หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

ข่าววิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม

สทิงพระ | เตรียมรับมือสถานการณ์ภัยแล้งคาบสมุทรสทิงพระ จากปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตร
17 มกราคม 2563 | 5,847
สทิงพระ | เตรียมรับมือสถานการณ์ภัยแล้งคาบสมุทรสทิงพระ จากปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตร

เมื่อวาน(16/1/63) ที่ห้องประชุมชั้น 2 อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา นายนพพร หนูเพชร นายอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เชิญประชุมหัวห้าส่วนกำนัน ทุกตำบลและผู้บริหารท้องถิ่นทั้ง 11 ตำบล ตัวแทนสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา  ตัวแทนโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาระโนด-กระแสสินธุ์ สำนักงานชลประทานที่ 16  และตัวแทนสถานีตรวจอากาศด้วยเรดาร์อำเภอสทิงพระ 

เพื่อประชุมเตรียมความพร้อมสถานการณ์ภัยแล้งหลังจากฝนทิ้งช่วงตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม 2563 ที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณน้ำฝนในจังหวัดสงขลา มีปริมาณน้อยกว่าค่าเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 2,300 มิลลิเมตร ซึ่งในปีนี้มีปริมาณน้ำฝนเพียง 1, 300 มิลลิเมตร ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ ได้แก่ อำเภอสทิงพระ อำเภอกระแสสินธุ์และอำเภอระโนด เริ่มขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตร

อีกทั้งปัญหาระดับค่าความเค็มของน้ำในทะเลสาบสงขลามีค่าความเค็มสูงถึง 2.7 กรัม/ลิตร ซึ่งค่ามาตรฐานปกติต้องไม่เกิน 1.5 กรัม/ลิตร ทำให้ไม่สามารถนำน้ำมาใช้ประโยชน์ได้  ส่งผลให้นาข้าวและแปลงเกษตรกรรมในคาบสมุทรสทิงพระเริ่มขาดแคลนน้ำ พืชผลทางการเกษตรกำลังได้รับความเสียหาย ตัวแทนสถานีตรวจอากาศด้วยเรดาร์อำเภอสทิงพระ กล่าวว่า ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม 2563 จนถึงเดือนเมษายน เป็นช่วงเข้าสู่ฤดูร้อน ปริมาณฝนก็จะลดน้อยลงเช่นกัน ประกอบกับต้นทุนปริมาณฝนในช่วงปี 2562 ที่ผ่านมา มีค่าเฉลี่ยลดน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติโดยเฉพาะพื้นที่ชายฝั่งทะเลของจังหวัดสงขลา มีค่าเฉลี่ยลดลงถึง 30% และพื้นที่โดยรอบ 10% แต่ปริมาณฝนจะมีมาอีกครั้งในช่วงเดือนพฤษภาคมซึ่งจะเข้าสู่ช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ก็ประมาณเกือบ 6 เดือนกว่าฝนจะตก 

นายนพพร หนูเพชร นายอำเภอสทิงพระ กล่าวในที่ประชุมว่า การเตรียมการที่ได้ประชุมกันวันนี้มีให้ทุกหน่วยงานชี้แจงถึงปัญหาและผลกระทบของแต่ละตำบล มีความต้องการให้ช่วยเหลือเกษตรกรทำนาข้าวบางตำบลต้องการเกียวกับการทำเกษตรทั่วไปและบางตำบลร้องขอเรื่องน้ำประปาซึ้งความต้องการเหมื่อนๆกันเป็นอุปโภคบริโภค คือต้องการแหล่งน้ำดิบจากน้ำธรรมชาติ มาตรการแรกให้ชลประทานสูบน้ำจากอำเภอระโนดที่พอจะมีแหล่งน้ำธรรมชาติมาเติมในคลองอาทิตย์เพื่อเป็นการช่วยเหลือ พี่เกษตกรและเร่งขยายคลองอาทิตย์ที่กำลังทำให้แล้วเสร็จในปี 65   มาตรการที่สอง มีการเร่งขุดบ่อน้ำบาดานโดยมีพลังงานแสงอาทิตย์  และมาตรการที่สามให้กำนันผู้ใหญ่บ้านพร้อมด้วยผู้นำท้องถิ่นชี้แจงกับเกษตรกรในการใช้น้ำในการเกษตรและการใช้น้ำในครัวเรือนทั้งสามมาตรการให้ใช้ควบคู่กันไปและขอให้เกษตรกรงดปลูกพืชที่ใช้น้ำมากในช่วงนี้และให้สำรวจแหล่งน้ำที่จะขุดได้และเป็นที่พักน้ำให้ส่งมายังทางอำเภอ และนายนพพร หนูเพชร นายอำเภอสทิงพระ ฝากประชาสัมพันธ์ ทางพีน้องเกษตรกรแจ้งพีน้องเกษตรกรช่วยกันประหยัดน้ำในการที่จะทำเกษตรช่วงนี้งดทำการเกษตรที่ใช้น้ำมากในตอนนี้หวังว่าพีน้องคงเข้าใจในการที่พวกเราต้องช่วยกันประหยัดน้ำ

 


เรื่องที่เกี่ยวข้อง