลา | เตือนอย่าหลงเชื่อ…
22 ตุลาคม 2567 | 4,623หาดใหญ่ | ประกาศศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก ฉบับที่ 2
18 ตุลาคม 2567 | 3,798สงขลา | กรมทรัพยากรธรณี เตือนสงขลาเฝ้าระวังแผ่นดิน-น้ำป่าหลาก วันที่
15 ตุลาคม 2567 | 4,815ยะลา | เบตงอ่วม! ฝนตกหนักน้ำป่าซัดบ้านพังเสียหายนับ 10 หลัง
13 ตุลาคม 2567 | 5,014สงขลา | ประกาศศูนย์อุตุนิยมวิทยาฯ ฉบับที่3
11 ตุลาคม 2567 | 5,086สงขลา | เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำล้นตลิ่งจากฝนตกหนักและตกสะสม
10 ตุลาคม 2567 | 4,984